17 ส.ค. 2019 เวลา 14:29 • สุขภาพ
4️⃣2️⃣ "ต้นงิ้ว" ถ้าพูดคำนี้ออกมา ‼️
🔥คนคงจะนึกถึง "นรก" เป็นแน่ ‼️
🔥ในความคิดของคนส่วนใหญ่ ‼️
🔥แต่แท้จริงแล้ว #ต้นงิ้ว มีอยู่จริง ‼️
🔥และยังมีหลากหลายสายพันธุ์อีกด้วย ‼️
ต้นงิ้วแดง อย่าเผลอไปปีนเข้าล่ะ 🤣
🌞 วันนี้ผมจะมาพูดถึงประโยชน์ของ #ต้นงิ้ว
🌞 สายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งก็คือ #งิ้วแดง
🌿 ชื่อ : งิ้วแดง (ลักษณะของลำต้นและผล คล้ายกับต้นนุ่น ดังที่เคยกล่าวมาในบทความก่อนหน้านี้ )
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่นอื่น : งิ้วบ้าน (ทั่วไป), งิ้วแดง (กาญจนบุรี), งิ้วปง งิ้วปกแดง สะเน้มระกา (ชอง-จันทบุรี), งิ้วป่า, งิ้วปงแดง, งิ้วหนาม, นุ่นนาง, ตอเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปั้งพัวะ (ม้ง), บักมี้ (จีน)
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bombax ceiba L.
🌿 ชื่อวงศ์ : MALVACEAE (วงศ์ชบา) และอยู่ในวงศ์ย่อย BOMBACOIDEAE
🌿 ชื่อสามัญ : Cotton tree, Kapok tree, Red cotton tree, Silk cotton, Shving brush
🔴 ชนิดของ #ต้นงิ้ว หรือ #งิ้วป่า นั้นจัดเป็นพืชในสกุล Bombax ในประเทศมีรายงานว่ามีอยู่ด้วยกันถึง 3 ชนิด ด้วยกัน คือ
1. #งิ้ว (กล่าวในบทความนี้ ตามด้านล่าง)
2. #งิ้วป่าดอกแดง
3. #งิ้วป่า (งิ้วป่าดอกขาว) และ #ง้าว (ชนิดที่ 3 นี่แยกย่อยออกเป็น 2 ประเภท)
✅ต้น : จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงถึง 25 เมตร เป็นส่วนใหญ่ และความกว้างของทรงพุ่มกว้างมาก ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ ตามเชิงเขาและไหล่เขา ซึ่งในปัจจุบันต้นงิ้วจะหาดูได้ยากมาก จะมีปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคเหนือไม่กี่ที่เท่านั้น
✅ใบ : ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบ ใบสีเขียวไม่มีขน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ก้านช่อใบยาว โคนก้านบวมเล็กน้อย
✅ดอก : ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ่งหรือตามปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่สีชมพูแกมเลือดหมู สีแดง สีแสด และมีที่เป็นสีทองแต่หาได้ยาก ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ออกดอกเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยแข็งๆ หรือเป็นกลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกออกเป็นกลีบขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ส่วนกลีบดอกมีขนาดใหญ่และหนา กลีบเป็นรูปขอบขนาน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 10 ซ.ม. ปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วนกลับมาทางขั้วของดอก หลุดร่วงได้ง่าย
✅ผลและฝัก : ผลงิ้ว หรือ ฝักงิ้ว ผลมีลักษณะยาวรีคล้ายฝักรูปทรงกระบอก ที่ปลายทั้งสองข้างของผลจะแหลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล เปลือกของผลแข็ง และเมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกตามรอยประสาน ในผลมีเส้นหรือปุยสีขาวและมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมสีดำ และถูกห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาวๆ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกล (เหมือนฝักต้นนุ่น ที่เคยกล่าวมาในบทความก่อนหน้านี้)
ดอดสวยงาม และมีประโยชน์มาก 👍🏻
🌱 สรรพคุณ 🌱
👉 ใบ : รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมในคออักเสบ แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ
👉 ดอก : ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาแก้พิษไข้ได้ดีมาก ต้มเป็นน้ำชาดื่มได้ ช่วยระงับประสาท แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด แก้ตัวพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการตกเลือด แก้น้ำร้อนลวก แก้ปวด แก้คัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้นอนหลับ
🔴 เพิ่มเติม : ดอกนั้นมีรสหวานเย็น ต้มดื่มแก้ร้อนในกระหายน้ำ เราจะพบ ผสมอยู่ในชุดน้ำจับเลี้ยง
👉 ผล : แก้อาการท้องเสีย แก้ตัวพยาธิ แก้อาการตกเลือด ผลอ่อนใช้บำบัดรักษาแผลเรื้อรังในไต
👉 หนาม : แก้ไข้ ลดความร้อน ดับพิษร้อน แก้ไข้กาฬ
👉 เปลือกต้น : บำรุงระบบการไหลเวียนเลือด รักษาโรคความดันสูง ทำเป็นยาอาเจียน รักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องเดิน แก้บิด แก้ตัวพยาธิ แก้อาการตกเลือด แก้ไตพิการหรืออักเสบ
👉 ยาง : บำรุงโลหิต แก้บิด แก้ระดูตกหนักหรือออกมากเกินไป ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
👉 ราก : บำรุงกำลัง ทำเป็นยาอาเจียน รักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง แก้อาการท้องเสีย แก้ตัวพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการตกเลือด ช่วยห้ามเลือด รากของต้นอ่อนใช้พอกสมานแผล
👉 เมล็ด : แก้โรคมะเร็ง(บรรเทา) รักษาโรคหนองในเรื้อรัง
🔴 จริงๆ แล้วนั้น สรรคุณแต่ละส่วนนั้นมีเยอะกว่านี้มากมายเหนือคณานับ ที่กล่าวมานั้นแค่บางส่วน แต่ถ้าท่านใดสนใจ สามารถสอบถามเข้ามา หรือค้นหาได้ในเว็บทั่วไปได้เลยครับผม
🧪 ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของงิ้วแดง มีฤทธิ์ในการต้านไทอะมีน และช่วยยับยั้งเอดส์
➕ประโยชน์ด้านอื่น➕
➖ เกสรตัวผู้จากดอกนำไปตากแห้ง ใช้โรยในขนมจีนน้ำเงี้ยวรับประทานได้ หรือจะใช้ปรุงเป็นแกงแคทางภาคเหนือก็อร่อยเช่นกัน อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก โดยมีธาตุแคลเซียมสูงมาก ซึ่งสูงกว่านมด้วยซ้ำ และยังสามารถนำมาใช้แต่งสีของแกงส้มหรือแกงกะหรี่เพื่อช่วยเพิ่มสีสันให้น่ารับประทานมากขึ้นได้อีกด้วย
➖ ดอกสดใช้ลวกจิ้มรับประทานกับน้ำพริกและแกงส้ม และดอกใช้ผสมกับข้าวโพดทำเป็นขนมแผ่นรับประทานได้
➖ ใบและยอดอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
➖ รากอ่อนสามารถใช้เป็นอาหารเมื่อยามขาดแคลน
➖ ใช้ปลูกไม้ประดับในสนามกว้างๆ ทั่วไป ต้นงิ้วมีรูปทรงของลำต้นที่สวยงาม สูงเด่นดูสง่า เรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี สามารถเพาะปลูกได้ง่าย เป็นไม้ผลัดใบทั้งต้นให้ดอกสีแดงหรือสีเหลืองทั้งต้น ดอกมีขนาดใหญ่ สีสันสดใสสวยงาม
➖ ต้นงิ้วเป็นไม้เนื้ออ่อน สีขาวหรือเหลืองอ่อน เสี้ยนหยาบ ไม่ทนทานมากนัก ผุและเปื่อยได้ง่าย นิยมนำมาใช้ทำหีบและลังสำหรับใส่ของ ใช้ทำไม้อัด ไม้จิ้มฟัน ก้านไม้ขีด กล่องไม้ขีด ทำของเล่นเด็ก ใช้ทำเยื่อกระดาษก็ได้ ส่วนชาวกระเหรี่ยงแดงจะใช้เนื้อไม้สำหรับสร้างบ้าน หรือนำมาแปรรูปทำไม้แบบหรือไม้ต่อโลงศพ ปราสาทเผาศพ
➖ เปลือกต้นให้เส้นใย สามารถนำมาใช้ทำเชือกได้ โดยจะมีความเหนียวมากแต่จะแข็งและหยาบ จึงเหมาะที่จะใช้มัดของใหญ่ ๆ
➖ ปุยนุ่นของฝักหรือผลแก่สามารถนำมาใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ด้วยการนำมาใช้ยัดเบาะ ฟูก หมอน ฯลฯ
➖ ใช้ทำชนวนตู้เย็น เข้าใจว่าคือเส้นใยหรือยุ่ยจากฝัก
➖ น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ปรุงอาหาร ใช้ทำสบู่ได้
➖ ชาวเหนือและชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะนำเปลือกงิ้วแดงมาทำสี โดยจะให้สีน้ำเงิน ใช้สำหรับย้อมสีจำพวกผ้าฝ้ายได้
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูลบางส่วน : Wikipedia
• ข้อมูลบางส่วน : medthai
• รูปภาพบางส่วน : Flickr
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว ~ นายอู๋ 🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา