20 ก.ค. 2019 เวลา 12:08 • ข่าว
* Ebola กลับมาระบาดในคองโกอีกครั้ง
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ Ebola ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นภาวะฉุกเฉินที่ทุกคนทั่วโลกต้องตระหนัก ซึ่งหวังว่าการประกาศครั้งนี้จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในหมู่คนมีฐานะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือคองโก
ตอนนี้การระบาดของ Ebola ในคองโกทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,600 คนแล้ว โดยอาทิตย์นี้เป็นครั้งแรกที่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อในเมือง Goma ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยราว 1 ล้านคน
การที่ WHO ประกาศให้ Ebola เป็นภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขโลก (Public Health Emergency of International Concern หรือ PHEIC) เป็นสัญญาณเตือนระดับสูงสุดเท่าที่ WHO จะประกาศได้ และเคยประกาศภาวะฉุกเฉินแบบนี้แค่ 4 ครั้งเท่านั้นในประวัติศาสตร์ รวมถึงการระบาดของ Ebola ในแถบแอฟริกาตะวันตกช่วงปี 2014-2016 ด้วย ซึ่งคราวนั้นมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 11,000 คน
“มันถึงเวลาแล้วที่โลกต้องให้ความสนใจกับเรื่องนี้” กล่าวโดย Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ในงานประชุมที่เมืองเจนีวา เมื่อวันพุธที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา เขากล่าวว่า “ถึงแม้ว่าการประกาศภาวะฉุกเฉินนี้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อและผู้เกี่ยวข้องมากนัก แต่ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างที่มันควรจะเป็นจริงๆเสียที”
สถานการณ์ในคองโกร้ายแรงขนาดไหน?
การระบาดครั้งนี้ถือว่าร้ายแรงเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ เริ่มต้นเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2561 ใน 2 เมืองของคองโกคือ North Kivu และ Ituri มีผู้ติดเชื้อกว่า 2,500 คน และ 2 ใน 3 เสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์นี้ใช้เวลา 224 วัน ถึงมีผู้ติดเชื้อ 1,000 คน และใช้เวลาอีกเพียงแค่ 71 วัน จำนวนผู้ติดเชื้อได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 คน มีรายงานพบผู้ติดเชื้ออย่างน้อยวันละ 12 คน
มีวัคซีนหรือเปล่า?
มี
วัคซีนได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงที่เกิดการรระบาดครั้งใหญ่ครั้งก่อนจนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อถึง 99% และได้ถูกฉีดให้กับประชาชนในการระบาดครั้งนี้ราว 161,000 คน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับวัคซีน เพราะคนที่ได้วัคซีนคือคนที่ติดต่อหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อและผู้ที่เข้าข่ายว่ามีโอกาสเสี่ยงเท่านั้น
อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้การควบคุมโรค Ebola เป็นไปอย่างยากลำบากในแถบแอฟริกาคือปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ตั้งแต่เดือนมกราคม มีการโจมตีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพหรือศูนย์ควบคุม Ebola ถึง 198 ครั้ง ส่งผลให้มีคนเสียชีวิต 7 คน และบาดเจ็บอีก 58 คน
ซึ่งปัญหานี้มีความซับซ้อนมาก เกี่ยวพันทั้งเรื่องการเมือง การศึกษา ปัญหาความรุนแรงภายในประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้ประชาชนไม่เชื่อใจคนต่างชาติที่มาจากภายนอก ไม่มาพบเจ้าหน้าที่เมื่อมีการติดเชื้อ คนใกล้ชิดก็ปฏิเสธการรับวัคซีน ทำให้ไม่สามารถประเมินตัวเลขที่แท้จริงของจำนวนผู้ติดเชื้อ Ebola และไม่ทราบถึงบริเวณที่มีการระบาดอย่างแน่ชัด
WHO ยังกล่าวอีกว่าสถานการณ์การระบาดตอนนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะแพร่กระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างอูกานดาและอุรุกวัย ซึ่งที่ประเทศอูกานดาตอนนี้มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ Ebola แล้ว 2 คน
Original post /ข่าวจาก >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา