14 พ.ค. 2019 เวลา 04:14 • สุขภาพ
วัคซีน ที่ผู้สูงอายุควรได้รับ
8
เมื่อเราอายุมากขึ้นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคก็เพิ่มมากขึ้น หลายท่านคงคิดว่าการที่เราได้รับวัคซีนตั้งแต่สมัยเป็นเด็กก็สามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต แต่ความจริงแล้ววัคซีนบางตัวจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเวลาผ่านไปจึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดกระตุ้นใหม่ หรือ เมื่อเราอายุมากขึ้นความไวของเชื้อต่อการเกิดโรคก็มากขึ้นด้วย เช่น โรคปอดบวม และไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นผู้สูงอายุมีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคเช่นเดียวกัน
10
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 ได้แนะนำวัคซีนที่ควรฉีด ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปคือ
2
- วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักและคอตีบ
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี
- วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
12
เรามาทำความรู้จักวัคซีนแต่ละชนิดกัน
3
วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก(Tetanus vaccine) และโรคคอตีบ(Diphtheria vaccine)
โรคบาดทะยักเป็นโรคที่สามารถพบได้ในผู้สูงอายุ พบว่าอันตราการตายเพิ่มสูงขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคบาดทะยักส่วนใหญ่มักไม่เคยมีประวัติได้รับวัคซีนมาก่อน และแม้ว่าผู้ป่วยบางคนมีประวัติได้รับวัคซีนครบ 3 ครั้ง แต่มักพบว่าผู้ป่วยมีประวัติได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายมานานกว่า 10 ปี โดยพบว่าภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักมีแนวโน้มลดลงในช่วงอายุ 15-30 ปี การให้วัคซีนทุก 10 ปี ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันดีขึ้นในผู้สูงอายุขณะเดียวกันก็พบว่าสามารถลดความรุนแรงในกรณีที่เกิดโรคบาดทะยักได้
9
2. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
1
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พบได้ทุกอายุ โดยทั่วไปการติดเชื้อไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงผู้ป่วยจะหายเองได้ภายใน 3-5 วันภายหลังจากมีอาการของโรค อย่างไรก็ตามการเกิดโรคนี้ในผู้สูงอายุพบว่า จะมีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูง รวมทั้งอัตราการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ก็สูง การให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้น(seasonal influenza) แม้ว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่จะเป็นสายพันธุ์เดิมของวัคซีนที่เคยฉีดก่อนหน้านี้ก็จำเป็นต้องฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
7
3. วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine)
2
วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีสามารถป้องกันโรคตับอักเสบบีและอันตรายต่างๆ ที่ตามมาหลังจากการติดเชื้อตับอักเสบบีได้ รวมถึงมะเร็งตับและตับแข็ง วัคซีนให้ความคุ้มครองจากการติดเชื้อตับอักเสบบีเป็นระยะยาว อาจถึงตลอดชีวิตได้ ดังนั้นผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีควรได้รับการฉีดวัคนี้ ในกรณีบุคคลที่เกิดภายหลังปี พ.ศ.2535 มีความประสงค์จะฉีดวัคซีน โดยที่ไม่แน่ใจ หรือ ไม่ทราบประวัติการรับวัคซีนที่ชัดเจน ให้ฉีดวัคซีน 1 เข็ม แล้วตรวจ AntiHBs antibody ภายหลังการฉีดวัคซีน 2-4 สัปดาห์
8
4. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
3
การติดเชื้อนิวโมคอคคัส (S.pneumoniae) เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อที่รุนแรงในผู้สูงอายุ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่เยื้อหุ้มสมอง
3
โดยแนะนำให้ฉีด 1 ครั้ง ในช่วงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป
จะเห็นว่าการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่มีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้นการมีความรู้ที่ดีเกี่ยวกับวัคซีนจะทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจถึงความสำคัญในการฉีดวัคซีนและได้รับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม ซึ่งการฉีดวัคซีนถือเป็นการป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้
3
https://health.mthai.com/howto/health-care/14407.html
เอกสารอ้างอิง:
1
- สถาพร ขนันไทย. วัคซีนในผู้สูงอายุจำเป็นต้องฉีดหรือไม่. หน่วยคลังข้อมูลยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
- คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
3
โฆษณา