29 ก.ค. 2021 เวลา 08:51 • สุขภาพ
บุกดงโควิดกทม. รอบ 3
ทีมแพทย์ชนบทเตรียมพร้อม !!
1
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
คุณหมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เล่าให้ฟังว่า หลังเสร็จปฏิบัติการ “สแกนโควิดในชุมชนแออัดหนาแน่น ในพื้นที่
กทม.” รอบ 2 ไปเมื่อวันที่ 21-23 ก.ค. 64
ทางทีมแพทย์ชนบท เร่งประชุมวางแผนบุกกรุงตรวจโควิด รอบ 3 ทันที เราคุยกันเลยว่าทีมแพทย์ชนบทจากทุกภาคของประเทศที่ขึ้นมากรุงเทพจะให้ฉีด AZ – AstraZeneca เข็มสามให้เรียบร้อย ทุกคนต้องมีภูมิคุ้มกันดูแลตัวเอง
1
เพราะปฏิบัติการครั้งนี้เราจะลุยดงโควิด!!
ต้องตรวจให้เจอผู้ติดเชื้อฺโควิด !! นี่เป็นหลักการเชิงรุก
การเจอผู้ติดเชื้อเยอะเราไม่กลัว แต่กลัวไม่เจอมากกว่า เพราะตอนนี้ 70-80 % เป็นกลุ่มที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตนเองติดเชื้อโควิดแล้ว ฉะนั้นการตรวจให้เจอผู้ติดเชื้อจึงสำคัญมาก
เฟซบุ๊ก supathasuwannakit
ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ลงชุมชน ทีมแพทย์ชนบทได้ป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่
หัวใจสำคัญ !! ทำอย่างไรก็ได้ให้แมสก์อยู่กับหน้า
เราพยายามซีลแมสก์ เอาพลาสเตอร์มาแปะแมสก์กับหน้า เพราะเวลาคุยมันจะได้ไม่เผยอ แล้วด้านข้างลมก็ไม่เข้า ลมจะเข้าจมูก – ปากเราผ่านแมสก์เท่านั้น
การรับประทานอาหาร – ดื่มน้ำ
ต้องออกจากจุดสวอป มาอยู่ในจุดปลอดภัยที่เรากันไว้เท่านั้น ถือเป็นจุดสะอาดที่สุดในพื้นที่เท่าที่เป็นไปได้
“จุดสวอปน้ำไม่ดื่ม กินข้าวเที่ยงบนรถ ต่างคนต่างกิน เพราะเชื่อว่ารถเราสะอาดกว่าจุดอื่น และเตรียมข้าวกล่องมาเอง จะไม่ทานอาหารที่ไม่มั่นใจ สมมติชาวบ้านเอามาให้ อาจจะไม่ทานแต่จะบอกด้วยความสุภาพว่าหมอเตรียมมาแล้ว ไปแบ่งกันนะ”
เฟซบุ๊ก supathasuwannakit
ที่ผ่านมา 2 รอบ
ทีมแพทย์ชนบทสแกนโควิดชุมชนแออัดหนาแน่นในพื้นที่กทม. ตรวจเชิงรุกไปแล้วกว่า 5 หมื่นราย พบผล positive 7 พันกว่า ๆ
รอบแรกคิดเป็น 13 % ที่มีเชื้อโควิด รอบ 2 (21-23 ก.ค. 64) ลุย 18 ชุมชน ยอดผู้ติดเชื้อโควิดพุ่ง 16%
แต่เข้าใจได้เพราะที่ไปตรวจเป็นชุมชนแออัด ทำให้อัตราแพร่ระบาดสูงกว่าเขตเมืองที่ต่างคนต่างอยู่
จากการพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนแออัด เราพบว่าปัญหาของโควิดที่มากกว่าการไม่ได้รับการตรวจ คือ
 
1. การผลักภาระให้ผู้ป่วย
กรณีตรวจ Rapid Test แล้วอาการหนัก ชาวบ้านต้องไปหาที่ตรวจ RQT-PCR เอง รอผลอีก 2 วัน และนำผลการตรวจไปยืนยันกับโรงพยาบาล!! ถึงจะรับผู้ป่วย
“ชาวบ้านไม่มีผลตรวจ เข้าไม่ถึงการรักษา อาการหนักเข้า ๆ ก็เสียชีวิตที่บ้าน”
แต่ในต่างจังหวัดอย่างบ้านหมอที่ อำเภอจนะ จ.สงขลา ถ้าเขาสงสัยว่าติดเชื้อโควิด ถือ Rapid test มาพร้อม เราตรวจ RT-PCR ให้เขาทันที เราผลักภาระไม่ได้!!
1
2. เตียงไม่เพียงพอ – ปฏิบัติการรัฐต้องเร็ว
เตียงที่ควรเพิ่มมี 2 ประเภท คือ เตียงรับผู้ป่วยอาการปานกลาง หรืออาการหนักใน กทม. มันไม่พอจริง ๆ
และเตียงสำหรับคนที่อาการไม่หนัก ที่ไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ เพราะบ้านเขาหลังเล็ก ค่อนข้างแออัดในชุมชนแออัด
ซึ่งทาง กทม. พยายามทำ “ศูนย์พักคอย” อันนี้ถือว่าโอเคตามทฤษฎี แต่ตอนนี้อัตราทำศูนย์พักคอยกับอัตราผู้ป่วยโควิดมันไม่ทันกัน
การปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ต้องเพิ่มความเร็วขึ้น !!
เฟซบุ๊ก supathasuwannakit
3.ภาวะความเครียด
ความเครียดจากโรค ถ้าระบบสุขภาพไหล โรงพยาบาล เตียงรองรับ
ผู้ป่วย มีการพูดคุยกับผู้ป่วยทุกวัน จะช่วยลดความเครียดจากโรคได้
พอสมควร
 
แต่ถ้าความเครียดจากเรื่องเศรษฐกิจนั้นอีกเรื่อง การล็อกดาวน์ที่ดีต้องมาพร้อมการเยียวยาที่ดีด้วย!! ก็พอบรรเทาความเครียด และลดการ
กระจายเชื้อโควิดไปสู่ต่างจังหวัดได้บ้าง เพราะการเดินทางกลับภูมิลำเนาก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อหรือไม่!!
แต่โทษเขาไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่เลือกเดินทางกลับบ้านเกิด
4.ผ่าตัดใหญ่โครงสร้างระบบสาธารณสุข กทม.
สภาพศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. เล็กมาก และถูกทิ้งขว้างมาอย่างยาวนาน วิกฤตโควิดมันยังอยู่กับเราอีกยาว ควรใช้โอกาสนี้ ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นที่พึ่งของชาวบ้านในพื้นที่ให้ครบทุกเขต
แต่สถานการณ์ยามนี้ชาวบ้านต้องพึ่งตัวเอง!! วิ่งไปคลินิก โรงพยาบาลรัฐ – เอกชนมันไม่เพียงพออยู่แล้ว
5.ความร่วมมือหลายภาคส่วนน้อย – ทัศนคติของผู้คน
ทำงานแข่งกับเวลาที่ทุกส่วนต้องช่วยกันอย่างยิ่ง ไม่ใช่แค่ภาคสาธารณสุข และกทม. เอาง่าย ๆ เลยการเปิดศูนย์กักโรค ศูนย์พักคอยสำหรับคนป่วยโควิดแล้วไม่รู้จะไปนอนไหน
 
โรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกทม. มีส่วนร่วมกับตรงนี้น้อย ประตูโรงเรียนปิดสนิทกลัวโควิด ทั้ง ๆ ที่ชุมชมเต็มไปด้วยโควิด
หน่วยงานทหารในพื้นที่ต้องรับภารกิจนี้ให้หนักขึ้น
 
รวมทั้งการมีทัศนคติที่ถูกต้องกับปัญหาของผู้คน ที่เป็นเพื่อนร่วม
คอนโด เพื่อนบ้านกับผู้ป่วยโควิดหรือต้องกักตัว 14 วันนั้น สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย และช่วยดูแลส่งข้าว ส่งน้ำ ส่งของจำเป็น
ต่าง ๆ ให้แก่กัน
1
“มีเหตุการณ์ไล่คนติดโควิดออกจากบ้านเช่าบ้าง คอนโดบ้างให้ไปนอนที่อื่น ที่ผ่านมาการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนทัศนคติมันไม่ถูกสื่อสาร มีแต่สร้างความกลัวให้คนกลัวติดโควิด ศบค. ต้องสื่อสารให้คนเข้าใจ เพราะทุกคนช่วยกันได้”
 
เสียงสะท้อนเหล่านี้ พวกเราทีมแพทย์ชนบทมีชุดความคิดชัดเจนว่า “เราไม่เสนอผ่านการยื่นหนังสือ แต่เราจะเสนอทุกอย่างผ่านสื่อ”
ผ่านปฏิบัติการจริง ทำให้ดู อธิบายให้ชัด เราเชื่อมั่นว่าผู้หลักผู้ใหญ่ท่านจะเห็นเราภายใน 15 นาที ซึ่งเรื่องนี้ถูกพิสูจน์มาแล้วจากหลายปรากฏการณ์...ได้ผลเกินคาด !!
 
“ที่ผ่านมาเราเคยยื่นหนังสือมาทั้งชีวิต มันก็ไปอยู่ในลิ้นชัก”
ในสมรภูมิโควิด ถ้าต่างคนต่างทำ..สงครามก็ยืดเยื้อต่อไป!!
แต่หากทุกฝ่ายระดมความร่วมมือกันเต็มที่ สัก 2-3 เดือน
เราจะกู้สถานการณ์ได้ดีขึ้น ยิ่งวัคซีนมาเร็ว ฉีดเร็ว ฉีดเยอะ
หมอสุภัทรเชื่อมั่นประเทศไทยชนะสงครามโควิดแน่!!
WhoChillDay ร่วมส่งกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านนะคะ
เพื่อน ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรหรือข้อแนะนำอะไร
แลกเปลี่ยนกัน ส่งกำลังใจให้กันได้ใต้โพสต์เลยนะคะ
ขอบคุณที่เข้ามาทักทายกัน
Credit : ภาพ
#WhoChillDay #หมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
#แพทย์ชนบท #บุกกรุงรอบ 3 #โควิด-19
#ชุมชนแออัดหนาแน่นกทม.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา