7 มี.ค. 2021 เวลา 09:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
#วิธีใช้อาวุธ TradingView
เพื่อการ "หนีดอย"​ ตอนที่ 5
กับ Market Screener
เพื่อ "หาหุ้นลงทุน"
💭สำหรับตอนนี้จะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากที่เอาแต่กราฟ และ Indicators ต่างๆใน Tradingview มาแนะนำ งวดนี้จะเป็นการ Screen ค้นหาหุ้นในตลาดเพื่อการลงทุน ที่ชื่อว่า Screeners ครับ
💭หลังจากเข้าที่ Tradingview.com จะโผล่มาที่หน้าแรกตามรูปปก ให้นำเมาส์ไปวางไว้ที่ "Screeners" แล้ว คลิกเลือกคำว่า "Stock Screener" ครับ
1
💭จากนั้นจะเข้าสู่หน้าตาเวปไซต์แบบรูปข้างล่างนี้ครับ เดี๋ยวผมจะขออธิบายให้ฟังทีละอันนะครับ โดยเริ่มจากไอคอนเมนูซ้ายสุดไปขวาสุด
หน้าแรกของ Stock Screeners
เมนูซ้ายสุด จะเป็นลักษณะให้เราเลือกว่าจะ Refresh หน้าจอบ่อยแค่ไหน
1. Manual Refresh : รีเฟรชด้วยตัวเราเอง
2. Refresh every 10 seconds : รีเฟรชทุกๆ 10 วินาที
3. Refresh every minute : รีเฟรสทุกๆ 1 นาที
ใครชอบอันไหนก็เลือกอันนั้นได้เลยครับ
มาถึงเมนูที่ 2 ข้างๆ Overview จะมี ขีดตรงๆ 3 แท่ง ถ้าเราคลิกเข้ามา จะเป็น "Search Column" ในที่นี้เราสามารถติ๊กเลือกได้ว่า เราต้องการหัวข้ออันไหนให้มีการแสดงครับ เช่นผมเลือก Basic EPS (earning per share), Change (การเปลี่ยนแปลงของราคา) ไล่ลงมาถึง Volume (ปริมาณซื้อขาย) ซึ่งยังมีให้เราเลือกด้านล่างอีกเพียบแล้วแต่เราสนใจในหัวข้อนั้นๆครับ
เมนูที่สอง "Search Column"
เราสามารถคลิกเลือกแถบเมนูได้ ในที่นี้ผมเลือก "Performance" ซึ่งจะแสดงราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงในอดีตให้เราดู ตามระยะเวลาต่างๆ แบบละเอียดยิบ ยันไปถึงค่า 1yr-Beta หรือ Volatility เราสามารถเข้าไปคลิกที่เมนูข้างล่าง เพื่อไล่เรียงค่าสูงสุดไปต่ำสุด หรือ ต่ำสุดไปสูงสุด ในกลุ่มหุ้นที่เราเลือกมาได้ครับ
แถบเมนูที่ 3 : Performance
โดยหากเราสังเกตในบรรทัดของ 1M CHG%, 15M CHG% ที่ขวาสุดจะมีรูปไอคอนจุด 3 จุด เราสามารถคลิก เพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการแสดงให้เราได้ครับ อันนี้เราปรับได้ตามใจชอบตามสไตล์ที่เราถนัดเลย
Search Column ในส่วนของ Performance
เมนู Extended Hours : บางตลาดจะมีการซื้อขายนอกเวลาทำการ เช่นตลาดสหรัฐฯ เราสามารถเข้ามาดูข้อมูลของหุ้นรายตัวในเมนูนี้ได้ครับ เพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าลงทุน จะเป็นช่วงนอกตลาดเอง หรือใช้ประกอบเพื่อดูทิศทางตอนตลาดเปิดทำการจริงๆแล้วก็ได้
แถบเมนูที่ 4 : Extended Hours
