29 เม.ย. เวลา 01:43 • การเมือง

สหรัฐฯ นำเสนอ “กรอบการทำงาน 5 ประการ” เพื่อชัยชนะเหนือจีน

ศูนย์วิเคราะห์หรือคลังสมองของอเมริกา RAND Corporation ได้จัดทำรายงาน “ทฤษฎีทางทหารเกี่ยวกับชัยชนะของสหรัฐฯ ในการทำสงครามกับจีน” รายงานนี้สรุปกรอบการทำงานสำหรับสิบปีนับจากนี้เพื่อนำไปสู่ชัยชนะที่เป็นไปได้ 5 ประการสำหรับสหรัฐฯ ในการทำสงครามกับจีนเหนือไต้หวัน มีการวิเคราะห์ถึงผลความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการบานปลาย
นอกจากนี้การศึกษา “ทฤษฎีแห่งชัยชนะ” ในยามสงบถือเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมนายทหารระดับสูงและพลเรือนเพื่อรายงานให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใดก็ตามทราบถึงทางเลือกต่างๆ หากกลยุทธ์ที่ใช้ควบคุมจีนของตนล้มเหลวและเกิดสงครามปะทุขึ้น มีการวิเคราะห์ว่าศัตรูจะตอบโต้อย่างไร (ทั้งทางการทหารและการเมือง) และพิจารณาว่าประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง (เช่น พันธมิตรแนวร่วม) จะตอบโต้อย่างไร
ผู้เขียนรายงานดังกล่าวเริ่มการวิเคราะห์ด้วยประเด็นเกี่ยวกับ “สงครามนิวเคลียร์” ซึ่งมหาอำนาจโลกอาจจะงัดนำมาใช้ มีความเสี่ยงที่จะบานปลายอย่างที่สหรัฐฯ ไม่เคยเผชิญมาก่อนนับตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ซึ่งต่างจากความขัดแย้งที่สหรัฐฯ กระทำต่อประเทศต่างๆ เช่น ในเซอร์เบียและอิรัก
อาวุธนิวเคลียร์ก่อให้เกิดการทำลายล้างโดยสิ้นเชิงซึ่งน่าจะเป็นผลลัพธ์ของสงครามระหว่างมหาอำนาจใดๆ ก็ตามในศตวรรษที่ 21 แม้ว่ากองกำลังทหารปกติของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจวนจะคว้าชัยชนะแล้วก็ตาม ด้วยเหตุผลเดียวกันการได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์เหนือมหาอำนาจติดอาวุธนิวเคลียร์ดูเหมือนเป็นเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุได้เลย เนื่องจากแม้ว่ากองกำลังทหารของ “ฝ่ายแพ้” จะพ่ายแพ้ แต่ก็ยังสามารถทำลาย “ฝ่ายชนะ” ด้วยการโจมตีโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสงครามในปัจจุบันจึงเป็นไปในลักษณะของ “สงครามตัวแทน”
1
เครดิตภาพ: sgs.princeton.edu
เนื่องจากจีนมีคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ที่ทรงพลัง (ตัวเองอเมริกาก็มี) ตามที่ผู้เขียนระบุ สหรัฐฯ ควรทำงานอย่างระวังเพื่อก่อ “สงครามที่จำกัด” ระหว่างมหาอำนาจที่ติดอาวุธนิวเคลียร์ จำเป็นต้องมี “การยับยั้งชั่งใจ” เพราะคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างมีความสามารถในการขยายภัยพิบัติทั่วโลกไม่ใช่แค่ในระดับภูมิภาค ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของสงครามที่จำกัดในยุคนิวเคลียร์คือ “การกำหนดเป้าหมายทางการเมืองที่จำกัดในความขัดแย้ง”
ผู้เขียนรายงานเสนอแนะว่าสหรัฐฯ ควรกำหนดเป้าหมายทางการเมืองแคบๆ เพื่อให้แน่ใจว่า จีนไม่สามารถควบคุมไต้หวันได้ทางกายภาพ เช่น การบังคับให้จีนยอมรับเงื่อนไขทางการเมืองที่ต้องยอมรับเอกราชของไต้หวัน หรือ การโค่นล้มอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เนื่องจากสหรัฐฯ จะต่อสู้ร่วมกับพันธมิตรอย่างไต้หวันและอาจเป็นประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย สหรัฐฯ จะเผชิญกับความท้าทายในการจัดการแนวร่วมขณะเดียวกันก็ต้องมีการพยายามโน้มน้าวพันธมิตรให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่จำกัดร่วมกัน
เครดิตภาพ: MEMRI
กรอบการทำงานหรือทฤษฎีเพื่อชัยชนะของสหรัฐฯ เหนือจีน 5 ประการ ที่ระบุในรายงานฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้
  • 1: การเข้าครอบงำหรือควบคุม - โดยใช้กำลังรุนแรงทำให้ศัตรูไม่สามารถต้านทานทางกายภาพได้อีกต่อไป
อย่างไรก็ตามกลยุทธ์นี้ใช้ไม่ได้กับจีน เนื่องจากจะต้องทำลายศักยภาพทางอุตสาหกรรมทหารทั้งหมดของจีนให้สิ้นซาก การโจมตีครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ ดังกล่าวจะถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะทำลายศักยภาพทางนิวเคลียร์และผู้นำของจีน พร้อมด้วยผลที่ตามมาที่ไม่สู้ดีนัก
  • 2: การชี้นำไปสู่การปฏิเสธ - โน้มน้าวศัตรูว่าพวกเขาไม่น่าจะบรรลุเป้าหมาย และการสู้รบอย่างต่อเนื่องจะไม่นำไปสู่ความสำเร็จ
กลยุทธ์นี้คือมุ่งเน้นไปที่การทำลายผลประโยชน์ที่คาดหวังซึ่งกระตุ้นให้ศัตรูยังต่อสู้ต่อไปแทนที่จะได้รับชัยชนะในวงกว้าง เป้าหมายคือทำให้พวกเขายอมจำนน
1
ในบริบทของการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนหมายถึง “การลดความสามารถของจีนในการยึดครองไต้หวัน” ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาทำการสกัดกั้นการโจมตีทางอากาศและทางทะเลที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการปฏิบัติการให้ได้ ขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงการโจมตีเป้าหมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการรบ
ผู้เขียนรายงานนี้เชื่อว่า วิธีนี้จะทำให้จีนยุติความขัดแย้งไปเองถึงแม้จะไม่ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างเปิดเผยก็ตาม เนื่องจากวิธีการทางทหารแบบเดิมไม่สามารถใช้ได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดิม
  • 3: การด้อยค่า - โน้มน้าวศัตรูว่าแม้ว่าพวกเขาจะบรรลุเป้าหมาย แต่ผลประโยชน์ก็จะน้อยกว่าที่หวังไว้ในตอนแรก
ผู้เขียนรายงานยกตัวอย่าง “เหตุการณ์เผามอสโก” เมื่อกองทัพฝรั่งเศสของนโปเลียนยกทัพเข้าสู่เมืองหลวงรัสเซียในปี 1812 รายงานระบุว่ากลยุทธ์นี้น่าจะใช้ไม่ได้ผลกับไต้หวัน เนื่องจากแม้แต่การบ่อนทำลายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดก็ไม่สามารถลดแรงจูงใจทางการเมืองของจีนได้ในการเข้ายึดเกาะไต้หวัน
1
  • 4: Brinkmanship – โน้มน้าวศัตรูให้หยุดการสู้รบโดยขู่ว่าจะบานปลาย
กลยุทธ์นี้ใช้วิธีแบล็กเมล์เป็นหลัก สหรัฐฯ จะขู่ว่าความรุนแรงทวีมากขึ้นซึ่งอาจรวมถึงการใช้อาวุธนิวเคลียร์ หากจีนไม่ละทิ้งการรุกรานไต้หวัน กลยุทธ์ดังกล่าวเป็น “การลองดีและเสี่ยง” แต่ในกรณีนี้ “จีน” แทนที่จะเป็น “สหรัฐอเมริกา” มีแรงจูงใจมากกว่าที่จะรับความเสี่ยงและต้นทุนในการทำสงครามเหนือไต้หวัน รายงานระบุ
  • 5: ชี้ให้เห็นถึงต้นทุนทางทหารในการทำสงคราม – โน้มน้าวศัตรูว่าต้นทุนในการสู้รบมีมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้มาหลังได้รับชัยชนะ
ในบริบทของการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน กำลังพูดถึง “การปิดล้อมการค้าทางทะเลของปักกิ่งในจุดคอขวด” เช่น ช่องแคบมะละกา หรือการลดกำลังทหารของศัตรูใน “สงครามการยั่วยุ” ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของกลยุทธ์นี้ หากสมมติฐานเบื้องหลังแนวทางนี้คือต้นทุนทางทหารที่เพิ่มขึ้นจนไม่คุ้มค่าจะนำอีกฝ่ายเข้ามาที่โต๊ะเจรจา
1
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นว่าเมื่อใช้กลยุทธ์ที่ 5 อันนี้ สหรัฐฯ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสามประการ คือ
  • 1.
    สหรัฐฯ ต้องหาจุดกึ่งกลางของแรงกดดันที่เพียงพอที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของจีน แต่ไม่มากจนทำให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายจนไม่อาจยอมรับได้
  • 2.
    สหรัฐฯ จะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ด้วยระยะเวลาที่เหมาะสมและในปริมาณที่เพียงพอเพื่อสร้างอำนาจบีบบังคับที่จำเป็นในกรอบเวลาอันสั้น
  • 3.
    สหรัฐฯ ต้องให้การรับประกันที่เชื่อถือได้แก่จีนว่า ความกดดันจะยุติลงหากปักกิ่งปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของวอชิงตัน
1
เครดิตภาพ: Eric Chow / Nikkei Asia
สรุปแล้วจากกรอบการทำงานดังกล่าว กลยุทธ์ที่ 2 กับ 5 ผู้เขียนรายงานนี้บอกว่าดูจะเป็นวิธีที่เข้าท่าสำหรับสหรัฐอเมริกาในการใช้กับจีน เป้าหมายหลักของรายงานนี้อาจคือการเสนอ “กฎเกณฑ์การปฏิบัติ” บางประการให้กับจีน สำหรับความขัดแย้งเหนือไต้หวัน เห็นได้ชัดว่ามันถูกรวบรวมโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เชี่ยวชาญชาวจีนจะได้อ่านรายงานฉบับนี้ (เปิดเป็นสาธารณะ สามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้)
2
อ้างอิงรายงานฉบับเต็มดังกล่าวได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
1
29th Apr 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Shonagh Rae / Financial Times>
โฆษณา