20 ส.ค. 2019 เวลา 20:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เส้นทางการพัฒนาบนสนามรบของเครื่องบินตระกูล F ep.3 “McDonnell F3H Demon” หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Demon” ที่คลานตามเจ้า F2H Banshee มาติดๆหรือนับได้ว่าเป็นตัวตายตัวแทนกันเลยทีเดียว
เจ้า Demon นั้นมีจุดกำเนิดมาจากกองทัพเรือสหรัฐฯที่ต้องการเครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อมาเผชิญหน้ากับเจ้า Mig-15 เครื่องบินสัญชาติโซเวียต(สหภาพโซเวียต)ที่เป็นเครื่องบินรบของเกาหลี ในช่วงสงครามเกาหลี โดย F3H มีต้นแบบชื่อว่า XF3H-1 และต่อมาได้มีคำสั่งให้รีบเร่งผลิต F3H-1N ขึ้นมา
McDonnell F3H Demon
แรกเริ่ม “Demon” ที่เริ่มพัฒนามาขึ้นมาในปี 1949 มีชื่อแรกว่า F3H-1N ได้รับการออกแบบโดยใช้เครื่องยนต์ Westinghouse J40 ที่มีขุมพลังที่มากพอที่จะใช้เครื่องยนต์เดียวในการบิน ได้มีการทดสอบการบินครั้งแรกโดยนักบินที่ชื่อว่า Robert Edholm ในวันที่ 7 สิงหาคม ปี1951 ไม่มีปัญหาขัดข้องใดๆและออกปฎิบัติการได้ในที่สุด แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น คือ ได้พบกับปัญหาของเครื่องยนต์ที่เกิดขึ้นระหว่างทำการบินอยู่หลายครั้ง เครื่องบินที่ติดเครื่องยนต์ของ J40 นี้ได้เกิดการล้มเหลวถึง 8 ครั้งจาก 35 ครั้งด้วยกัน กองทัพเรือสหรัฐฯจึงได้มีการสูญเสียเครื่องบินรบไป 6 ลำและนักบินอีก 4 คน ในระหว่างการพัฒนาและทดสอบและรวมไปถึงเครื่องบินอีก 21 ลำ ที่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเครื่องยนต์ล้มเหลว ทั้งนี้กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้สูญเสียงบประมาณไปกว่า $200 ล้านเลยทีเดียว ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้มีแค่ F3H-1N เท่านั้นแต่ยังมี F3H-1P เป็นเครื่องบินสอดแนมที่ถูกเสนอแบบไปในโครงการพร้อมกัน แต่ยังไม่ได้มีการผลิตเครื่องแบบนี้ขึ้นมาเพราะเนื่องจาก F3H-1N ได้มีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ไป หลังจากนั้นโครงการพัฒนาของ F3H-1N ได้ถูกพักไปชั่วขณะและ F3H-1P ได้ถูกยกเลิกไป
McDonnell F3H-1N
ต่อมากองทัพเรือสหรัฐฯ ได้เล็งเห็นเครื่องยนต์แบบใหม่ที่สะดุดตากว่าเดิมมีชื่อว่า Pratt&Whitney J57 ที่มีการออกแบบเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่แต่ก็ยังไม่สามารถติดตั้งกับเจ้า F3H ได้เนื่องจากปีกและลำตัวของเครื่องบินจะต้องถูกออกแบบใหม่และขยายขนาดขึ้นเพื่อที่จะรองรับกับเครื่องยนต์ J57 ได้ จึงถูกยกเลิกไป
และเวลาต่อมากองทัพเรือสหรัฐฯได้ค้นพบเครื่องยนต์ Allison J71 ซึ่งเคยถูกติดตั้งกับเครื่อง Douglas B-66 Destroyer ด้วยเช่นกัน F3H จึงถูกให้กำหนดให้มีชื่อว่า F3H-2N แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่ตามมาของ J71 ก็คือยังผลิตกำลังให้เครื่องยนต์ไม่เพียงพอจึงทำให้เครื่องยนต์ดับและเกิดปัญหาชุดอัดอากาศเกิดล้มเหลวในขณะที่ดันอากาศเข้าไปยังห้องเผาไหม้ทำให้อากาศไหลย้อนกลับมาด้านหน้าจึงทำให้เครื่องยนต์เสียหาย แม้จะมีปัญหาต่างเกิดขึ้นๆแต่ก็ได้มีการปรับและพัฒนาเรื่อยๆจนใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนกระทั่ง F3H-2N ถูกนำไปใช้ในเดือนมีนาคม ปี 1956 และมีการผลิตเครื่องบินรบรุ่นนี้ถึง 519 ลำด้วยกันจนกระทั่งสิ้นสุดการผลิตในปี 1959 แต่ในขณะเดียวกันที่เครื่องรุ่นนี้ได้มีการพัฒนาระบบเดินอากาศต่างๆและระบบเรดาร์เรื่อยๆในระหว่างการใช้งานและมีรุ่น F3H-2M ที่มีการพัฒนาของอาวุธยุธโธปกรณ์ที่ติดกับตัวเครื่อง และมีการเสนอเวอร์ชั่นลาดตระเวรมีชื่อว่า F3H-2P แต่ก็ไม่ได้มีการผลิตออกมา
McDonnell F3H-2N
เจ้า “Demon” ยังคงเป็นเครื่องบินรบแนวหน้าของกองทัพเรือสหรัฐฯจนกระทั่งมาถึงปี1962 ได้มีการพัฒนาและสร้างเครื่องบินรบแบบใหม่ที่มีชื่อว่า F-4 Phantom II สำเร็จเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่กว่าและบินได้ไกลกว่า “Demon” จึงได้ทะยอยปลดประกำการและใช้ “Phantom” แทนในปี1964
รายละเอียดของเจ้า “Demon”
ลูกเรือ : 1 คน
ความยาว : 17.98 เมตร
ความกว้างของปีก : 10.76 เมตร
ความสูง : 4.44 เมตร
พื้นที่ของปีก : 48.21 เมตร
นํ้าหนักเครื่องเปล่า : 21,133 ปอนด์หรือ 10,040 กิโลกรัม
นี้าหนักโหลดเต็มที่ : 33,900 ปอนด์หรือ 15,377 กิโลกรัม
เครื่องยนต์ : เทอร์โบเจ็ท 1 เครื่องแบบ Allison J71-A-2E
มีแรงขับ : 9,700 Ibf (43.25 kN)
แรงขับด้วยAfterburner : (14,750 Ibf (65.77 kN)
ความเร็วสูงสุด : 716 ไมล์ต่อชั่วโมง ( 662นอต หรือ 1,152 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ที่ระดับนํ้าทะเล
: 647 ไมล์ต่อชั่วโมง ( 563นอต หรือ 1,041 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ที่ความสูง30,000ft (9,150เมตร)
บินนานสุด : 3 ชั่วโมงที่ 575 ไมล์ (500ไมล์ทะเล หรือ 926 กิโลเมตร)
พิสัยบิน : 1,370 ไมล์ (1,191 ไมล์ทะเล หรือ 1,899 กิโลเมตร)
เพดานบิน : 35,050ft หรือ 10,683 เมตร
อัตตราการไต่ระดับ : 12,795ft/นาที (65.0เมตร/วินาที)
ระบบอาวุธ
ปินกล : 4 x 20 mm (0.79in) Colt Mk 12 Cannon, 150 rpg
ขีปนาวุธ : 4 AIM-7 Sparrow และ AIM-9 Sidewinner
ระเบิด : 6,000 ปอนด์ (2,720กิโลกรัม) ต่อลูก
1
นี้คือความเป็นมาและรายละเอียดทั้งหมดของเครื่องบินขับไล่ Demon มันคือปีศาจแห่งสงครามกลางเวหา ช่วยทำการการรบทางอากาศ จนถูกนำมาพัฒนาต่อในรุ่นต่อมาเรื่อยๆจนมาถึงเครื่องบินขับไล่ที่มีขีดความสามารถมากๆในปัจจุบัน ติดตามกันต่อได้ที่นี่ Swivel
“Infinite development drive by Swivel”
Swivel | Everything are Swiveling
โฆษณา