20 เม.ย. เวลา 00:00 • นิยาย เรื่องสั้น

บทความ Blockdit ตอน ลีกวนยูสร้างชาติอย่างไร ตอน 11 กุนซือของลีกวนยู

ที่ปรึกษาของลีกวนยู
1
ลีกวนยูอาจเป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง แต่เขาไม่ใช่ซูเปอร์แมนแน่นอนงานสร้างประเทศต้องมีทีมงานระดับสุดยอดจึงจะสำเร็จ
ตั้งแต่ปีแรกของเอกราช ลีกวนยูปรึกษาคนมากมายในการสร้างชาติ ที่ปรึกษาคนหนึ่งเป็นชาวดัตช์ ชื่อ ดร. อัลเบิร์ต วินซีเมียส (Dr. Albert Winsemius) บอกในการพบกันครั้งแรกๆ ว่าภาพอนาคตของสิงคโปร์ไม่สดใส แต่มิใช่สิ้นหวัง ต้องจัดการความขัดแย้งกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพื่อให้การค้าดำเนินไปได้ ถ้าคนว่างงานเกิน 14 เปอร์เซ็นต์ จะเกิดการจลาจลแน่
ความจริง ดร. วินซีเมียสมาเยือนสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 1960 เขามีความคิดว่าสิงคโปร์ต้องทำสองอย่างจึงจะสำเร็จ
1
อย่างแรกคือกำจัดคอมมิวนิสต์ออกไปโดยเร็วที่สุด
1
อย่างที่สองคืออย่าทำลายรูปปั้นเซอร์ สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์
3
การกำจัดคอมมิวนิสต์เป็นเรื่องยากมาก เพราะตอนนั้นคอมมิวนิสต์ครอบคลุมอิทธิพลไปทั่วภูมิภาคนี้ ส่วนเรื่องรูปปั้นเซอร์สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ลีกวนยูไม่มีความคิดจะทุบรูปปั้นอยู่แล้ว เขาไม่คิดจะเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ให้สิงคโปร์ แต่มุมมองของ ดร. วินซีเมียส คือ สิงคโปร์ต้องการนักลงทุนจากตะวันตก การรักษารูปปั้นและประวัติศาสตร์นี้ เป็นการส่งสารว่าสิงคโปร์ยังยอมรับความเป็นอังกฤษและเดินโยบายต่อเนื่องของอังกฤษ
1
นี่เป็นมุมมองใหม่ที่ลีกวนยูไม่เคยนึกถึง
1
ดร. อัลเบิร์ต วินซีเมียส
การที่อังกฤษถอนทหารในช่วง 1968-1971 ทำให้ GDP ของสิงคโปร์หดหายไป 20 เปอร์เซ็นต์ งานประจำสามหมื่นตำแหน่งและงานไม่ประจำอีกสี่หมื่นหายวับไป บริษัทสัญชาติอังกฤษอีกจำนวนมากก็ย้ายออกจากสิงคโปร์
1
เซอร์ สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์
ลีกวนยูเดินทางไปทั่วโลก ไปดูงานบ้าง เจรจาการค้าบ้าง โน้มน้าวคนให้มาลงทุนบ้าง เขาพูดตรงไปตรงมาและจริงใจ อะไรที่เป็นปัญหาก็ไม่ปกปิด เมื่อไปพูดที่นิวยอร์กในปี 1968 ให้ผู้บริหารอเมริกัน 800 คน เขาพูดตรง ไม่สร้างภาพ และผลลัพธ์ออกมาดี
2
ตั้งแต่นั้น ทุกครั้งที่ไปสหรัฐอเมริกา เขาจะได้รับเชิญไปพูดเสมอ
ผู้บริหารระดับสูงของสหรัฐฯในบริษัทต่างๆ ไม่มีเวลาไปสิงคโปร์พวกเขาตัดสินใจโดยดูผู้นำประเทศสิงคโปร์ว่าเป็นคนแบบใด แล้วค่อยคิดว่าจะไปลงทุนที่นั่นหรือไม่
1
จากคำแนะนําของ ดร. วินซีเมียส พวกเขาก่อตั้ง The Economic Development Board เป็น ‘one stop shopping’ สำหรับนักลงทุนเพื่อที่จะไม่ต้องผ่านขั้นตอน กระทรวงและหน่วยงานหลายชั้น
2
ประธานคนแรกของ EDB คือ ฮันรุ่ยเซิน (Hon Sui Sen 韓瑞生) เป็นคนเก่ง รู้จักใช้คน ต่อมาพวกเขาก็คัดเลือกคนเก่งระดับหัวกะทิที่ยังเป็นหนุ่มสาวมาบริหาร พวกนี้เรียนจบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก และเห็นฮันรุ่ยเซินเป็นไอดอล
1
ดร. วินซีเมียสเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจสิงคโปร์นานถึง 23 ปี ไม่มีเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นๆ รัฐบาลจ่ายแค่ค่าตั๋วเครื่องบินกับโรงแรม เขามาสิงคโปร์ปีละสองครั้ง ครั้งละสามอาทิตย์ ประชุม ให้คำปรึกษาทั้งราชการและเอกชน และกินข้าวกลางวันพร้อมคุยเรื่องงานกับลีกวนยูเสมอ ปัญหาคือ ดร. วินซีเมียสสูบบุหรี่จัดแบบมวนต่อมวน และลีกวนยูแพ้ควันบุหรี่!
3
ลีกวนยูบอกว่าเป็นโชคดีของสิงคโปร์ที่ ดร. วินซีเมียสชอบทำงานกับพวกเขา
1
ดังนั้นเขาจึงยอมทนกลิ่นบุหรี่ของที่ปรึกษา!
1
ในช่วงปีแรกๆ สิงคโปร์สร้างโครงสร้างพื้นฐานมากมาย ที่ใหญ่ที่สุดคือ Jurong Industrial Estate ครอบคลุมพื้นที่เก้าพันเอเคอร์ ในช่วงแรก Jurong Industrial Estate เป็นหมู่บ้านผีสิง มันร้างผู้คนจนพวกเขาแทบถอดใจ จนถึง 1975 สถานการณ์ก็ดีขึ้น และดีขึ้นไปอีกเมื่อบริษัท Texas Instruments มาสร้างโรงงานประกอบเซมิคอนดัคเตอร์ที่นี่
1
ตามมาด้วย Hewlett-Packard (HP) และ General Electric (GE) ซึ่งว่าจ้างคนงานมากที่สุดในสิงคโปร์
2
สถานการณ์เศรษฐกิจของสิงคโปร์ดีขึ้นเรื่อยๆ การว่างงานก็ลดลงไปมาก
ในปี 1997 มีบริษัทอเมริกันถึง 200 บริษัทในสิงคโปร์
1
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการกลั่นน้ำมันใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากฮิวสตันและรอตเตอร์ดัม
ลีกวนยูบอกว่า ถ้าให้เขาสรุปว่าอะไรคือสิ่งที่ทําให้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จ มันก็คือคำว่า ‘ความเชื่อมั่น’
3
ทำให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจว่าทุกอย่างโปร่งใส ชัดเจน ไม่มีนอกไม่มีใน
2
กำเนิดศูนย์กลางทางการเงิน
อีกเป้าหมายหนึ่งคือการสร้างสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคนี้
นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยฝีมือ วิสัยทัศน์ และโชค
เรื่องเริ่มที่ในปี 1968 ที่ปรึกษาสิงคโปร์ ดร. วินซีเมียสโทรศัพท์ถึงเพื่อนที่เป็นรองประธาน Bank of America สาขาสิงคโปร์ ชื่อ Van Oenen ตอนนั้น Oenen อยู่ที่ลอนดอน ดร. วินซีเมียสบอกเพื่อนว่าสิงคโปร์ต้องการเป็นศูนย์กลางการเงินในเอเชียอาคเนย์ภายในสิบปี
Oenen เรียก ดร. วินซีเมียสไปหาที่ลอนดอน แล้วพาไปในห้องประชุมบอร์ด ในห้องนั้นมีลูกโลกขนาดใหญ่ เขาพูดว่า
1
“โลกการเงินเริ่มที่ซูริค ธนาคารที่ซูริคเปิดตอน 9 โมงเช้า ตามมาด้วยแฟรงค์เฟิร์ท และลอนดอน ในตอนบ่ายซูริคปิด ต่อด้วยแฟรงค์เฟิร์ทและลอนดอน เป็นเวลาเดียวกับที่ทางอเมริกาเริ่มเปิดที่นิวยอร์ก...
"ดังนั้นการเงินก็ถูกส่งต่อจากลอนดอนไปนิวยอร์ก ในตอนบ่าย นิวยอร์กปิด ก็ส่งต่อให้ ซาน ฟรานซิสโก เมื่อ ซาน ฟรานซิสโกปิดในตอนบ่าย โลกการเงินก็หยุดตรงนั้น ทุกอย่างเริ่มต้นใหม่ที่ซูริคเวลาเก้าโมงเช้าของสวิส ทีนี้ถ้าเราวางสิงคโปร์ระหว่างกลาง ก่อนที่ ซานฟรานซิสโก จะปิด สิงคโปร์ก็จะเป็นตัวเชื่อม เมื่อสิงคโปร์ปิด ก็ถึงเวลาเปิดของซูริคพอดี ดังนั้นนี่จะเป็นครั้งแรกของโลกที่การเงินโลกดำเนินไปรอบโลกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง”
5
เป็นมุมมองที่ชาญฉลาด อาศัยช่องว่างเล็กๆ ช่องหนึ่งเปลี่ยนเกมการเงินของประเทศและของโลก
และนี่คือจุดเริ่มต้นของศูนย์กลางการเงินแห่งเอเชียอาคเนย์ ที่เหลือเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการเงินในเอเชียอาคเนย์สำเร็จ
ลีกวนยูเชื่อในเรื่องสังคมนิยม แต่เขาต้องการสร้างสังคมที่ยุติธรรมไม่ใช่สังคมที่แบมือขอทุกอย่าง (A fair, not welfare, society)
7
เขาต้องการสร้างสังคมที่แข่งขันอย่างยุติธรรม เขาพัฒนาแบบผสมและปฏิบัติได้จริง เขาต้องการสร้างประเทศที่ประชาชนทุกคนมีบ้านของตัวเอง ไม่ต้องเช่า เขาจึงก่อตั้ง Housing and Development Board (HDB) จัดการเรื่องบ้าน
8
และก่อตั้ง Central Provident Fund (CPF) บังคับคนให้ออม 5 เปอร์เซ็นต์ เจ้าของธุรกิจสมทบอีก 5 เปอร์เซ็นต์ ถอนมาใช้ได้ตอนอายุ 55 สามารถใช้เงิน CPF จ่ายค่าบ้านและค่ารักษาพยาบาลได้
4
ตอนหลังตัวเลขเพิ่มเป็น 25/40 เปอร์เซ็นต์ในปี 1984
บทเรียนจากญี่ปุ่น
ลีกวนยูบอกตรงๆ กับใครๆ ว่า เขามีประสบการณ์ที่เลวร้ายกับพวกญี่ปุ่น เขาเกือบถูกทหารญี่ปุ่นฆ่าในช่วงที่ญี่ปุนยึดครองสิงคโปร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาอาศัยไหวพริบรอดมาได้ แต่ภาพญี่ปุ่นกระทําทารุณกรรมกับชาวบ้าน ไปจนถึงยิงทิ้งอย่างเลือดเย็น ตราในใจเขาตลอดชีวิต
1
กระนั้นเขาก็ต้องก้าวข้ามอดีต และยุ่งเกี่ยวกับญี่ปุ่น
1
ญี่ปุ่นหลังสงครามอยู่ในกํามือของสหรัฐฯ ไม่สามารถทําอะไรได้มากนัก แต่เมื่อเกิดสงครามเกาหลี จีนกลายเป็นตัวแปรความขัดแย้งใหม่ สหรัฐฯก็เปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับญี่ปุ่น ยอมให้ญี่ปุ่นสร้างประเทศขึ้นมาใหม่
ผู้นําญี่ปุ่นสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ สิ่งทอ เหล็ก เรือ รถยนต์ปิโตรเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้า กล้องถ่ายรูป ฯลฯ ญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้นมาเป็นยักษ์อีกครั้ง เพราะคนญี่ปุ่นทั้งชาติต้องการลุกขึ้นมายืนใหม่
1
ในสายตาของลีกวนยู เมื่อรวมกันไม่มีชนชาติใดสู้ญี่ปุ่นได้ จีน เกาหลี เวียดนามล้วนสู้ไม่ได้ หากเป็นการสู้กันตัวต่อตัว เช่น เล่นเกมโกะ คนจีนเอาชนะญี่ปุ่นได้ แต่หากรวมกันเป็นทีม ไม่มีใครสู้ญี่ปุ่นได้ คนญี่ปุ่นภาคภูมิใจต่องานที่ทํา แม้เป็นงานธรรมดา เช่น พ่อครัว คนรับใช้ ฯลฯ
5
ลีกวนยูเคยถาม โนบุโอะ ฮิซากิ (Nobuo Hizaki) กรรมการผู้จัดการบริษัท Nichison ที่สิงคโปร์ ราวปี 1980 ว่าทําไมคนสิงคโปร์สร้างงานได้ต่ำกว่าญี่ปุ่น ทั้งที่ใช้เครื่องมือเดียวกัน Nobuo ตอบว่าผลผลิตของคนสิงคโปร์ทำได้แค่ 70 เปอร์เซ็นต์ เหตุผลเพราะคนญี่ปุ่นมีทักษะสูงกว่า คนคนเดียวทำได้หลายอย่าง ปรับตัวได้ดีกว่า ยืดหยุ่นกว่า และไม่เปลี่ยนงานบ่อย คนญี่ปุ่นเชื่อเรื่องเรียนรู้และฝึกฝนตลอดชีวิต
4
ลีกวนยูถาม “แล้วคุณคิดว่าคนสิงคโปร์จะตามทันได้เมื่อไร?”
ผู้บริหารญี่ปุ่นตอบว่า “10-15 ปี”
เขาอธิบายว่า คนงานสิงคโปร์ยากจะเทียบคนงานญี่ปุ่น เพราะ 1 คนงานญี่ปุ่นทําหน้าที่แทนเพื่อนร่วมงาน กรณีที่เพื่อนร่วมงานไม่อยู่ เช่น ลากิจ คนงานสิงคโปร์ทําแต่หน้าที่ตัวเอง
4
2 ในสิงคโปร์มีการแบ่งระดับชั้นคนชัดเจน แบบที่อังกฤษทําคนนี้เป็นหัวหน้า คนนั้นเป็นรองหัวหน้า คนจบปริญญาใหม่ๆ สามารถเข้ามาเป็นเจ้านายได้เลย ญี่ปุ่นไม่เป็นอย่างนี้ แต่ละคนต้องไต่ขึ้นมา และพิสูจน์ตัวเอง
4
ลีกวนยูสังเกตว่าเวลาไปเยือนสำนักงานในญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นประหยัดการใช้พลังงานมาก ทั้งนี้เพราะรัฐบาลให้ผลตอบแทนหากองค์กรไหนติดตั้งเครื่องมือที่ลดการใช้พลังงาน
ลีกวนยูพยายามนํามาใช้ในสิงคโปร์ แต่ยอมรับว่าสู้ญี่ปุ่นไม่ได้
1
บริษัทญี่ปุ่นในสิงคโปร์จ้างแต่คนญี่ปุ่นทำงานในระดับสูง เพราะ เก่งกว่าคนสิงคโปร์
1
ผู้บริหารญี่ปุ่นอุทิศเพื่องานจริงๆ ในยุค 1970 วิศวกรญี่ปุ่นคนหนึ่งที่โรงต่อเรือที่ Jurong สิงคโปร์ คํานวณเรื่องที่เก็บน้ํามันผิดพลาดทำให้กําไรบริษัทลดในปีนั้น เขาฆ่าตัวตาย
3
ในปี 1980 เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ไปดูงานที่ญี่ปุ่นที่กระทรวงการค้านานาชาติและอุตสาหกรรม (Ministry for International Trade and Industry - MITI) พบว่าญี่ปุ่นไม่ได้มองอดีต แต่มองไปในอนาคต พวกเขามุ่งไปที่เรื่องการประหยัดพลังงานพลังงานทางเลือก ยุทธศาสตร์ที่จะเอาชนะการจํากัดการค้าจากต่างประเทศในด้านเหล็ก รถยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นความรู้แบบสร้างสรรค์ พวกญี่ปุ่นต้องการสร้างเทคโนโลยีใหม่ สินค้าใหม่ๆ
1
MITI ให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ว่า ภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมอย่างสิงคโปร์ จะเป็นศูนย์กลางความรู้และข้อมูล จะทําสําเร็จได้ คนสิงคโปร์ต้องเป็นคนที่เชื่อถือได้และวางใจได้
4
ลีกวนยูบอกว่าพวกเขาท่องคําแนะนำนี้ไว้ในหัว และปรับเปลี่ยนนโยบายการศึกษา เพื่อจะบรรลุเป้าหมายเป็นศูนย์กลางความรู้และข้อมูล พวกเขาปรับระบบการสอนใหม่ในโรงเรียน เน้นวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ในทุกโรงเรียน ทำให้ระบบของหน่วยงานราชการทุกแห่งเป็นดิจิตัลและไฟเบอร์ออพติค เพื่อให้ทันกับภาคเอกชน สามารถหักภาษีได้กรณีเปลี่ยนคอมพิวเตอร์
5
ลีกวนยูพบคนญี่ปุ่นบ่อยๆ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนรู้ว่าญี่ปุ่นทุ่มการลงทุนไม่อั้นกับเทคโนโลยีใหม่และพัฒนาคนให้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ นั้น
ลีกวนยูบอกว่า หากมีพิบัติภัยร้ายแรงใดๆ ในโลก ญี่ปุ่นต้องเป็นหนึ่งในชาติที่อยู่ในกลุ่มรอดได้ เพราะคนญี่ปุ่นพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงทุกชนิด และเชื่อมั่นในพลังของการรวมหมู่
1
ในปี 1959 (ปีแรกที่ลีกวนยูเป็นผู้นํา) per capita GDP ของสิงคโปร์คือ US$400
ปี 1990 (ปีที่ลีกวนยูลงจากตําแหน่ง) = US$12,200
2
ปี 1999 = US$22,000
จากศูนย์กลายเป็นร้อย
1
โฆษณา