12 ส.ค. 2019 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) ตัวแทนของสันติภาพและอิสรภาพ ตอนที่ 9
การสังหารหมู่
ภายหลังจากมีการออกกฎหมายโรวแลตต์ คานธีก็ได้จัดชุมนุมประท้วง หยุดงานในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462)
เรื่องนี้ได้โด่งดังไปทั่ว ลงหนังสือพิมพ์ทั่วอินเดีย ชาวอินเดียจะไม่ไปทำงาน ร้านค้า รถไฟ ก็หยุดทำงาน
ชาวอินเดียหลายคนรวมตัวกันเพื่อถือศีลอดและสวดมนต์
แต่ในบางเมือง การประท้วงก็ไม่ได้ผลดีนัก ชาวอินเดียบางพวกได้เผาตึก ก่อจราจล และมีชาวอังกฤษเสียชีวิตด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเมืองที่ชุมนุมโดยสันติหรือรุนแรง แต่ตำรวจก็ไม่ได้มีเมตตา ตำรวจจะใช้วิธีการรุนแรงกับชาวอินเดีย
ภายหลังการประท้วง อังกฤษก็เกรงว่าจะมีการชุมนุมอีก วันที่ 12 เมษายน ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462) นายพล “เรจินัลด์ ไดย์เออร์ (Reginald Dyer)” แม่ทัพอังกฤษในเมืองอัมริตสา ได้ประกาศห้ามชาวอินเดียชุมนุม
“เรจินัลด์ ไดย์เออร์ (Reginald Dyer)”
วันต่อมา วันที่ 13 เมษายน ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462) เป็นวันหยุดวันปีใหม่ของชาวอินเดีย มีชาวอินเดียกว่า 10,000 คนมารวมตัวกันกลางเมืองเพื่อเฉลิมฉลอง
บริเวณจัตุรัสที่ทำการฉลองนั้นมีทางออกเพียงทางเดียว ล้อมรอบด้วยตึก คนกลุ่มนี้ยังไม่ทราบเรื่องการสั่งห้ามชุมนุม พวกเขาจึงออกมาฉลองกันอย่างสันติ
นายพลไดเออร์นำทหารมาจำนวน 90 นาย พร้อมรถหุ้มเกราะอีกสองคัน ปิดประตูทางออกและสั่งให้ทหารยิงปืนใส่ชาวอินเดียที่มาชุมนุม
ผู้คนตื่นตกใจและพยายามหนี แต่ทหารอังกฤษปิดทางออกไว้หมด ทหารอังกฤษยิงปืนใส่ชาวอินเดียเป็นเวลา 10 นาที
รายงานของอังกฤษได้รายงานว่ามีชาวอินเดียที่ตาย 379 คน บาดเจ็บ 1,137 คน
นายพลไดเออร์ต้องการจะสั่งสอนชาวอินเดียว่ารัฐบาลเป็นผู้สร้างกฎหมาย ทุกคนต้องทำตาม
คานธีรู้สึกจิตตกอย่างมาก ชาวอินเดียจำนวนมากต้องตายจากเหตุการณ์นี้ ต่อไปคานธีจะไม่จงรักภักดีต่ออังกฤษอีกต่อไป ถึงเวลาต้องตอบโต้แล้ว
คานธีจะทำอย่างไรต่อไป ติดตามต่อในตอนหน้านะครับ
โฆษณา