24 เม.ย. เวลา 00:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เทียบฟอร์ม 4 แบงก์ใหญ่ Q1/67 เป็นยังไงบ้าง ?? 🤔🔍

กำไรสุทธิ ถ้ามีการเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะเรียกเป็นการเทียบ year on year ถ้าเป็นการเทียบไตรมาสนี้กับไตรมาสก่อนหน้าจะเรียก Quarter on quarter นะ
งบธนาคาร 1/67 ที่ออกมาสามารถเข้าไปดูได้ในหัวข้อ “ข่าว” ตรงหุ้นที่เราสนใจ และควรอ่าน "คำอธิบายและวิเคราะห์ของผ่ายจัดการ“ เพื่อเข้าใจภาวะเศรษฐกิจด้วยนะ
ทั้ง 4 ธนาคารกำไรเติบโตทั้ง YoY และ QoQ โดย KBANK เด่นสุด รองลงมาเป็น KTB, BBL และ SCB และยังรักษาระดับ NIM ได้
ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin หรือ NIM) คิดมาจาก (รายได้ดอกเบี้ยรับ – ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย) / สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เฉลี่ย
ธนาคารมีดอกเบี้ยรับ และดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ที่มากกว่าแค่ เรื่องของสินเชื่อ และเงินฝาก เพราะธนาคารมีดอกเบี้ยรับการลงทุนในตราสารหนี้ ดอกเบี้ยจ่ายจากการออกตราสารหนี้ มีดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายจากการกู้ยืมกันเองระหว่างธนาคารด้วย
NIM จะบอกถึงความสามารถในการหารายได้ของธนาคารจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมด
NPL คือ non-performing loans ก็คือ “เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ” หรือก็คือหนี้เสีย
มาตรฐานทางบัญชี TFRS9 มีการจัดชั้นหนี้เป็น 3 ระดับ
ชั้นแรก เงินให้สินเชื่อที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (performing) คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้ผิดชำระหนี้ ชำระหนี้ตามปกติ
ชั้นที่ 2 เงินให้สินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) คือ ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นเกินกว่า 30 วัน
และชั้นที่ 3 เงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing; NPL) สินเชื่อที่ผิดชำระหนี้หนี้เกิน 3 เดือนติดต่อกัน ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย/ สาญสูญ เลิกกิจการ
เวลาที่เราดูหุ้นกลุ่มธนาคารก็ควรมองเรื่องของ NPL ด้วย ว่า NPL เท่าไหร่ และ % NPLs ต่อสินเชื่อรวม ซึ่งคิดจาก NPL มาเทียบกับเงินให้สินเชื่อโดยรวม ออกมาเป็น % นะ
NPL Coverage Ratio คือ เงินสํารองหนี้สูญต่อหนี้ที่ทำให้ไม่เกิดรายได้ คํานวณจาก การเอาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหารด้วยเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ แต่ละธนาคารมี coverage ratio ที่สูง
%NPLต่อสินเชื่อรวม ปรับเพิ่มเล็กน้อย สำหรับ BBL, SCB ซึ่ง NPL ของ BBL เมื่อไตรมาสก่อน ที่ 2.7% ส่วน SCB ที่ 3.44% ทำให้มีการตั้งสำรอง (ECL) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน.
ROE (Return on Equity) หรือ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น คิดจาก กำไรสุทธิ/ ส่วนผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนที่สำคัญ เป็นการบอกว่า ท้ายที่สุดแล้ว ธนาคารนั้นๆ ทำผลตอบแทนกลับมาได้เท่าไหร่ จากเงินของผู้ถือหุ้นที่ได้ลงไป ค่านี้จึงยิ่งสูง ยิ่งดี
KTB สามารถทำ ROE ได้ 10% ตามมาด้วย KBANK
ROE มีผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นกลุ่มธนาคารด้วย การประเมินมูลค่าหุ้นกลุ่มธนาคารนั้นจะใช้ P/BV (price per book value) เนื่องจากทรัพย์สินของธนาคารส่วนใหญ่นั้นเป็นเงิน และเงินลงทุนต่างๆ ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกับมูลค่า และ ROE นั้นมีความสัมพันธ์กับ P/BV ยิ่ง ROE สูง การประเมินมูลค่าด้วย P/BV จะสูงขึ้น
SCB ได้มีการจ่ายปันผลเพิ่มเป็น payout ratio ที่ 80% จากเดิมที่ 60% ทำให้ SCB เด่นเรื่องการจ่ายปันผล ส่วน KTB มี payout ratio 33%, KBANK 36%, BBL 32%
payout ratio คือ ปันผลหารด้วยกำไร การจะดูว่าบริษัทจ่ายปันผลมากน้อย ก็ดูจากค่านี้
มีการอ่านงบการเงิน และข้อมูลหุ้นจริง ที่เรียบเรียง รวมรวบ เพิ่มเติมรายละเอียดอีกหลายเรื่อง ใน eBook "ส่องหุ้นด้วยงบการเงิน" สั่งซื้อกันได้จาก MEB และ OOKBEE
คอร์สออนไลน์ I-INVESTOR
ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #หุ้น #งบการเงิน
โฆษณา