เมนูถัดไป "Valuation" ที่บอกถึงมูลค่าบริษัทนั้นๆ
แถบเมนูที่ 5 : Valuation
โดยเราสามารถคลิกที่เมนูย่อย ยกตัวอย่างเช่น Market Capitalization เพื่อกรองหุ้นที่เราสนใจว่าอยากให้หุ้นที่มีขนาดใหญ่เล็กขนาดไหนก็ทำได้ครับ
หรือแม้แต่อยากกรองหุ้น มองหาหุ้นที่มี PE ratio ตามที่เราต้องการก็ทำได้หมด ทั้งนี้เราสามารถเลือกปรับข้อมูลในทุกเมนูย่อย ตามที่เราต้องการได้เลย
เมนู Dividends ที่ให้ข้อมูลการจ่ายปันผลว่าคิดเป็น Yield เท่าไหร่ จ่ายเป็นจำนวนเท่าไหร่ต่อหุ้น
แถบเมนูที่ 6 : Dividends
เมนู Margins เป็นเมนูที่บอกเกี่ยวกับ อัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน อัตรากำไรก่อนภาษี และ อัตรากำไรสุทธิ
แถบเมนูที่ 7 : Margins
เมนู Income statement จะแสดงข้อมูลเช่น EPS, EBITDA, REVENUE, INCOME ให้เราดูคร่าวๆ
เมนูที่ 8 : Income Statement
เมนู ​Balance sheet จะแสดงข้อมูลของหุ้นในส่วนของ งบดุล หรือ งบแสดงฐานะการเงิน เช่น current ratio, D/E และอื่นๆ
เมนูที่ 9 : Balance Sheet
เมนู Oscillators จะเป็นการให้ข้อมูลในเชิง Technical ครับ โดยเป็นลักษณะว่าควรขาย ควรถือ หรือ ควรซื้อ และมีค่าต่างๆตาม indicators ที่เราคุ้นเคย อย่าง MACD, RSI, STO, ATR เป็นต้นครับ
เมนูที่ 10 : Oscillators
เมนู Trend-Following จะใช้หลักการของ Moving average ในการบอกสัญญาณซื้อขาย รวมถึงบอกค่า Bollinger Band ที่เป็นราคาหุ้นนั้นๆในส่วนของ Band บน และล่าง
เมนูที่ 11 : Trend-Following
เมนู Export เราสามารถ Export ออกมาเป็นไฟล์ได้ ในเมนูนี้ครับ
เมนูที่ 12 : Export Screener data to CSV file
เมนู Time Interval เราสามารถปรับระยะเวลาได้ตามที่เราต้องการในเมนูนี้ ตั้งแต่ 5 นาที ยัน 1 เดือน
เมนูที่ 13 : Time Interval
เมนู Markets เราสามารถเลือกประเทศ เพื่อดูหุ้นในตลาดนั้นๆได้ครับ มีประเทศไทย ด้วยเช่นกันครับ สำหรับ tradingview
เมนูที่ 14 : Markets
เมนู Alerts เป็นเมนูที่แจ้งเตือนถึงกลุ่มหุ้นที่เราตั้งค่าไว้ อย่างกรณีนี้ ผมมีการเซตระบบที่ RSI < 35 ให้มีการแจ้งเตือนเรา โดยเลือกวันหมดอายุการแจ้งเตือน ลักษณะรูปแบบการแจ้งเตือน และข้อความที่ทำการแจ้งเตือนให้เรา
เมนูที่ 15 : Alerts
เมนู Screen เป็นเมนู ที่เป็นเหมือนรูปแบบสำเร็จ หรือ รูปแบบที่เรา Save เก็บไว้เวลาเราตั้งค่าเสร็จ เพื่อกลับมาดูเองในภายหลังได้ เช่น หากเราอยากรู้ว่า สัปดาห์นี้หุ้นอะไรเป็น Top gainers ก็สามารถเลือก Top gainers แล้วดูหุ้นนั้นๆได้ครับ
เมนูที่ 16 : Screens
มาถึงเมนูสุดท้าย ที่ทุกคนรอคอย เมนู Filters หรือการทำตะแกรงร่อนหุ้น หาหุ้นที่เหมาะกับสไตล์ของเราเพื่อพิจารณาเข้าลงทุนนั่นเอง โดยเมนูนี้แบ่งออกเป็น
