16 ส.ค. 2019 เวลา 05:15 • ปรัชญา
ตีจุดต้องช่วย
เมื่อเราจักรบ แม้ข้าศึกมีป้อมสูงคูลึก ก็จำต้องรบกับเรา เพราะโจมตีจุดที่ข้าศึกต้องช่วย เมื่อเราไม่รบแม้ป้องกันเพียงขีดเส้นเขต ข้าศึกก็มิอาจรบด้วย เพราะได้ถูกชักนำไปอื่น
ส่วนหนึ่งจากตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตีจุดต้องช่วย โจมตีหัวใจหรือจุดอ่อนของข้าศึก
หลักคิดนี้มีคุณค่าอย่างใหญ่หลวงต่อการเลือกเป้าหมายในการรบ เป็นการเปลี่ยนความอ่อนแอของตนให้เป็นความแข็งแกร่ง ดังคำกล่าวของซุนวูที่ว่า "ข้าศึกแม้จะมาก ก็อาจทำให้รบมิได้ เพราะถูกชักนำไปอื่น"
พื้นที่ซึ่งเรากำหนดเป็นสนามรบ และวันเวลารบ ไม่ควรให้รู้ เมื่อไม่รู้ข้าศึกก็ต้องเตรียมการมากด้าน เมื่อเตรียมการมากด้าน กำลังที่เรารบด้วยก็มีจำกัด
เตรียมหน้าหลังก็น้อย เตรียมหลังหน้าก็น้อย เตรียมซ้ายขวาก็น้อย เตรียมขวาซ้ายก็น้อย เตรียมทุกด้าน ทุกด้านก็น้อย
เรารวมเป็นหนึ่ง แต่ข้าศึกกระจายเป็นสิบ เอาสิบไปตีหนึ่ง เราก็มากข้าศึกก็น้อย
1
เมื่อเราเผยรูปลักษณ์ชัดแจ้งข้าศึกก็มิสงสัย เมื่อมิสงสัยก็จะเตรียมการ ฉะนั้น ข้าศึกเผยรูปลักษณ์ แต่เราไร้รูปลักษณ์ เราจึงรวมศูนย์ แต่ข้าศึกกระจาย
รูปลักษณ์การรบการรบดุจดั่งน้ำ รูปลักษณ์ของน้ำ เลี่ยงที่สูงลงที่ต่ำ เลี่ยงที่แข็งตีที่อ่อน น้ำไหลไปตามสภาพพื้นที่ การรบก็ชนะตามสภาพข้าศึก
รูปลักษณ์การรบไม่มีตายตัว เหมือนน้ำที่มีรูปร่างไม่แน่นอน หมุนเวียนเปลี่ยนผัน พลิกแพลงเป็นฝ่ายกระทำ บงการชะตากรรมของข้าศึก
ตัวอย่างสถานการณ์ก็เช่น กลยุทธ์ "ล้อมเว่ยช่วยจ้าว" และ "ล้อมเว่ยช่วยหาน" ที่ผมได้เคยกล่าวไปก่อนหน้านี้ครับ
ถ้าใครสนใจก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้นะครับ
ตีจุดต้องช่วย หรืออาจจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "โจมตีจุดอ่อนข้าศึก" หรือ "โจมตีจุดที่ข้าศึกไม่อาจหนุนช่วย" ก็ได้
สาระสำคัญของบทนี้สามารถสรุปได้สั้นๆคำเดียวว่า "Focus"
ในโลกธุรกิจ เงิน ทรัพยากรณ์ และเวลาก็ไม่ต่างจากกำลังทหารที่เรามีอยู่อย่างจำกัด เตรียมหน้าหลังก็น้อย เตรียมซ้ายขวาก็น้อย เตรียมทุกด้านทุกด้านก็น้อย
ถ้าเรามี Product เป็นร้อยตัวแต่เราไม่โฟกัส เราก็ต้องใช้เงินทุนและทรัพยากรจำนวนมหาศาล แทนที่จะดีก็ไม่มีอะไรดีซักอย่าง
Steve Jobs ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple Computer และพัฒนา Iphone ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
Steve Jobs ผู้ก่อต้้งบริษัท Apple Computer เคยพูดไว้ว่า
"สิ่งที่เราเลือกที่จะไม่ทำ สำคัญกว่าสิ่งที่เราเลือกที่จะทำ"
“ ผมรู้สึกภาคภูมิใจในหลายสิ่งที่เราไม่ได้ทำมากพอๆ กับสิ่งที่เราได้ทำลงไป นวัตรกรรมคือการปฎิเสธหลายพันสิ่ง (เพื่อทำสิ่งเดียวให้ดี) ”
งานบางงานสินค้าบางอย่างทำไปก็ไม่มีอนาคต คุณต้องเลือกกำจัดมันทิ้ง!! อย่าไปเสียดาย ถ้าคุณอยากทำจริงๆค่อยทำเป็นงานอดิเรก โฟกัสแต่สิ่งที่มันจะเกิดผลกระทบกับชีวิตคุณจริงๆ
หลักคิดก็คือ คุณต้องเลือกอยู่ในวงการหรืออุตสาหกรรมที่ใช่ เลือกอาชีพที่ใช่เลือกงานที่ใช่ แล้วค่อยเลือกสินค้าที่ใช่ ยกตัวอย่าง ถ้าคุณเลือกอยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ ในขณะที่ผู้คนหันมาใช้อินเตอร์เน็ต ก็มีโอกาสสูงที่คุณจะเจ๊ง!!
แต่ทั้งหมดทั้งมวลล้วนมีข้อยกเว้น อย่าลืมว่ารูปลักษณ์การรบเปรียบเหมือนน้ำ ยืดหยุ่นพลิกแพลง เปลี่ยนรูปร่าง ไหลไปตามสภาพทุกพื้นที่
ไม่มีอะไรถูกไม่มีอะไรผิด เพราะแต่ละคนมีทรัพยากรในมือและประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ตัวผมเองก็ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมที่ใช่ แต่ก็ทำเงินได้และดีที่สุดสำหรับผมในตอนนี้ แต่ละวันผมทำงานน้อยมากแต่ก็มีเงินเข้าตลอด
สิ่งสำคัญก็คือ คุณต้องเลือก "Focus" ในสิ่งที่คุณทำได้ดีและเกิด Impact หรือผลกระทบกับชีวิตคุณจริงๆ
ถ้าเพื่อนๆชอบก็กดไลค์ กดติดตามไว้นะครับจะได้ไม่พลาด
หรือถ้าใครอยากขอบคุณหรือให้กำลังใจก็ช่วยกดถูกใจเพจให้ด้วยครับ
โฆษณา