22 ส.ค. 2019 เวลา 08:22 • สุขภาพ
มาต่อกันเลยครับกับบทความ "สารเคมีจำเป็นต่อการเกษตรหรือไม่"
EP ที่แล้วเกริ่นนำถึงธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช ซึ่งมีทั้งหมด 16 ชนิดด้วยกัน แบ่งเป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง และจุลธาตุหรือบางตำราเรียกว่าธาตุอาหารเสริม แต่ธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชไม่เหมือนอาหารเสริมสำหรับคนนะฮะ กล่าวคือถึงจะเรียกว่าธาตุอาหารเสริมแต่ถ้าพืชขาดธาตุเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตทันทีและบางกรณีอาจทำให้พืชถึงกับตายได้เลยทีเดียว ในขณะที่อาหารเสริมสำหรับมนุษย์เช่นพวกคอลลาเจน สารเพิ่มประสิทธิภาพท่านชาย หรือสารเสริมพวกช่วยให้อกฟูรูฟิตแบบนั้น ถึงจะขาดก็ไม่ทำให้คนเรามีภัยถึงแก่ชีวิตได้แน่นอน...จริงมั้ยฮะ 😁😁😁😁
เอาละ คราวนี้มาคุยกันต่อจากที่ค้างไว้ว่าธาตุอาหารทั้ง 16 ชนิดเหล่านี้จะมารวมตัวกันเป็น"ปุ๋ย" หรือแหล่งอาหารให้แก่พืช ซึ่งน้องปุ๋ยเนี่ยเค้าก็จะแบ่งตัวเองออกเป็นชั้นวรรณะของเค้าเองอีกที ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้.....
1. ปุ๋ยอินทรีย์ 2. ปุ๋ยชีวภาพ และ 3. ปุ๋ยเคมี พระเอกของเรื่อง (หรืออาจจะเป็นผู้ร้ายของหลายๆคน 😁😁😁)
มาดูกันที่อันแรกก่อนคือปุ๋ยอินทรีย์ หรือที่นักการตลาดมักจะนำมาประกอบการขายของในภาคภาษาปะกิตว่า organic นั่นล่ะฮะ ความหมายของปุ๋ยอินทรีย์แบบเข้าใจง่ายๆก็คืออะไรก็ตามที่ได้มาจากการย่อยสลายของสิ่งมีชิวิตหรือเคยมีชีวิตแล้วปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นมาให้กับพืชเราจะเรียกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนจะมีชนิดหรือปริมาณของธาตุเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหนไม่เกี่ยวนะฮะ 😏😏😏 เอาแค่ให้รู้ว่านี่แหละคือปุ๋ยอินทรีย์แค่นั้นพอ
ยังฮะ ยังไม่จบ สำหรับปุ๋ยอินทรีย์เค้าก็มี sub set ของเค้าอีกนะว่าเป็นอินทรีย์แบบไหน (เรื่องเยอะเนาะ 555) โดยแยกออกได้ดังนี้จ้า....
1.1 ปุ๋ยคอก ฟังชื่อก็น่าจะพอรู้แล้วเนอะว่าได้มาจากคอกเลี้ยงสัตว์ หลักๆเลย ขี้วัว ขี้ควาย ขี้ไก่ ขี้เป็ด ขี้หมู ขี้หมา หรือแม้แต่ขี้คน จะเรียกว่าปุ๋ยคอกทั้งสิ้น ถึงแม้ว่า 2 ขี้สุดท้ายจะไม่ค่อยพบเจอในการทำการเกษตรก็เหอะ (แต่อย่าคิดว่าจะไม่มีนะจ๊ะ อิอิ 😂😂😂)
1.2 ปุ๋ยหมัก อันนี้ก็ชัดเจนเหมือนกันว่าต้องได้มาจากกระบวนการหมักของสิ่งมีชีวิตหรือเคยมีชีวิตมาก่อน หมักจนได้ที่ มีการย่อยสลายมาแล้วระดับนึงจึงนำมาใส่ต้นไม้ในรูปแบบของปุ๋ย
1.3 ปุ๋ยพืชสด อันนี้คนนอกวงการเกษตรอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูนัก แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆเด้อ ปุ๋ยพืชสดก็คือการนำชิ้นส่วนของพืชสดๆนั่นแหละมาทำการฝังกลบลงในแปลงปลูกโดยตรงเลย เช่น หลังจากที่ชาวนาเกี่ยวข้าวแล้วมันย่อมจะเหลือตอซังที่ไม่ได้โดนเกี่ยวไปด้วยใช่มั้ยฮะ นั่นแหละตรงนี้ที่เค้าจะเอารถไถมาทำการไถกลบตอซังพวกนีอีกทีแล้วก็ปล่อยให้กาลเวลาและธรรมชาติทำหน้าที่ย่อยสลายแล้วก็ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาสแตนบายรอข้าวชุดใหม่มาดูดกินซึ่งต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆเชียวแหละเธอว์....แต่ชาวนาส่วนใหญ่เค้าไม่โลกสวยรอธรรมชาตินานขนาดนั้นหรอกฮะ ส่วนใหญ่พอเกี่ยวข้าวเสร็จ อ้าว !!! เหลือตอซังนี่หว่า ทำไงดีล่ะทีนี้....ก้อออออออ...เผาเลยครับพี่น้องงงงง..พ้มรับผิดชอบเอง...สิฮะ..อันนี้จะโทษชาวนาก็คงทำได้ไม่เต็มปากนักเพราะถ้ารอให้มันย่อยสลายหมด (ถ้าย่อยสลายไม่หมดก็จะมีปัญหาตามมาอีกเพียบ...ขี้เกียจเล่าเดี๋ยวจะยาว) กว่าจะได้ทำนาอีกรอบเค้าก็ไม่รู้จะเอารายได้มาจากไหน เพราะอาชีพเค้าคือทำนาขายข้าวเอาเงินมาจุนเจือครอบครัว
เฮ้อออออ....นี่แค่ปุ๋ยอินทรีย์นะเนี่ยยังเรื่องเยอะขนาดนี้เลย 😥😥😥😥😥😥😥
งั้นเพื่อเป็นการไม่เสียเวลา มาต่อกันกับปุ๋ยอีกชนิดเลยละกัน....นั่นคือ....
2. ปุ๋ยชีวภาพ ภาพ ภาพ.........
คนส่วนใหญ่ (ใหญ่มากๆเลยล่ะ) ที่เข้าใจผิดว่าเป็นอันเดียวกันกับปุ๋ยอินทรีย์ พอเราบอกก็ยังไม่เชื่อมาว่าเราไปขัดขวางการทำมาหากินคนอื่นอีก...ไปนู่นเลย 😣😣😣😣
ปุ๋ยชีวภาพ จริงๆแล้วคือการที่เค้าเอาวัสดุซักอย่างนึง อาจจะเป็นดิน ปุ๋ยอินทรีย์ หรือแม้แต่น้ำเปล่าๆนี่แหละ มาคลุกเคล้าหรือละลายจุลินทรีย์ที่มีชีวิตลงไป ทีนี้พอเราเอาปุ๋ยชีวภาพเหล่านี้ไปใส่หรือราดลงดินที่เราปลูกต้นไม้ไว้ จุลินทรีย์เหล่านี้แหละก็จะขยายพันธุ์พร้อมทั้งผลิตธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชแล้วพืชก็นำไปใช้ต่อ..นี่แหละที่เค้าเรียกว่า "ปุ๋ยชีวภาพ" ยกตัวอย่างที่เราเรียนกันมาตั้งแต่มัธยม (สายวิทย์นะ สายศิลป์ไม่แน่ใจ) ก็คือเชื้อรา "ไรโซเบียม" เชื้อราตัวนี้จะอาศัยอยู่ในแถวรากของถั่ว แล้วทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาที่รากถั่วเพื่อการเจริญเติบโตของมัน ส่วนถั่วก็มีหน้าที่ดูดไนโตรเจนไปเลี้ยงส่วนอื่นๆของต้นต่อไปยังไงล่ะ......เคลียร์เนาะ..สำหรับปุ๋ยชีวภาพ 😁😁😁😁😁
และสุดท้ายก็อคือออออออออออออ.......ใช่แล้วจ้าาาาา
3. ปุ๋ยเคมี ที่น่ารักและน่าชังสำหรับใครหลายๆคน
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเคมี ย่อมต้องได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์อะไรซักอย่างให้ได้โครงสร้างทางเคมีเหมือนกับธาตุต่างๆที่พืชต้องการ....ปุ๋ยเคมีก็แบ่งย่อยลงไปได้อี 2 ชนิดนะ....แบบแรกเรียกว่า "ปุ๋ยเชิงผสม" กับอีกแบบเรียกว่า "ปุ๋ยเชิงเดี่ยว"
ปุ๋ยเชิงผสมก็หมายถึงในปุ๋ย 1 กระสอบ จะมีธาตุอาหารมากกว่า 1 ชนิด เช่นสูตร 15-15-15 หมายถึงมี ไนโตรเจน (N) 15% ฟอสฟอรัส (P)15% โปแตสเซี่ยม (K)15% ส่วนธาตุอื่นๆถ้ามีเค้าก็จะระบุไว้ตรงกระสอบปุ๋ยนั่นแหละ แต่จะไม่ชัดเท่าธาตุหลักสามตัวนั่น
ส่วนปุ๋ยเชิงเดี่ยวหรือบางคนเรียกว่าแม่ปุ๋ย ก็จะมีธาตุอาหารเพียงชนิดเดียว เช่น 46-0-0, 0-48-0 หรือ 0-0-60 เป็นต้น
วันนี้เอาแค่นี้ก่อนเนาะ..ชักจะเหนื่อยพิมพ์ละ ตาลายด้วย 555 😅😅😅 เอาเป็นว่าได้รู้คร่าวๆละ ว่าปุ๋ยมีกี่ชนิดและแต่ละชนิดมีที่มายังไง...
EP หน้า จะเล่าเรื่องว่า ปุ๋ยชนิดต่างๆที่ได้อ่านๆกันไปเนี่ยมันมีวิธีเข้าสู่ต้นพืชได้อย่างไร...รากพืชจะดูดขี้วัวเข้าไปทั้งก้อนเลยมั้ย ??? หรือปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 มันจะแท็กทีมเข้าไปเป็นแพ็คเลยหรือเปล่า....รออ่านกันเด้อออออ....😘😘😘😘
ป.ล. ถ้าตรงไหนไม่เคลียร์หรืออยากให้อธิบายเพิ่มเติมก็เขียนจดหมายน้อยมาบอกกล่าวกันได้นะครับ 😊😊😊
โฆษณา