27 ก.ย. 2019 เวลา 00:09
หัวโขน...ต้องถอดออกเมื่อไร ?
หัวโขนคือ รูปหัวยักษ์หรือลิง ที่ใช้สวมศรีษะเวลาเล่นโขนหรือละคร
"หัวโขน" ที่จะพูดถึงวันนี้ คือการสวมบทบาทตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ยิ่งตำแหน่งสูงขึ้นไป ก็จะมีอำนาจบารมีพ่วงมากับตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้ง่ายขึ้น
ไม่ว่าจะบทบาทไหน ตำแหน่งอะไร
เมื่อได้รับมาแล้วเราต้องเล่นให้เต็มที่สมบทบาท
เขาจ้างร้อย ก็ต้องเล่นให้เต็มร้อยหรือมากกว่า
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
เขาให้บทเป็นหัวหน้า ก็ต้องเป็นคนนำ พาลูกน้องทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
มีปัญหาก็ต้องใช้สติปัญญาเข้าแก้ไข
อย่าเล่นนอกบท หรือแอบเอาบทคนอื่นไปเล่น
หัวหน้ามัวไปเล่นบทของลูกน้อง ก้มหน้าก้มตาทำ
แล้วใครเล่าจะสั่งการ และคอยควบคุม ตรวจสอบ
ลูกน้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งและขึ้นตอน
กลับอยากเป็นคนคอยชี้นิ้ว ครั้นเกิดปัญหาก็แก้ไขไม่ได้
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
นอกจากเล่นตามบทแล้ว ยังต้องเล่นให้ถูกเวทีและเวลาด้วย
ในที่ทำงานคุณเล่นบท"หัวหน้างาน" พอกลับบ้าน
ดันติดบทนี้กลับมาเล่นกับครอบครัว
สามี หรือ ภรรยา...ไม่ใช่เพื่อนร่วมงาน
ลูก...ไม่ใช่ลูกน้อง
เมื่อหมดเวลางาน แม้คุณจะหอบงานกลับมาทำที่บ้าน คุณต้องพักบทที่เล่นในที่ทำงาน
ถ้าเป็นสามี ก็หันมาเล่นบท"หัวหน้าครอบครัวตัวอย่าง" สอนการบ้านลูก ช่วยภรรยาหยิบจับงานบ้านบ้าง
ถ้าเป็น"ภรรยา" ก็หันมาเล่นบท"แม่บ้านแสนดี"
ทำกับข้าวหุงหาอาหาร ดูแลความเรียบร้อยของบ้าน ดูแลลูกๆ
1
บางครั้งต้องเล่นหลายบทบาทในเวลาเดียวกัน
ก็ต้องแยกบทให้ดี
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
แล้วเราจะถอดหัวโขนออกได้ตอนไหน?
2
ตอนที่พักจากการแสดง
ตอนที่เรามีเวลาเป็นตัวของตัวเอง
ตอนที่เราจัดการภารกิจหน้าที่ต่างๆเรียบร้อยแล้ว
ตอนที่จบเรื่องแล้ว
และสุดท้าย...ตอนที่เขาให้เราเลิกแสดง
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
ในบทบาทการทำงาน
วาระสุดท้ายที่ต้องถอดหัวโขนออกคือ
...เกษียณอายุ
ใกล้จะถึงเดือนตุลาคม...
ข้าราชการที่อายุครบ 60ปีบริบูรณ์ ก็ต้องเตรียมถอดหัวโขนจากตำแหน่งหน้าที่ ที่ท่านเล่นบทบาทนั้นๆมานาน
การขยายอายุเกษียณราชการ ยังรอสรุปอยู่(ตามข้อมูลในลิงค์แนบท้าย)
ถ้าเป็นพนักงานเอกชน ส่วนใหญ่ก็ต้องสวมหัวโขนจนถึงสิ้นปี
สำหรับบางบริษัท อาจจะขยายเวลาให้ท่านเล่นต่อ แล้วแต่ว่าสุขภาพกายและใจของท่านสู้ไหม
1
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
อาจจะใจหายที่ต้องวางบทบาทที่ทำงานลง
ต้องจากเพื่อนร่วมงาน จากสถานที่ทำงาน
4
คิดในแง่ดี เราจะได้เล่นบทใหม่
ชีวิตได้เริ่มต้นอีกครั้ง....
เป็นนักฟื้นฟู ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ
หลังจากตรากตรำทำงานมาอย่างหนัก
เป็นนักพักผ่อน ได้เอกเขนกอยู่บ้านเล่นกับหลานๆ
เป็นนักท่องเที่ยว เดินทางไปหาสีสรรของชีวิต
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
เป็นที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ ให้คำแนะนำผู้อื่น
เป็นนักบุกเบิก ได้ลองทำอาชีพใหม่ แก้เหงาแถมมีรายได้มาซื้อขนมกิน
มีอีกหลายบทบาท
ที่รอให้ท่านไปค้นหา...ในเวทีใหม่
อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวในช่วงแรกๆ
แล้วท่านจะ"สนุก"และ"มีความสุข"กับบทบาทใหม่
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
🌻 สนุกและ"สุข"ในทุกบทบาทนะ / นับหนึ่ง 🌺

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา