8 เม.ย. 2019 เวลา 08:43 • การศึกษา
ไปทำกระทรวงศึกษาภาคเอกชนกันเถอะ!!!
นี่คือคำพูดที่คนๆนึง ชวนคนอีกคนนึงไปทำเรื่องดีๆเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย 🥳🥳
จุดเริ่มต้น...มาจาก
“โหน่ง” ผู้ซึ่งตัดสินใจลาออกจาก บ.SCG แล้วกลับไปช่วยธุรกิจดอกไม้ประดิษฐ์ของที่บ้านที่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีคนงานประมาณ 200-300 คน
โหน่งต้องการพัฒนาโรงงานของที่บ้านให้เป็นระบบ แต่ปัญหาคือคนงานไม่รู้หนังสือ จึงอ่านคู่มือที่โหน่งทำไม่ออก โหน่งจึงแก้ปัญหา โดยการเปิดโรงเรียนสอนหนังสือในโรงงานซะเลย (โหน่งเคยรับ Job สอนพิเศษสมัยเรียนหนังสือ)
1
หลังจากเปิดโรงเรียนไปสักพัก มีคุณป้าท่านนึงเดินมาขอบคุณโหน่ง บอกว่า เดี๋ยวนี้นั่งมอเตอร์ไซค์กลับบ้านแล้วมีความสุขมากเลย เพราะอ่านออกแล้วว่าป้ายต่างๆเขียนว่าอะไร 😬😬
1
โหน่งจึงเล็งเห็นว่า “การศึกษา” เป็นเรื่องสำคัญมาก จึงชวนเพื่อนรักที่ชื่อ “เต๋อ” มาทำโรงเรียนสอนพิเศษ ตื้อตั้ง 15 ครั้งแหนะ กว่าเต๋อจะยอมมา 😂😂
นี่คือที่มาของ • สถาบันกวดวิชาออนดีมานต์ • ที่โด่งดังนั่นเอง ปัจจุบัน (ปี 61) มี 49 สาขาทั่วประเทศ
เพราะอะไร “ออนดีมานต์” จึงเป็นที่นิยมในมวลหมู่นักเรียนล่ะ
ตามชื่อเลย on demand งัย
👍 นำระบบ computer เข้ามาใช้ในระบบการสอน นักเรียนจึงสามารถกลับไปเรียนซ้ำได้ในจุดที่ตัวเองตามไม่ทัน หรือไม่เข้าใจ
👍 ไม่เข้าใจข้อไหน capture คำถามมาได้ จะมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 100 คน ช่วยกันเคลียร์ประเด็นนั้นๆให้ภายใน 24 ชม.
👍 ปัจจุบันต่อยอดให้เรียนที่บ้านได้แล้วด้วย
วันหนึ่งเต๋อได้มีโอกาสไปเห็นการเรียนของเณรที่วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ จึงระลึกถึงคำชวนของโหน่งเกี่ยวกับการสร้างกระทรวงศึกษาธิการภาคเอกชน
ทั้ง 2 คน ลงทุนสร้างสถาบันวิจัยการศึกษาด้วยเงินทุนของตัวเอง ซึ่งระบบที่วิจัยนี้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น และช่วยลดงานครูด้วย โดยระบบที่วิจัยจะแบ่งการเรียนเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. 10 นาทีแรกครูจะเข้ามาบรีฟว่าจะเรียนเรื่องอะไร
2. จากนั้นนักเรียน เรียนกับ computer ซึ่งจะมีคำถามประเมินความเข้าใจของนักเรียนเป็นระยะๆ รวมถึงจะมีบททดสอบซึ่ง computer จะเป็นคนตรวจคำตอบให้หมด (ลดการบ้านเด็ก และลดงานครูด้วย) ในระหว่างนี้หากเด็กไม่เข้าใจ ให้ยกมือขึ้น ครูก็จะเข้าไปอธิบายเพิ่มเติมให้
3. 10 นาทีสุดท้าย ครูจะเข้ามาสรุปอีกที ว่าวันนี้เรียนอะไรไปบ้าง ยังไง
1
เต๋อกับโหน่งเอาระบบนี้ไปทดลองกับเด็กที่ได้ O-Net / A-Net ต่ำๆ หลังจากที่เด็กกลุ่มนั้นเรียนแบบระบบใหม่นี้อยู่ 2 ปี เด็กพวกนี้กลับมาสอบได้ที่ 1 จ้า
ปัจจุบันมีประมาณ 120 โรงเรียนที่นำระบบนี้ไปใช้
โหน่งและเต๋อยังแบ่งรายได้ประมาณ 15% ของรายได้ในส่วนนี้ ไปลงระบบให้โรงเรียนชนบทฟรี ซึ่งพบว่าผลการเรียนของนักเรียนเหล่านั้นดีขึ้น
นี่เป็นข้อพิสูจน์ได้เลยนะ ว่าเด็กต่างจังหวัดไม่ได้ฉลาดน้อยกว่าเด็กในกรุง เค้าแค่ขาดโอกาส... 😭😭
ท้ายสุด เต๋อเคยให้สัมภาษณ์ว่า เค้าไม่เคยคิดเลยนะว่าตัวเองทำโรงเรียนกวดวิชาอยู่ เค้าคิดเสมอว่าเค้ากำลังทำกระทรวงศึกษาภาคเอกชนอยู่ 😎😎
ส่วนนึงในหนังสือ “ชีวิตผิดได้” ของคุณหนุมเมืองจันท์
โฆษณา