15 มิ.ย. 2019 เวลา 15:55 • การศึกษา
จะซื้อเล่มไหนดี?!?
เคยไหมที่เดินวนไปมาในร้านหนังสือ แต่ก็ยังไม่เจอเล่มที่ถูกใจเสียที!!!
ภาพนี้ไม่ใช้เพื่อการโฆษณา
คาดว่าคำถามนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายคน
ในยุคที่หนังสือถูกเขียนและแปลขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ยุคที่ข้อมูลข่าวสารพรั่งพรู แต่การเลือกซื้อหนังสือสักเล่มกลับไม่ง่ายเลย การหาหนังสือที่ถูกใจอาจเหมือนซื้อสลากกินแบ่ง ไม่มีใครรู้ว่าเล่มที่เลือกซื้อไปจะถูกใจเราหรือไม่
โพสต์นี้จะมาพูดถึง 6 วิธีการง่ายๆในการเลือกซื้อหนังสือของเรา
1. ตอบคำถามตัวเองว่าต้องการอ่านหนังสือด้านไหน แล้วเดินไปที่มุมหนังสือด้านนั้นๆ
2. กวาดสายตามองด้วยความรวดเร็วแบบผ่านๆดูหนังทั้งหมด
บางเล่มถูกจัดวางในมุมที่เด่นและสะดวกแก่การหยิบ และยังมีป้ายแนะนำจากทางร้าน
แต่อย่าเพิ่งตัดสินจากสิ่งดังกล่าว จนกว่าจะได้หยิบขึ้นมาเปิดอ่าน
3. วิธีที่จะรู้จักหนังสือเล่มนั้นเร็วที่สุดในเวลาอันจำกัดคือ พลิกไปอ่านท้ายเล่ม ส่วนใหญ่จะมีการนำวลีเด็ดๆในหนังสือมาใส่ไว้ด้านหลัง หรือข้อความจากผู้อ่านที่มีชื่อเสียงที่มีต่อหนังสือเล่มนั้นๆ
4. คำนำ เป็นส่วนที่อธิบายถึงที่มาที่ไปในการเขียนหนังสือเล่มนั้นๆและวัตถุประสงค์ของผู้เขียน
5. สารบัญ ในส่วนนี้สำหรับเราแล้วสำคัญมาก เพราะเป็นการบอกถึงเค้าโครง (Outline) ของหนังสือทั้งเล่มว่าประกอบไปด้วยหัวข้อใหญ่ๆ อะไรบ้าง ซึ่งในส่วนนี้ทำให้เห็นถึงลำดับความของการเขียนหนังสือเล่มนั้นๆ
มีปรมาจารย์ท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์ เขียนตำราด้านนิติศาสตร์หลายสิบเล่ม อาจารย์ท่านนี้บอกเล่าให้ฟังว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมใช้เวลาในการทำสารบัญปีครึ่ง!!!
การวาง outline นั้นไม่ง่าย เพราะเป็นศิลปะของการถ่ายทอดความคิด แสดงให้เห็นถึงลำดับเนื้อหาในการเรียบเรียงความรู้ทั้งหมด
ดังนั้น การอ่านสารบัญจึงทำให้เราเห็นภาพรวมของหนังสือเล่มนั้นทั้งหมดว่ากล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง
6. ย่อหน้าแรก และย่อหน้าสุดท้ายของแต่ละบท วิธีนี้เป็นวิธีพื้นฐานที่ทุกคนรู้กันทั่วไป แต่ถือเป็นวิธีที่ดีมากในการหาหนังสือที่ใช่ในเวลาที่จำกัด
หากเราอ่านไปเพียงย่อหน้าหนึ่ง แล้วทำให้เราอยากอ่านต่อ ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าหนังสือนั้นอาจจะใช่ที่คุณกำลังมองหาอยู่
6 วิธีง่ายๆในการเลือกซื้อหนังสือของเรา
ขอให้ทุกคนมีความสุขและสนุกกับหนังสือในมือค่ะ ❤️
โฆษณา