12 เม.ย. เวลา 23:48 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ล่าสุด 10 เมษา กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยาบายที่ 2.5% อัตราดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร ขึ้นลงส่งผลยังไง

อัตราดอกเบี้ย คือ ผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินได้รับ และเป็นต้นทุนทางการเงินที่ผู้กู้ต้องจ่าย
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารพาณิชย์ที่นำเงินมาฝาก หรือที่ธนาคารพาณิชย์มากู้เงินจากธนาคารกลาง โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ "อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีระยะ 1 วัน" เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
การปรับเพิ่มขึ้น ลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาด ที่ธนาคารพาณิชย์จะคิดให้กับผู้ที่กู้เงินหรือฝากเงิน
อัตราดอกเบี้นนโยบาย จะดูแลโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ซึ่งของประเทศไทย คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ผ่านคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งมี 7 ท่าน โดยมีผู้ว่าการแบงก์ชาติเป็นประธาน
เมื่อแบงก์ชาติปรับเพิ่ม หรือ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้ ไปในทิศทางเดียวกับที่แบงก์ชาติปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
แต่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ไม่ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากต้นทุนการดำเนินงาน ความต้องการเงินกู้ ปริมาณเงินฝาก และอื่นๆ
อัตราดอกเบี้นนโยบาย เป็นนโยบายทางการเงิน เป็นอาวุธสำคัญในการดูแลภาวะเศรษฐกิจและเสถียรภาพด้านราคาของแบงก์ชาติ
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เหมือนเหยียบคันเร่ง กระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อดอกเบี้ยต่ำ ผู้คนจะนำเงินมาบริโภค มาลงทุน และกิจการต่างๆ ก็กู้ยืมเงินมาขยายกิจการ เพราะต้นทุนทางการเงินต่ำ ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มได้
ส่วนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เหมือนเหยียบเบรก ชะลอเศรษฐกิจ เมื่อดอกเบี้ยสูง ผู้คนจะนำเงินมาบริโภค มาลงทุนลดลง กิจการต่างๆ จะกู้มาขยายกิจการก็จะระวังมากขึ้น ช่วยทำให้เงินเฟ้อลดลงได้
เมื่ออยู่ภาวะดอกเบี้ยน่าจะค้างสูงไปอีกพอสมควร
ส่งผลกับผู้ที่กู้เงินและมีภาระหนี้ โดยเฉพาะถ้าเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จะทำให้ภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้น
ส่งผลตอ่สินทรัพย์ทั้งตราสารหนี้และหุ้น
ตราสารหนี้ พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่จะออกมาใหม่ เมื่อดอกเบี้ยในตลาดสูง ก็จะได้ดอกเบี้ยดีขึ้น ผู้ออกจะมีต้นทุนทางการเงินหรือภาระดอกเบี้ยสูง ผู้ซื้อตราสารหนี้จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีขึ้น และส่งผลต่อมูลค่าตราสารหนี้เดิมที่ออกมาก่อนหน้า ที่ได้ดอกเบี้ยน้อยกว่า มูลค่าจะลดลง ถ้าต้องขายออกมาระหว่างทาง อาจขาดทุนได้ แต่ถ้าถือจนครบกำนหด ก็จะได้ดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้และเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน
ส่งผลกับบริษัทและราคาหุ้น เมื่อดอกเบี้ยสูง บริษัทก็จะมีภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น บริษัทที่มีหนี้สินมากก็จะมีปัญหา บริษัทจะกู้เงินมาขยายกิจการก็จะต้องคิดเพิ่มขึ้นเพราะต้นทุนทางการเงินเพิ่ม และส่งผลต่อราคาหุ้นได้ เพราะเมื่อผลตอบแทนอย่างตราสารหนี้ที่เป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนน้อยกว่าหุ้น ผลตอบแทนดีขึ้น ก็จะทำให้ราคาหุ้นลดลงได้ จากเรื่องของ earning yield gap
eBook "ส่องหุ้นด้วยงบการเงิน" สั่งซื้อได้ทั้งจาก MEB และ OOKBEE
คอร์สออนไลน์ I-INVESTOR
ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #เงินเฟ้อ #ดอกเบี้ย #ตลาดหุ้น #อัตราดอกเบี้ย #หุ้น #ตราสารหนี้
โฆษณา