16 มี.ค. 2019 เวลา 14:59 • ธุรกิจ
การออมเงิน (seving) หมายถึง การแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากรายได้ที่หักจากค่าใช้จ่ายแล้ว นำมาเก็บไว้เพื่อสะสมไว้ใช้จ่ายในอนาคต สะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยให้พอกพูนยิ่งขึ้น แทนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายซื้อหาความสุขตามใจที่ต้องการ
รายได้-ค่าใช้จ่าย=เงินออม
Incomes-Expenses=Savings
โดยทั่วไป การออม จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่าการจ่ายของเขา ทางที่จะเพิ่มเงินออมให้แก่ บุคคล อาจทำได้โดย การพยายามหาทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นด้วยการทำงานมากขึ้น ใช้เวลาว่างในการหารายได้พิเศษ หรือการปรับปรุงงาน ที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมีรายได้สูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้น การลดรายจ่าย ลงด้วยการรู้จักใช้จ่าย เท่าที่จำเป็น และเหมาะสมก็จะทำให้มีการออมเกิดขึ้นได้เหมือนกัน
ทำไมต้องออมเงิน ?
เคยคิดหรือไม่ว่าคุณจะมีอายุขัยกี่ปี และตอนนี้คุณมีอายุเท่าไหร่กันแล้ว เคยถามตัวเองไหมว่าที่ผ่านมามีเงินเก็บอยู่เท่าไหร่ และเงินที่มีอยู่นั้นจะสามารถใช้ได้นานเท่าไหร่ในยามที่ไม่มีรายได้ จากสถิติที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ย 80 ปี แน่นอนว่าถ้าดูจากจำนวนปีเริ่มเก็บเงินในวัยเริ่มทำงาน ช่วงอายุ 20 กว่าปี ก็น่าจะมีเงินพอให้ใช้ในวัยเกษียณ แต่อย่าลืมไปว่าช่วงอายุ 20 นั้นเป็นช่วงที่เรามีการใช้จ่ายเงินหลายทาง ทั้งการสร้างฐานะ สร้างครอบครัว และการใช้จ่ายอื่นๆ รู้ตัวอีกทีคุณก็อาจจะอายุปาเข้าไป 40 กว่าแล้ว ถึงจะได้ เริ่มออมเงิน ซึ่งห่างจากเวลาที่ต้องเกษียณเพียง 20 ปีเท่านั้น คุณคิดว่าจะเก็บเงินได้ทันหรือไม่
หลายๆคนที่คิดจะเก็บเงินแต่ก็มีคำถามปรากฏขึ้นในใจ ไม่ว่าจะเป็น “จะรีบออมไปทำไมล่ะ เราก็อายุยังน้อย ยังมีเวลาให้เก็บเงินอีกนาน” หรือ “ไม่ต้องออมหรอก ไม่ได้คิดจะซื้อบ้าน/รถ นี่” ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราคิดขึ้นมาค้านตัวเองที่คิดจะออมเงิน
แล้วการออมเร็ว ออมไว มันดีอย่างไรล่ะ ทำไมมีแต่คนอยากให้ออม
การออมทำเพื่อให้เราสำรองเงินไว้ในยามที่เราจำเป็น แล้วอะไรคือสิ่งจำเป็นล่ะ มือถือใหม่ หรือ กระเป๋าใบใหม่เหรอ อันนั้นยังไม่จำเป็นเท่าไหร่ ลองคิดกันดูว่าปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น เศรษฐิจ หรือ บริษัทที่เราทำงานอยู่ก็ไม่ค่อยจะมีความแน่นอนเท่าไหร่ วันดีคืนดีเราอาจจะถูกไล่ออกมาเตะฝุ่นก็ได้ หรืออาจจะบาดเจ็บจนไม่มีรายได้ ทำให้เราขาดรายได้เป็นเวลานาน ซึ่งก็เป็นอีกเหตุผลนึงในการออมเงิน นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอีกเพียบให้เราออม
เหตุผลที่บอกว่าเราควรจะออมเงิน มี 3 ประการ
1. ออมเงินไว้ยามขาดรายได้ เช่น ตอนเราตกงานเตะฝุ่น หรือตอนเราเจ็บป่วยจนทำงานไม่ได้ ถ้าเรามีเงินออมเราก็อาจจะพอดูแลตัวเองได้บ้าง โดยไม่ต้องไปหยิบยืมใครให้เป็นหนี้ หรือตอนเกษียรที่เราไม่มีแรงจะทำงาน เราก็ยังมีเงินออมไว้เก็บกิน
2. ออมเงินไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง วันดีคืนดีเราอาจจะจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน ถ้าเรามีเงินออมก็ยังพอบรรเทาไปได้บ้าง หรือถ้าไม่ฉุกเฉินเช่น มีโทรศัพท์รุ่นใหม่ออกมาแล้วอยากได้ เราก็มีเงินก้อนของเรา ไปซื้อได้เลย ไม่ต้องเป็นหนี้ใคร ไม่ต้องกลัวใครมาทวงหนี้ด้วย
3. ออมเงินไว้ลงทุน อันนี้เป็นการออมเพื่ออนาคต ออมเพื่อที่เราจะเอาเงินออมไปลงทุนให้ได้เงินมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ ๆ ๆ และที่สำคัญยิ่งออมเร็วและลงทุนเร็ว ผลตอบแทนการลงทุนจะยิ่งทวีค่ามากขึ้น
**อาจพูดได้ว่าการออมเป็นพื้นฐานสำคัญขั้นต้นเพื่อการลงทุน **
"การลงทุน" หมายถึง การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออมปัจจุบัน ให้ได้รับผลตอบแทนจากการใช้จ่ายนั้นในอนาคต ซึ่งผู้ลงทุนเชื่อว่า เงินสดหรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่จะได้รับคืนนั้น จะสามารถชดเชยระยะเวลา อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่า หรืออาจกล่าวได้ว่า การลงทุนเป็นการออมเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น โดยที่จะต้องยอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการตัดสินใจลงทุน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้และ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จากการลงทุน"
ความสำคัญของการลงทุน
การลงทุนถือเป็นการเพิ่มค่าของเงิน ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้ผู้ลงทุนเองมีรายได้ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล รายได้จากค่าเช่า นอกจากนี้การลงทุนยังเป็นการรักษาอำนาจซื้อของตนจากภาวะเงินเฟ้อ คือถึงแม้จะเกิดเงินเฟ้อขึ้น แต่อำนาจเงินในมือเรา ก็ยังคงอยู่ ไม่ลดลง เนื่องจากเราได้นำต้นไปลงทุนจนเกิดผลงอกเงยเกิน ภาระเงินมาแล้ว สร้างความมั่งคั่งได้รวดเร็วขึ้น ช่วยสนับสนุนให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงิน ได้เร็วขึ้น
ประเภทของนักลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ สามรถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.นักลงทุนประเภทรอรับผล (Passive Investor)
เป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือยอมรับความเสี่ยงได้ไม่มากนัก จึงมักจะลงทุนผ่านการจัดการลงทุนโดยมืออาชีพ เช่น การลงทุนในกองทุนรวม
2.นักลงทุนประเภทมุ่งหวังผล (Active Investor)
บุคคลประเภทนี่เห็นว่ามีโอกาสในการลงทุนเสมอ จึงชอบความเสี่ยง และมักจัดการลงทุนด้วยตนเอง เช่นการลงทุนในตราสารทุน
ก่อนจะลงทุนต้องวางแผน
การวางแผนการลงทุน
คนส่วนใหญ่ไม่ได้วางแผนที่จะล้มเหลว แต่เขาล้มเหลวเพราะไม่ได้วางแผนนั่นเข้อคิดที่ควรนำมาพิจารณาในการวางแผนลงทุนอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุที่คนเรามีเป้าหมายในชีวิตแตกต่างกันตามช่วงระยะเวลาต่างๆของการดำเนินชีวิต เป้าหมายการเงินของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปด้วย และวิธีการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในแต่ละช่วงของชีวิตจึงจำเป็นต้องวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกัน
4 ขั้นตอนของการวางแผนทางการเงิน
1.สร้างความมั่งคั่ง (Wealth Creation) เริ่มต้นการสร้างความมั่งคั่งง่ายๆ จากการวางแผนการใช้จ่ายในแต่ละเดือน ไปจนถึงการจัดการหนี้สิน
2.ปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection) เตรียมการรับมือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เพื่อรักษาความมั่งคั่งให้อยู่กับเราไปตลอดชีวิต อย่างเช่น การทำประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง และการวางแผนเกษียณ
3.สะสมความมั่งคั่ง (Wealth Accumulation) เพิ่มความมั่งคั่งโดยการวางแผนลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทน และการวางแผนภาษี เพื่อให้มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น
4.ส่งต่อความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการส่งมอบความมั่งคั่งให้กับทายาทหรือครอบครัวของเราด้วยวิธีการวางแผนมรดก
ขอให้โชคดีทุกๆคน
Wiwien
โฆษณา