18 ส.ค. 2019 เวลา 15:31 • สุขภาพ
4️⃣3️⃣ ใครๆ ก็ต้องเคยเห็น "เต่า" ตัวนี้🐢
🌲นิยมปลูกอยู่ทั่วไป บริเวณสวนหย่อม🌲
🐢ตัวฉันนั้นมีชื่อว่า "เต่าร้างแดง"🐢
🐢รู้หรือไม่ว่า ฉันก็มีประโยชน์นะ🐢
เต่าร้างแดง เคยเห็นกันใช่ไหมล่ะ 😋
🌿 ชื่อ : #เต่าร้างแดง
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่นอื่น : เขื่องหมู่ (ภาคเหนือ), เต่ารั้งมีหน่อ (ภาคกลาง), มะเด็ง (ยะลา), งือเด็ง (มลายู-นราธิวาส), เต่าร้าง, เก๊าหม้าย เก๊ามุ่ย เก๊าเขือง (คนเมือง), มีเซเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), เก๊าเขือง (ไทลื้อ), ซึ (ม้ง), จึ๊ก (ปะหล่อง), ตุ๊ดชุก (ขมุ)
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryota mitis Lour.
🌿 ชื่อวงศ์ : ARECACEAE (จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม)
🌿 ชื่อสามัญ : Fishtail Palm, Burmese Fishtail Palm, Clustered Fishtail Palm, Common Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm, Tufted Fishtail Palm
✅ต้น : จัดเป็นพรรณไม้ประเภทปาล์ม ต้นแตกกอมีความสูงได้ถึง 5-10 เมตร มักขึ้นเดี่ยวๆ หรือแตกกอเป็น 2-4 ต้น ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีลักษณะเกลี้ยงเป็นสีเขียวถึงสีเทาอมเขียว เป็นปาล์มที่มีอายุสั้น หลังออกดอกเป็นผลแล้วต้นจะค่อยๆ ตายไป เป็นไม้กลางแจ้ง พบได้ตั้งแต่อินเดีย พม่า หมู่เกาะอันดามัน อินโดนีเซีย ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทางตอนใต้ของจีน ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักพบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเสื่อมโทรม ริมลำธาร ตามที่ลุ่ม และตามแนวหลังป่าชายเลนที่ติดกับป่าบกหรือป่าพรุ
✅ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับรอบลำต้น ช่อใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง แผ่แบน แตกแขนงออกเป็นช่อใบย่อย ใบย่อยมีลักษณะพับเป็นจีบคล้ายรูปตัววี แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายใบแหลมคล้ายหางปลา โคนใบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบเป็นสีเขียวเป็นมัน ใบย่อยคู่สุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มักติดกันและมีขนาดใหญ่ ปลายใบหยักไม่สม่ำเสมอ โคนใบเป็นรูปลิ่มเยื้อง ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีกาบใบโอบรอบลำต้น โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และมีรยางค์สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม
✅ดอก : ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ร่วมต้นกัน โดยจะออกดอกเป็นช่อเชิงลดไม่มีก้าน ก้านช่อดอกอวบ ห่อหุ้มไปด้วยกาบสีเขียวขนาดใหญ่ ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายยอด ต่อมาจะออกตามซอกใบ แล้วไล่ลงมาถึงโคนต้น ช่อดอกมีลักษณะย่อยห้อยลงมา ออกดอกเป็นกลุ่ม เรียงเวียนสลับกับแกนช่อดอกย่อย โดยดอกเพศผู้จะเป็นสีเขียวอ่อนไม่มีก้าน ดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปทรงขอบขนาน เมื่อดอกบานจะเป็นสีเหลืองนวล กลีบดอกแข็งมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลมโค้ง ส่วนดอกเพศเมียจะเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 3 กลีบ ที่โคนกลีบเชื่อมติดกัน
✅ผล : ผลเป็นสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นพวงๆ ลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น เนื้อผลชุ่มไปด้วยน้ำเลี้ยง ซึ่งเป็นพิษและทำให้ระคายเคือง ผลเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้มถึงสีม่วงคล้ำหรือดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
🌱สรรพคุณ🌱
⭐️ราก : มีรสหวานเย็นขม บำรุงกำลัง แก้ตับทรุด ช่วยดับพิษที่ตับและปอด แก้กาฬขึ้นปอด หัวใจพิการ แก้ม้ามพิการ อาการช้ำใน
⭐️หัว : มีรสหวานเย็นขม แก้ไข้จับสั่น บำรุงตับและปอด หัวอ่อนช่วยทำให้รู้สึกอบอุ่นมากขึ้น จึงนิยมนำไปรับประทานในช่วงที่เป็นไข้หนาว เพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่น แก้ตับทรุด ช่วยดับพิษที่ตับและปอด หัวใจพิการ แก้กาฬขึ้นปอดและตับ แก้ม้ามพิการ อาการช้ำใน
⭐️ผล : ตำพอกแผล ช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลแห้งและตกสะเก็ดไวยิ่งขึ้น ช่วยป้องกันบาดทะยัก ทาแก้หิด กลาก เกลื้อน
➕ประโยชน์อื่น➕
➖ ยอดอ่อนใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน จะนำมาต้ม ลวก แกง หรือผัดกะทิก็ได้ แล้วนำไปเป็นอาหารกินแกล้มกับแกงหรือน้ำพริก บ้างก็ใช้รับประทานสดๆ อีกส่วนคือใช้แกนในของลำต้น (แกนในยอดอ่อนบริเวณโคนต้น) นำมาประกอบอาหาร เช่น ทำแกง (แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน) แกล้มรับประทานกับน้ำพริก และผลสุกของเต่าร้างแดงก็สามารถนำมารับประทานได้เช่นกัน ให้มีรสชาติหวานอร่อย
➖ใบใช้มุงหลังคาได้ ส่วนเส้นใบจากกาบใบใช้ทำเป็นเชือกสำหรับผูกของต่างๆ หรือนำไปทำเป็นเครื่องจักสานเพื่อเป็นสินค้าส่งเสริมรายได้ของชาวบ้าน
➖ลำต้นใช้ทำไม้ปลายแหลมสำหรับเจาะหลุมปลูกข้าวไร่ เพราะมีความทนทาน สามารถใช้ได้นานปี
➖ช่อดอกสามารถนำมาปาดเอาน้ำหวานผลิตเป็นน้ำตาลได้เช่นเดียวกับมะพร้าว
➖ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป นิยมนำมาปลูกประดับในอาคาร ปลูกกลางแจ้งในสวนสาธารณะ ริมสระว่ายน้ำ หรือริมทะเล เนื่องจากมีรูปทรงสวยงาม แต่ไม่ควรนำไปปลูกใกล้ทางเดิน บริเวณที่พักผ่อน หรือสนามเด็กเล่น เพราะผลมีพิษ
🔴 ข้อควรระวัง 🔴
ขนตามผล น้ำเลี้ยงตามผิวใบของลำต้น และยางของพืชชนิดนี้โดยเฉพาะยางจากผล เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน หรือหากเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้ ส่วนขนที่ต้นเมื่อสัมผัสจะทำให้มีอาการคันเล็กน้อย
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูลบางส่วน : Wikipedia
• ข้อมูลบางส่วน : medthai
• รูปภาพบางส่วน : Flickr
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว 🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา