13 เม.ย. 2019 เวลา 11:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ข่าวนี้ตลกดี สองผัวเมียตั้งเขตปกครองตัวเองกลางทะเล ห่างฝั่งไทย 22 กม ด้วยการตั้ง Floating Structure กลางทะเล (มีใครในเพจนี้ไปทำให้รึป่าวเนี่ย)
แบบ Spar design ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่แบบที่วิศวกรของ TSI ออกแบบไว้ให้บริการแก่สมาชิก มีลักษณะเป็นที่พักขนาดเล็ก 2 ชั้น ชั้นล่างอยู่อาศัย ชั้นบนติดตั้งเซลแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ตั้งอยู่บนเสาเหล็ก 1 เสา ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ยาว 20 เมตร ทนทานต่อกระแสคลื่นลมในทะเล และสามารถอยู่เหนือคลื่นสูง 5 เมตร ใช้ค่าก่อสร้างจานวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ห่าง ภูเก็ตไป เกิน 12 ไมล์ทะเล (~22 km) ซึ่งจะเลย ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) น่าจะอยู่ใน เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone) เหมือนพวกแท่นขุดเจาะน้ำมันทั้งหลาย
ผมไม่แน่ใจ กม ทำไมเค้าตั้งใน Exclusive Economic Zone ได้ มันยังอยู่ในสิทธิอธิปไตยของไทยไม่ใช่เหรอ
แล้วทำไมมันไปตั้งใกล้ภูเก็ต ฝั่งอันดามัน มันเป็นทะเลเปิด ทำไมมันไม่มาตั้งฝั่งอ่าวไทยที่ทะเลมันสงบกว่า
"2 ผัวเมีย" ตั้งเขตปกครองตนเองกลางทะเลสากล ใกล้ภูเก็ต
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV
11 เมษายน 2562 11:57
กลุ่ม Seasteading ประกาศความสำเร็จในการจัดตั้งที่พักในเขตน่านน้ำสากล ใกล้เกาะภูเก็ต ประกาศเป็นอิสระไม่ขึ้นกับชาติใด เตรียมตั้งชุมชนอาศัยกลางทะเล เผยที่พัก 2 ชั้น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ รับคลื่นสูง 5 เมตร
ผู้มีแนวคิดเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานในทะเล หรือ Seasteading ประสบความสำเร็จในการตั้งที่พักนอกน่านน้ำอาณาเขตของไทย และนับเป็นก้าวแรกที่กลุ่มนี้สามารถลงหลักปักฐานอย่างจริงจัง ทั้งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับ แนวคิด Seasteading มีเป้าหมายจะขยายการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเมือง ที่ปกครองตนเอง จึงนับว่าการตั้งที่พักดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติในลักษณะภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เว็บไซต์ Bitcoin.com และเว็บไซต์ Ocean.builders เมื่อ 4 มี.ค.2562 รายงานความสาเร็จของคู่สามีภรรยา คือนาย Chad Elwartowski และ Nadia Summergirl ชาวไทย ในการสร้างที่พักตามแนวทางของ Seastead นอกน่านน้าอาณาเขตของไทย ใกล้เกาะภูเก็ต โดยห่างชายฝั่ง 12 ไมล์ทะเล (22.224 กม.) พร้อมชักชวนผู้ที่ชื่นชอบในแนวคิดนี้มาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันเพื่อจัดตั้งชุมชนนอกอานาจรัฐ ที่มีเป้าหมายจะสถาปนารัฐอิสระหรือเขตปกครองตนเองขึ้นในอนาคต
Seasteading หมายถึง การตั้งถิ่นฐานแบบถาวรในทะเล ที่อยู่นอกเขตอานาจรัฐของประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยหวังว่าในอนาคตจะสามารถก่อตัวเป็นเมืองที่มีอานาจอธิปไตย และปกครองตนเอง โดยยึดหลักอิสรภาพของประชาชน แนวความคิดนี้ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ และเป็นจริงเป็นจังขึ้นหลังจาก นาย Wayne Gramlich และนาย Patri Friedman ก่อตั้ง The Seasteading Institute (TSI) ขึ้นเมื่อ 15 เม.ย.2551 ที่สหรัฐฯ ในลักษณะองค์กรไม่หวังผลกาไร ทำหน้าที่เผยแพร่แนวคิด วิธีการ และประสานงานระหว่างผู้มีแนวคิดเดียวกันในการจัดตั้ง Seasteading ในเขตน่านน้าสากล โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายทะเลของ United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) ที่ว่าด้วยน่านน้าสากลที่ผ่านมา
1
การดำเนินการจัดสร้างที่พักในทะเลตามแนวคิดดังกล่าวยังไม่ประสบความสาเร็จแม้แต่แห่งเดียว โครงการที่ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุดคือ การจัดทา MoU กับประเทศ French Polynesia เมื่อ ก.ย.2559 ในการจัดตั้งเขตกึ่งปกครองตนเอง (Semi Autonomous) แต่ไม่มีความคืบหน้า จึงนับว่าการจัดสร้างที่พักในทะเลใกล้เกาะภูเก็ตของนาย Elwartowski และนางสาว Supranee เป็นความสาเร็จแรกของแนวคิดดังกล่าว
ปัจจุบัน แนวความคิดเกี่ยวกับ Seasteading แพร่หลายอยู่ในกลุ่มผู้ค้าและเก็งกาไร cryptocurrencyที่พักของบุคคลทั้งสองเป็น
ขขั้นตอนการก่อสร้างส่วนใหญ่ทำบนบกในเกาะภูเก็ตใกล้กับบึงน้ำที่เป็นเหมืองแร่เก่า และเริ่มกระบวนการติดตั้งในทะเลระหว่าง 9 ม.ค. 4 ก.พ. 2562 ขณะนี้ บุคคลทั้งสองมีแผนจะผลิตที่พักดังกล่าวขายในเชิงพาณิชย์รอบแรกจานวน 20 หลังที่ให้ผู้ที่สนใจจะมาตั้งถิ่นฐานบริเวณดังกล่าวเพื่อก่อตั้งชุมชน โดยจะเปิดรับผู้สนใจจานวน 12 คนไปทดลองพักที่บ้านดังกล่าวระหว่าง 31 มี.ค. 6 เม.ย. 2562 ติดต่อได้ทางเว็บไซต์ Ocean Builders เพจ facebook และ youtube แต่จนถึง 4 มี.ค. 2562 มีผู้สมัครเพียง 1 ราย
ทั้งนี้ นาย Elwartowski ระบุถึงเหตุผลที่เลือกสร้าง Seasteading ใกล้เกาะภูเก็ตว่า ประเทศไทยมีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาค่าก่อสร้างถูก มีสภาพท้องทะเลเหมาะสม คลื่นไม่สูง ไม่มีเฮอร์ริเคนหรือไต้ฝุ่น และเป็นพื้นที่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลดีต่อโอกาสทางธุรกิจของตนเอง
โฆษณา