16 ส.ค. 2019 เวลา 11:18 • การศึกษา
4 ขั้นตอนง่ายๆในชีวิตประจำวัน
ที่จะทำให้คุณเก่งขึ้นแบบ”ก้าวกระโดด”
www.bachelorstudies.com
1.ช่างสังเกต
Cr Linda Yuson
ทุกวันเดินออกจากบ้านไปขึ้นรถ คุณเคยดูไหมว่าเดินผ่านอะไรบ้าง
.
วันนี้ทำไมนมมีรสเปรี้ยวแปลกๆ หมดอายุรึยัง
.
เดินๆอยู่ข้างนอกได้ยินเสียงอะไรแปลกๆบ้างไหม มีอันตรายอะไรเกิดขึ้น
.
ได้กลิ่นควันไฟ เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ไหนรึป่าว
.
แม้กระทั่งจับมือแฟนแล้วทำไมรู้สึกไม่อบอุ่นเหมือนเคย!
การสังเกตนั้นเป็นการทำงานของประสาทสัมผัสของเราทั้งหลายนั่นเอง
แล้วคุณได้สังเกตสิ่งรอบตัวคุณหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม ผู้คน สถานการณ์
ถ้ายัง คุณควรเริ่มเลย เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้คุณเก่งขึ้นได้ จากขั้นตอนถัดๆไป
2. ช่างสงสัย
Cr. Pixabay
หลังจากการสังเกต หลายครั้งเราก็อาจจะรู้สึกว่า ไม่มีอะไรมั้ง หรือช่างมัน เราไม่สนใจ
ทุกคนคงมีสิ่งที่สนใจที่อยากหาคำตอบต่างกัน แต่บางคนอาจไม่เคยสงสัยหรือตั้งคำถามใดๆกับตัวเอง
.
เช่น คุณอาจสังเกตฉลากเครื่องดื่ม แล้วพบว่าน้ำผลไม้บางยี่ห้อ มีน้ำตาลสูงกว่าน้ำอัดลมเสียอีก คุณก็อาจจะสงสัยต่อได้ว่า แล้วอะไรมีน้ำตาลอยู่เท่าไร ถ้าคุณไปหาคำตอบต่อในขั้นตอนต่อไป อาจจะพบว่าหลายอย่างไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดหรือขัดกับความเชื่อเดิม ที่เราทึกทักไปเอง
เราเองอาจไม่ได้จำเป็นต้องสงสัยทุกเรื่อง
และบางอย่างอาจไม่ได้มีคำอธิบายที่เป็นเหตุผล
แต่การช่างสงสัยเนี่ยแหละ ที่ทำให้เราเก่งขึ้นไปอีกขั้น และพร้อมที่จะไปยังขั้นตอนถัดไป!
3. ช่างค้นคว้า
แน่หละว่า ถ้าเราเจออะไรที่สงสัย เราก็อาจจะอยากหาคำตอบ..
แต่อาจไม่ใช่กับทุกคน บางคนมาถึงสเตปนี้ก็จะขี้เกียจค้นคว้าหาคำตอบ ก็จะปล่อยความสงสัยนั้น ผ่านไป
ซึ่งเราก็จะพลาดโอกาสที่จะได้ความรู้ใหม่ๆในเรื่องนั้นๆ
การหาคำตอบนั้นมีหลายวิธี
แต่แนะนำให้ลองค้นคว้าด้วยตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นถามอากู๋ (google) แต่อย่าลืมเรื่องความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล หาหนังสืออ่าน
การค้นคว้าด้วยตัวเองจะทำให้เรารู้กระบวนการในการศึกษาได้ดีขึ้น เพราะอย่าลืมว่า เราไม่มีผู้เชี่ยวชาญให้ถามได้ทุกเรื่อง
แต่ถ้าเรื่องไหนมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ให้เราสอบถามได้ ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดีเช่นกัน
4. ช่างวิเคราะห์
www.psychology.org.au
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้คุณเก่งขึ้นไปอีกระดับ
หลังจากที่เราได้คำตอบของเรื่องที่เราสนใจ ที่เกิดจากการสังเกต การสงสัย การค้นคว้ามา เราก็ควรจะฝึกวิเคราะห์ในหลายแง่มุม เช่น เราไปประยุกต์ใช้ความรู้นี้ได้กับอะไรบ้าง หรือสิ่งนี้มันจะเกิดผลกระทบอะไรกับตัวเรา หรือหน้าที่การงาน
การฝึกวิเคราะห์นั้นมีประโยชน์ต่อทั้งสมองซีกขวาและซ้าย (เราต้องใช้ทั้งการคำนวณ ความจำใช้ภาพ หรืออารมณ์มาร่วม) นอกจากเราจะได้ฝึกประมวลผลข้อมูล ทำให้รู้เรื่องนั้นได้ดีขึ้นแล้ว บางครั้งก็ทำให้เราเกิดไอเดียใหม่ๆที่เกี่ยวข้องขึ้นได้อีกมากมาย และนำไปสู่การหาคำตอบในเรื่องอื่นๆอีก เป็นทอดๆไป
ตัวอย่างเช่น
เราเดินไปขึ้นรถไฟฟ้า สังเกตเห็นที่ว่างๆบนสถานี ก็อาจจะเริ่มสงสัยว่า เราจะเอาอะไรมาขายได้ไหม คนแถวนี้น่าจะชอบกินอะไรกัน เราก็ต้องค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ว่าค่าเช่าที่เท่าไร ซื้อแฟรนไชส์นี้มาลง มีต้นทุนเท่าไร จากนั้นก็เอามาวิเคราะห์ว่าเราจะขายได้จริงไหม จะคุ้มทุนรึป่าว และอาจจะต่อยอดไปหาข้อมูลของอื่นๆที่อาจเอามาขายได้ เป็นต้น
ซึ่งถึงแม้ว่าสุดท้ายเราวิเคราะห์แล้ว ดูจะไม่คุ้ม ไม่ได้เอามาขาย แต่เราไม่ได้เสียเวลาฟรีแน่นอน เราได้ความรู้ ได้แนวคิดอะไรไปเยอะแล้ว จากกระบวนการเรียนรู้นั่นเอง
อย่าลืมใช้ 4 ขั้นตอนง่ายๆ
“สังเกต-สงสัย-ค้นคว้า-วิเคราะห์” ในทุกๆวัน แล้วคุณจะเป็นคนที่เก่งขึ้นเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว
ใครที่ชอบฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กันนะครับ ใครมีเทคนิคดีๆก็คอมเมนท์แบ่งปันเพื่อนๆได้
เรียนสนุก ได้ความรู้ อย่าลืม”เรียนแบบหมอ”
โฆษณา