20 ส.ค. 2019 เวลา 12:36 • สุขภาพ
4️⃣5️⃣ รู้หรือไม่⁉️
🔸ตัวยาบางชนิดมีพิษ⁉️
🔸บางชนิดมีฤทธิ์แรงเกินไป⁉️
🔸เอามาใช้ทำยาได้อย่างไร ⁉️
⚡️การสะตุ, การประสะ, การฆ่าฤทธิ์ ⚡️
🔥สะตุ🔥ประสะ🔥ฆ่าฤทธิ์🔥
✅ในเภสัชกรรมแผนไทย เภสัชวัตถุบางชนิด ไม่ว่าจะมาจาก พืช(พืชวัตถุ), สัตว์(สัตว์วัตถุ), แร่ธาตุ(ธาตุวัตถุ) อาจมีความเป็นพิษอยู่ค่อนข้างสูง เช่น สลอด, ยางสลัดได, ชะมดเช็ด, สารหนู, น้ำประสานทอง, ปรอท เป็นต้น จึงต้องผ่านขั้นตอนเพื่อลดความเป็นพิษหรือแปรสภาพเสียก่อนที่จะนำมาเตรียมเป็นยาด้วย การสะตุ, การประสะ, หรือการฆ่าฤทธิ์
✅การสะตุ, ประสะ, ฆ่าฤทธิ์ หมายถึง การนำเอาตัวยาที่มีฤทธิ์หรือพิษแรงมาก มาใช้ประกอบตัวยาเพื่อให้เกิดสรรพคุณทางยา โดยมีวิธีการทำให้ฤทธิ์ของยาอ่อนลง ทำให้พิษของตัวยาน้อยลง หรือทำให้ตัวยานั้นสะอาดขึ้น ปราศจากเชื้อโรคจนสามารถนำมาใช้ได้ ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้ใช้ยา
⤵️ยกตัวอย่างเภสัชวัตถุบางชนิด
⤵️ที่ต้องผ่าน การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์
➖ การสะตุ
- เหล็ก
- ยาดำ
- สารส้ม
- ดินสอพอง
- น้ำประสานทอง
- มหาหิงคุ์
- รงค์ทอง
- เกลือ
- เปลือกหอย
- หัวงูเห่า หัวงูทับทาง อวัยวะของสัตว์มีพิษ
- หัวนกแร้ง หัวนกกา หนังสัตว์ กระดูกสัตว์ กีบสัตว์ ไส้เดือน หรืออวัยวะของสัตว์ที่ไม่มีพิษต่างๆ
➖ ประสะ
- ยางสลัดได
- ยางตาตุ่ม
- ยางหัวเข้าค่า
- น้ำนมมารดา
➖ ฆ่าฤทธิ์
- สารหนู
- ชาดก้อน
🔴เพิ่มเติม🔴
🔹ในบทความที่ผ่านมา ได้เคยกล่าวถึง การสะตุ, ประสะ, ฆ่าฤทธิ์ ไปบ้างแล้ว เช่น ตำรับยาประสะจันทน์แดง, ไส้เดือน สะตุรงทอง, ม้าน้ำ, เขากวาง เป็นต้น
🔹และในบทความต่อไป ผมจะนำเรื่อง การสะตุ, ประสะ, ฆ่าฤทธิ์ ของเภสัชวัตถุชนิดอื่นๆ ต่อไปครับ
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูล : อาจารย์ กาญจนา การเวก
สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย
• ข้อมูล : อาจารย์ ดร.อัญชลี จูฑะพุทธิ
จากหนังสือวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย
หัวหน้างานวิจัย กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว 🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา