10 ส.ค. 2019 เวลา 14:49 • การศึกษา
ซื้อรถแต่ยังจ่ายไม่ครบ ถ้าเจ้าของมาเอารถไป จะถือเป็นการลักทรัพย์มั้ย BYLAWYERDIRECT 🦁🦁
ก่อนจะหาคำตอบจากคำถามข้างต้น เพื่อนๆต้องทราบก่อนนะครับว่า ความผิดฐานลักทรัพย์คืออะไรซึ่งผมได้เคยเขียนไว้แล้ว จากนั้นต้องไปทำความรู้จักกับสัญญาซื้อขายด้วย ซึ่งสัญญาซื้อขายแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆคือ
1) สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
 
2) สัญญาจะซื้อจะขาย
##จะพูดถึงแต่สัญญาแบบที่1 เท่านั้น##
นี่คือลิ้งสำหรับลักทรัพย์: https://www.blockdit.com/articles/5d280dcba3b430100aaae033
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็กขาดคือ สัญญาที่คู่กรณีได้ตกลงกันซื้อขายอันเสร็จเด็ดขาดเป็นที่เรียบร้อย ไม่มีเจตนาไปทำอะไรกันอีกในอนาคต ในกรณีนี้จะพูดถึงแค่สังหาริมทรัพย์ เช่นตกลงซื้อขายรถกันราคา300000บาท ชำระแล้ว200000 อีก100000 จะชำระในวันที่ ... ก็ว่ากันไป
หลักการสำคัญเรื่องนี้คือ
เมื่อมีการตกลงซื้อ-ขายกัน สัญญาซื้อขายเกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ก็โอนทันทีแม้ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน หรือ การชำระราคา นั่นหมายความว่า แค่เราตกลงซื้อ-ขายรถกันผู้ซื้อก็จะกลายเป็นเจ้าของรถในทันทีทันใด แม้จะยังไม่มีการจ่ายเงินหรือส่งมอบก็ตาม
ส่วนเรื่องส่งมอบและเรื่องชำระราคานั้นเป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องว่ากล่าวกันต่อไป โดยที่ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระราคาค่ารถ ส่วนผู้ขายก็มีหน้าที่ส่งมอบ และถ้าหากมีความสูญหายหรือเสียหายเกิดขึ้นแก่รถ ผู้ขายก็สามารถปฏิเสธความรับผิดได้
**แต่ข้อความข้างต้นจะนำไปใช้กับการซื้อ-ขายรถที่มีเงื่อนไขไม่ได้ ทั้งนี้ก็ซื้อ-ขายรถที่มีเงื่อนไขนั้น กรรมสิทธิ์ในรถจะไม่ตกเป็นของผู้ซื้อในทันทีทันใด เช่นกรณีที่เช่าซื้อรถ กรณีนี้กรรมสิทธิ์ในรถจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อเมื่อชำระราคาเสร็จสิ้น**
ทีนี้ก็ทำให้เพื่อนๆรู้แล้วใช่มั้ยครับว่า แม้จะยังชำระค่ารถไม่ครบถ้วนแต่เมื่อเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถคันดังกล่าวก็โอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่วินาทีที่ตกลงซื้อ-ขายกันแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ขายเอารถไปหรือขับรถออกไปก็เป็นการลักทรัพย์นั่นเอง .......
เรื่องนี้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2553
ซึ่งเสือโคร่งได้ซื้อรถยนต์จากสิงโตในราคา 300,000 บาท สิงโตรับชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนี้สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนให้แก่เสือโคร่งตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 และ 458 แม้จะได้ความว่าเสือโคร่งยังค้างชำระค่ารถยนต์อยู่ก็ตาม หากเสือโคร่งเพิกเฉยไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าผิดสัญญา สิงโตชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อขอให้เสือโคร่งชำระหนี้ให้ครบถ้วน แต่สิงโตไม่มีสิทธิที่จะติดตามเอารถยนต์คันที่ขายไปนั้นคืนมาโดยพลการไม่ได้
สรุป
- สรุปก็คือ ถ้าผู้ขายเอารถกลับไปแม้ผู้ซื้อจะยังจ่ายเงินไม่ครบ ผู้ขายก็มีความผิดฐานลักทรัพย์
 
-ที่สำคัญต้องพิจารณาก่อนนะครับว่า สัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือไม่
ขอบคุณภาพสวยๆจากArist
-ขออภัยหากไม่จิงโจ้ 🙏🏻🙏🏻
 
-ขอบคุณหากจิงโจ้🙏🏻🙏🏻
หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ ฝากกดไลค์ กดถูกใจ กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻
เบื้องลึกเบื้องหลัง ✌🏻✌🏻
โฆษณา