5 ส.ค. 2019 เวลา 10:04 • ประวัติศาสตร์
สกัดจุด "แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" เมื่อมาถึงเมือง "ต้าลี่ (Dali)" มณฑลยูนนานของจีน
ดรรชนีกระบี่หกชีพจร, ท่าท้าวท่องคลื่น และลมปราณภูติอุดร ล้วนเป็นยอดวิชาที่ "ต้วนอี้" เจ้าชายน้อยแห่ง "ต้าลี่" ได้มีโกาสฝึกฝนจนเป็นยอดฝีมือ
"ต้วนอี้" ลูกชายของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรต้าลี่ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวละครเอกสามคนของนิยายกำลังภายในของกิมย้งที่ชื่อ "แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" เรื่องราวนี้แวบเข้ามาในหัวผมทันทีเมื่อรถไฟถึงชานชาลาเมือง "ต้าลี่ (Dali)" หลังจากที่ผมอยู่เมืองเมืองลี่เจียง (Lijiang) มา 3 วัน
ประตูเมืองต้าลี่
"แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" หรือภาษาจีนกลางเรียกว่า "Tian Long Ba Bu" นั้นเป็นนิยายกำลังภายในหรือ บู๊ลิ้มที่ผมชอบที่สุดเรื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้
เรื่องราวของแปดเทพฯจะเป็นเรื่องแต่ง แต่เนื้อเรื่องจะอยู่ในช่วงเวลาที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับเรื่องมังกรหยกซึ่งเป็นผู้แต่งคนเดียวกันคือกิมย้ง
5
เรื่องราวของแปดเทพอสูรฯจะเล่าถึงการเมืองและสังคมในประวัติศาสตร์ที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนมังกรหยกประมาณสักร้อยกว่าปีน่าจะได้เพราะในเรื่องราวจะกล่าวถึงอาณาจักรที่น่าจะอยู่ในช่วงยุคของราชวงศ์ซ่งเหนือของจีน ส่วนในเรื่องมังกรหยกน่าเป็นช่วงที่ราชวงศ์ซ่งใกล้ล่มสลายแล้วและจีนกำลังจะถูกมองโกลยึดครองในที่สุด
"อาณาจักรต้าลี่" ก็เป็นอาณาจักรหนึ่งซึ่งมีบทบาทในการสมดุลอำนาจกับราชวงศ์ซ่งเหนือของอาณาจักรชาวจีนฮั่นในช่วงเวลานั้น
3
หลังจากราชวงศ์ถังที่ยิ่งใหญ่ของชาวจีนฮั่นล่มสลายในปี 907 แผ่นดินก็แตกแยกเป็น 10 แคว้น, 5 ราชวงศ์และสู้รบกันเป็นเวลาหลายปี ในเวลาต่อมาราชวงศ์ซ่งเหนือก็ตั้งขึ้นในปี 960 โดยมีเมืองหลวงคือเปี่ยนจิง (Bianjing) หรือไคเฟิงนั่นเอง และในช่วงเวลาเดียวกันก็มีอาณาจักรอื่นอีกอย่างน้อย 5 อาณาจักรที่อยู่รายล้อมอาณาจักรจีนฮั่นและไม่ใช่ชาวจีนฮั่นก็เข้ามามีบทบาทสมดุลอำนาจกับชาวจีนฮั่นในดินแดนแถบนี้ในยุคนั้นด้วย
ดังนั้นประวัติศาสตร์ช่วงนี่ของจีนจึงค่อนข้างน่าสนใจเป็นอย่างมากช่วงหนึ่งเลยทีเดียวเนื่องจากมีความซับซ้อนและชิงไหวชิงพริบทั้งจากการเมืองภายในและภายนอก นอกจากนี้ในภายหลังเรื่องราวของช่วงราชวงศ์นี้ก็มีงานเขียนมากมามายที่แต่งขึ้นเพื่อปลุกใจกระเเสรักชาติและคุณธรรม ตัวอย่างเช่นเปาบุ้นจิ้นและตำนานขุนศึกตระกูลหยางก็เป็นเรื่องราวที่เขียนขึ้นในช่วงราชวงศ์ซ่งเหนือเช่นกัน
ภาพจาก wikipedia
อาณาจักรที่เข้ามามีบทบาทคู่กับอาณาจักรจีนก็เช่นอาณาจักรต้าเหลียว (Liao) ของชาวคีตัน (Khitan) ซึ่งชาวคีตันนี้เองเป็นชาวพื้นเมืองเเถวไซบีเรียตอนใต้แต่นักประวัติศาสตร์ไม่แน่ใจประวัติที่มาของว่าชาวคีตัน แต่คาดว่าชนกลุ่มนี้น่าจะใช้ภาษากลุ่มภาษาเกาหลีมากกว่ามองโกล
ในยุคนี้อาณาจักรเหลียวของคีตันนั้นยิ่งใหญ่มากเลยทีเดียวและมีเมืองหลวงชื่อซางจิง (Shanjing) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในมณฑลมองโกเลียในของจีน อาณาจักรเหลียวก็มีทั้งการค้าขายและรบพุ่งกับอาณาจักรจีนซ่งเป็นเวลามากกว่าร้อยปี จนกระทั่งถูกผนึกรวมกับอาณาจักรกิม หรือ จิน (Jin) ในเวลาต่อมา
ภาพผู้คนและวัดแบบคีตัน จาก wikipedia
อาณาจักรต่อมาคือซีเซียะ (Xixia) หรืออาณาจักร Tangut ซึ่งคาดว่าชาว Tangut น่าจะเป็นกลุ่มคนพูดภาษาทิเบตกลุ่มหนึ่งและประชาชนในอาณาจักรคาดว่าน่ามีกลุ่มชาติพันธุ์อุยเกอร์ (Uyghur) ปะปนอยู่มากมาย และมีเมืองหลวงอยู่ที่เมือง Xingqing ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลหนิงเซี่ย (Ningxia) ของจีน
สุสานของกษัตร์ย์ซีเซียะในมองโกเลียใน และภาพวาดศาสนาพุทธของซีเซียะ
ต่อมาคืออาณาจักรถู่ฟาน ( Tufan) หรือทิเบตซึ่งประชากรคือชาวทิเบตและเมืองหลวงอยู่ที่ลาซาดังเช่นปัจจุบัน แต่ทิเบตในช่วงนี้เป็นช่วงที่อาณาจักรเริ่มอ่อนแอลงมากหลังจากเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และแข็งแกร่งมากในช่วงศตวรรษที่7-9 เนื่องมาจากสงครามกลางเมืองในทิเบตเองด้วยเอง
ลาซา
เทือกเขาต่อเชื่อมกับทิเบต
อาณาจักรที่สี่คือไตเวียตซึ่งเป็นช่วงของ Ly Dynasty และ มีทางลอง (Thang Long) หรือ ฮานอย (Hanoi) ในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงและประชากรก็คือชาวเวียดนามนั่นเอง
ฮานอย
อาณาจักรที่ห้าก็คือต้าลี่ ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เข้ามามีอำนาจเหนืออาณาจักรน่านเจ้าเดิมในปี 937 โดยตระกูลต้วนที่อพยพมาจากกานซู (Gansu) เป็นตระกูลที่เข้ายึดน่านเจ้าและเปลี่ยนอาณาจักรเป็นต้าลี่ โดยประชากรของต้าลี่ส่วนใหญ่ยังเป็นชาวไป๋ (Bai) ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มคนพูดภาษาพม่า-ทิเบต (Tibeto-Burman langauge)
วัดในต้าลี่และภูเขา
อาณาจักรน่านเจ้าตั้งขึ้นในช่วง คศ 738 ซึ่งก็คาดว่าเป็นอาณาจักของชาวไป๋ (Bai) เช่นกัน ซึ่งเเต่ก่อนเคยมีนักประวัติศาสตร์คาดว่าอาจเป็นอาณาจักรของกลุ่มคนพูดภาษาไทแต่ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่คิดว่าไม่น่าใช่แล้ว
1
แต่นักประวัติศาสตร์ก็มีหลักฐานเช่นกันว่าในช่วงนี้ก็รัฐเล็กๆ (City State) ที่เป็นกลุ่มคนพูดภาษาไทยเกิดขึ้นเเล้วเช่นกันเช่น รัฐหิรัญเงินยางเชียงเเสนของชาวไทยยวนซึ่งเป็นต้นกำเนิดอาณาจักรล้านนาในเวลาต่อมาและรัฐหอคำเชียงรุ่งของชาวไทลือ โดยมีการค้าขายติดต่อกับทั้งอาณาจักรตาลี่, อาณาจักรพุกาม และอาณาจักรเขมร
ต้วนอี้ในเรื่องเเปดเทพฯเป็นลูกของต้วนเจิ้นฉุน (Duan Zhengchun) ซึ่งต้วนเจิ้นฉุนเป็นชื่อของกษัตริย์ต้าลี่ทีมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ซึ่งปกครองต้าลี่ในช่วง 1096-1108 และตัวต้วนอี้ (Duan Yu) เองก็เป็นกษัตริย์องค์ต่อมาและมีชื่อในประวัติศาสตร์จริงเช่นกัน
แต่ต้วนอี้ในแปดเทพฯ นั้นยังได้เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับอีกสองตัวเอกคือเฉียวฟง (Qiao Feng) และ ซีจุ๊ (Huk Juk)
1
เฉียวฟงเป็นหัวหน้าพรรคกระยาจกที่มีวิชาล้ำเลิศอย่างฝ่ามือสยบมังกรและวิชาไม้ตีสุนัข ส่วนซีจุ๊เป็นหลวงจีนน้อยที่ได้รับพลังลมปราณเก่าแก่และมีวิชาของพรรคสราญรมณ์ที่ล้ำลึก
ต้วนอี้, เฉียวฟง และซีจุ๊ ตามลำดับ ภาพจาก Kangfu House Heroes database และภาพแอดทีาฝึกวิชาล้ำลึกเช่นกัน
เรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้าน่าจะเป็นนิยายกำลังภายในที่กิมย้งเอาปรัชญาของพุทธนิกายมหายานมาเป็นเครื่องมือเล่าเรื่องนิสัยตัวละคร โดยแปดเทพอสูรจริงๆแล้วหมายถึงอมนุษย์ 8 พวก ในนิกายมหายานซึ่งคือเทพ, อสูร, มังกร(นาคา), ครุฑ, ยักษ์, คนธรรพ์, กินนร และมโหราค และเป็นการเปรียบเปรยถึงนิสัยมนุษย์แปดประเภทนั่นเอง
1
ในพุทธมหายานคนทั้งแปดประเภทถ้าเข้าใจหลักธรรมของพุทธะก็จะหลุดพ้นจากทุกข์และบรรลุธรรมได้อยู่ดีไม่มีการแบ่งแยกครับ
ในเรื่องนี้ผมเดาว่าตัวละครแต่ละตัวก็ถูกแต่งขึ้นให้มีนิสัยตามประเภทของอมนุษย์ครับ ดังตัวอย่างเช่นเฉียวฟงซึ่งเป็นจอมยุทธทั้งเก่งทั้งยิ่งใหญ่จนได้ฉายาในยุทธภพว่า "เฉียวฟงเหนือ มู่หยงใต้"
และยังเป็นผู้นำยุทธภพดังนั้นเฉียวฟงจึงเป็นดั่งพญาครุฑ หนึ่งในแปดประเภทของอมนุษย์ของพุทธมหายานแต่สุดท้ายชีวิตก็สุดรันทดโดยพลั้งมือฆ่าคนรักตัวเอง(ชื่ออาจู)ตาย, ชาติกำเนิดเป็นคีตันที่ชาวฮั่นรังเกียจและยุทธภพไม่ยอมรับและถูกใส่ร้ายต่างๆนานา และเฉียวฟงก็ไม่สามารถรับสิ่งอัปยศเหล่านี้ได้และก็ปล่อยวางไม่ได้และสุดท้ายก็ฆ่าตัวตาย..และจบชีวิตจอมยุทธผู้ไม่เคยพ่ายอย่างน่าเสียดาย
นิยายเรื่องนี้มีฉากต่อสู้มันหยดติ๋ง, เนื้อหาพลิกแพลงยากแก่การเดา และมีดราม่าน้ำตาไหลพราก.... ไปหาอ่านนะครับ
กลับมาที่ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ซ่งซึ่งก็มีการรบพุ่งชิงไหวชิงพริบกันระหว่างอาณาจักรจีนซ่ง, ต้าลี่, ซีเซียะ และเหลียวเช่นกัน แต่สุดท้ายในอีกประมาณ 200 ปีถัดมาไม่ว่าจะเป็นต้าลี่, ซีเซียะ, เหลียว(กลายเป็นของกิมไปเเล้ว), ทิเบต และจีนซ่ง ก็ตกอยู่ภายใต้มองโกลทั้งหมด นอกจากนั้นมองโกลยังทำให้อาณาจักรทางใต้อย่างอาณาจักรพุกาม, เขมร และไตเวียดอ่อนแอลงเป็นอันมากเนื่องจากต่อสู้และรบกับมองโกลเช่นกัน อย่างไรก็ตามผลพวงของสงครามครั้งนี้ก็เป็นผลดีกับชนกลุ่มพูดภาษาไทเพราะหลังสงครามก็ทำให้อาณาจักรใหม่ของชาวไทได้แข็งแกร่งขึ้นอย่างเช่นสุโขทัยและล้านนาและเข้ามามีอำนาจเเทนที่อาณาจักรเขมรและพุกามเดิมในที่สุด
1
ภาพจาก China Highlight
สุดท้ายนี้การมาเดินเล่นที่ต้าลี่และลี่เจียงมันช่างเป็นอะไรที่ดีงามบ้านเมืองทิวทัศน์สวยงามมากครับ และการได้นึกถึงประวัติศาสตร์และนิยายอย่างแปดเทพอสูรมังกรฟ้ายิ่งทำให้มีความสุขเลยครับ
เรื่องเล่าจากต้าลี่และลี่เจียง
โดยจอมยุทธ#wornstory
ฝากกดไลค์ ให้จอมยุทธพเนจรด้วยนะครับ
โฆษณา