1. All (ใช้ 2+3+4 มาทำการ filter)
2. Descriptive
3. Fundamental
4. Technical
เมนูย่อย All ของ เมนูหลัก Filter
เมนูย่อย Descriptive ของ เมนูหลัก Filter
เมนูย่อย Fundamental ของ เมนูหลัก Filter
เมนูย่อย Technical ของ เมนูหลัก Filter
อันนี้ผมลองตั้งโจทย์หาหุ้นจาก All ใน Filter โดยมีเกณฑ์ดังนี้
1. Market Cap : ตั้งแต่ 300 M ถึง 200 B
2. PE ratio (TTM) : below 50
3. Sector : Electronic technology
4. Symbol Type : Common stock
ตัวอย่างการหาหุ้นจาก Filter
และนี่ก็เป็นผลลัพธ์ที่ผมทำการ Filter หุ้นใน 4 ตัวแปรที่เราสนใจ
ผลลัพธ์จากการตะแกรงร่อนหุ้นข้างต้นในส่วนเมนู Overview
ผมสามารถเข้าไปเลือกดู Valuation ของหุ้นรายตัวที่ผม filter มาได้
ผลลัพธ์จากการตะแกรงร่อนหุ้นข้างต้นในส่วนเมนู Valuation
กรณีที่ผมเลือกแล้วว่า สนใจหุ้นอย่าง "AMD" ผมก็คลิกที่ AMD สีฟ้า ก็จะเข้ามาสู่หน้าจอของ AMD รายตัว ที่เป็นกราฟแบบข้างล่างเลยครับ
AMD
หากว่าผมสนใจที่อยากดูกราฟละเอียด แบบใส่ indicators ต่างๆได้ ให้คลิกที่มุมขวาบนตรงคำว่า "Full-featured Chart"
หลังคลิก Full-featured Chart ก็จะมาสู่หน้ากราฟที่หลายๆคนคุ้นเคยกับ Tradingview
และนี่ก็เป็นการหาหุ้นลงทุนวิธีการหนึ่ง ที่ Tradingview มีระบบ Screener มาให้เราเรียบร้อยแล้วครับ
💭บทความนี้ไม่มีจุดประสงค์ชี้นำให้ซื้อหรือขายในหุ้นที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาเครื่องมือครับ
💭ผมได้ทยอยเขียนวิธีการใช้งาน Tradingview เอาไว้ก่อนหน้านี้ และรวมเป็น Series : #วิธีใช้อาวุธ TradingView หากใครสนใจสามารถเข้ามาดูเพิ่มเติมได้ที่ www.blockdit.com/series/601ccdcbd9cc0807961ced17
💭ปล. สำหรับคนใช้ tradingview แบบฟรี อาจมีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือหลายๆอันพร้อมกัน แนะนำให้ลบเครื่องมือทิ้ง แล้วเพิ่มเครื่องมือใหม่เข้าไปแทนนะครับ สำหรับตัวผมเองซื้อใช้แบบ Pro+ ครับ เพราะชอบ Tradingview มากๆหลังทดลองใช้ฟรีมา 14 วัน
💭หากใครสนใจว่า เราควรมี App ไหนบ้างที่ช่วยเราด้านการลงทุน
ผมได้รวบรวม 18 App ที่ "ต้องมี" ในการลงทุน
สำหรับพันธบัตร กองทุน หุ้น(ไทยและเทศ)
ETFs ทอง คริปโต ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
(ยกเว้น อสังหาริมทรัพย์)
ในรูปแบบ iOS สามารถคลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้เลยที่
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
Clubhouse
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา