23 ส.ค. 2019 เวลา 06:07 • การศึกษา
ซี่รีย์ชีวิตนักศึกษาในมหาลัย ปี 1 EP.1
หลังจากที่เรียนจบ ม.6 และสอบติดมหาวิทยาลัยติดในคณะที่อยากเรียนแล้วชีวิตในปี 1 นั้นชีวิตในมหาลัยต้องมีการปรับตัวในหลายๆอย่าง ดังนี้
1. เพื่อน เราต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับเพื่อนที่มหาลัยให้ง่ายขึ้น เช่น
รูมเมท เพื่อนคณะ เพื่อนในมหาลัย
2. วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย เช่น การรับน้อง ผมเองตอนแรกๆก็ไม่อยากเข้ากิจกรรมรบน้องเท่าไหร่ แต่พอเข้าแล้วมันก็ไม่ได้น่ากลัวอะไรหรอกครับ
3. เนื้อหาที่เรียน เนื้อหาที่เรียนนั้นมีความยากมากว่าตอนมัธยมปลาย เช่น แคลคูลัสสำหรับวิศวะที่มีการคำนวณที่อยากขึ้น แต่ข้อสอบปี 1 นั้นถือว่าง่ายที่สุดแล้วสำหรับการเรียนในมหาวิทยาลัย เพราะข้อสอบยังเป็นข้อกาอยู่ แต่จะเจอข้อสอบข้อเขียนในปี 2-4 เยอะมาก
ดูงานเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ
มหาลัยที่ผมเรียนนั้นคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คณะวิศวกรรมไฟฟ้า จะมีการเรียนการสอนเป็น 3 เทอม ซึ่งเป็นคณะที่เน้นการคำนวณเยอะมาก ในช่วงปี 1 จะเป็นการเรียนพวกวิชาพื้นฐานก่อน เช่น คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน แคลคูลัส 1-3 ฟิสิกส์ 1-2 เคมี 1 ภาษาอังกฤษ 1-2 แต่ข้อสอบส่วนมากจะเป็นข้อกาอยู่
ตอนปี 1 มหาลัยจะบังคับให้นักศึกษาทุกคนอยู่หอใน เพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมต่างๆของน้องใหม่ เช่น กิจกรรมรับน้อง เฟรชชี่ไนท์ ราตรีชาวหอ(สำหรับนักศึกษาหอใน) พิธีไหว้ครู
อุโมงต้นไม้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี แลนมาร์คที่คนนิยมมาถ่ายรูป
หอในนั้นจะมีทั้งแบบห้องน้ำในตัวและห้องน้ำรวม ซึ่งห้องน้ำในตัวจะมีราคาแพงกว่าห้องน้ำรวม แต่ผมชอบห้องน้ำรวมมากกว่าเพราะไม่ต้องต่อคิวรอรูมเมทเวลาเข้าห้องน้ำ ทำให้ไม่เสียเวลารอนาน
ช่วงปี 1 นั้น เป็นปีที่ง่ายต่อการทำเกรดให้ได้เยอะที่สุดแล้ว เพราะข้อสอบที่เรียนส่วนใหญ่ยังเป็นเนื้อหาเพื่อการปรับพื้นฐานก่อนและข้อสอบส่วนใหญ่เป็นข้อกา บางวิชาแค่เอาตัวเลือกไปแทนในโจทย์ก็หาคำตอบได้แล้ว
แต่เมื่อขึ้นปีสูงๆจะเจอแต่ข้อสอบที่เป็นข้อเขียน โดยเฉพาะคณะวิศวะทุกขา ส่วนใหญ่แล้วสำหรับคณะวิศวกรรมไฟฟ้าที่ผมเรียน คะแนนสอบ 90 คะแนน และคะแนนการบ้านเพียง 10 คะแนนเท่านั้น
ถ่ายรูปคู่กับรุ่นน้อง
ห้องเรียนตอนปี 1 นั้นส่วนใหญ่จะเรียนในห้องที่สามารถจุคนได้เยอะๆ เช่นห้อง 300 600 หรือใหญ่สุดก็คือห้อง 1500 โดยเฉพาะห้อง 1500 ที่มีเก้าอี้นั่งเหมือนเก้าอี้ในโรงหนังทำให้บางคนที่กำลังง่วงๆนั้นง่ายที่จะนอนหลักโดยที่ไม่รู้ตัวเลยทีเดียว ผมก็เคยหลับที่ห้องนี้เหมือนกัน แต่ที่จริงเราควรตั้งใจในห้องเรียนเพราะว่าถ้าเราเข้าใจตั้งแต่เรียนในห้องแล้วจะช่วยประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือ สำหรับคนที่ไม่เข้าเวลาที่อาจารย์สอนให้รีบถามอาจารย์ หรือถามเพื่อนที่เรียนด้วยกันก็ได้ เพื่อที่จะได้ไม่ค้างคาใจ
หอสุรนภาหรือหอแห้ว มทส.
ฝากกดไลท์ คอมเม้น กดติดตาม กดแชร์ให้ด้วยนะครับ ผมจะได้ได้ดาวกับเค้าบ้าง ขอบคุณมากครับ
ต้องมีสักวันเป็นวันของเราครับ
โฆษณา