26 ส.ค. 2019 เวลา 00:04 • ไลฟ์สไตล์
ใคร...? เผากรุงศรีฯ
ภาพจำของสังคมไทยกับวาทะกรรม "พม่าเผากรุงฯ" ถูกถ่ายทอดผ่านบทเรียน วรรณกรรม การแสดง ตลอดจนภาพยนตร์และละคร การปลุกระดมให้คนรักชาติถูกหล่อหลอมจนเป็นความเชื่อเคียงคู่สังคมไทยมาช้านาน
ในฐานะผู้ชนะพม่ากระทำการเหี้ยมโหด ปล้นฆ่าและจับข้าสึกเป็นเชลย เผาทุกสิ่งอย่างที่มีค่าด้วยความโลภ ไม่เว้นแม้แต่พระพุทธรูปอันเป็นตัวแทนศาสนาที่ตนเคารพนับถือ
บันทึกของฝรั่ง...เล่าว่า เป็นที่เชื่อได้ว่าการพ่ายแพ้แก่พม่า คือที่มาของการล่มสลายหากแต่พม่าไม่ได้เผาวัดวาอารามแต่เพียงผู้เดียว ยังมีคนพื้นถิ่นทั้งไทยจีนที่ยากแค้นจากสงคราม เมื่อหมดหนทางทำกินจึงหันเข้าหาวัดตามวิสัยของชาวพุทธ หากแต่ไม่ได้เข้าไปทำบุญ แต่เข้าไปเพื่อขุดหาสมบัติมีค่ามาขาย รวมไปถึงพระพุทธรูป
ในอดีตนั่นฝรั่งเองก็มักบิดเบียนข้อมูลไม่ต่างไปจากคนไทย บางทีบันทึกฉบับนั้นอาจถูกเขียนขึ้นมาโดนมีเจตนาโจมพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ในการหว่านล้อมให้ผู้คนหันมาเข้ารีต เพื่อเผยแผ่คริสศาสนา
การขุดค้นทางโบราณคดีดูจะเป็นหลักฐานที่ประจักษ์น่าเชื่อถือมากที่สุด ผลจาการขุดไม่พบร่องรอยของการเผาไหม้รุนแรงในชั้นใต้ดิน ขัดแย้งกับความเชื่อเดิมไปอย่างสิ้นเชิง
แต่เป็นไปได้ที่ว่าร่องรอยนั้นอาจสูญหายไปเมื่อครั้งบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัย ร.5
หากเป็นเช่นนั้นน่าจะมีร่องรอยหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง ณ จุดใดจุดหนึ่ง
เรื่องราวในอดีตนั้นเกิดจากมุมมองความคิด ความเชื่อของคนในยุคสมัยนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีนั้นควรศึกษาเพื่อเรียนรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ แก่นสำคัญที่สุดคือการค้นหาความจริง ไม่ใช่เพื่อปลุกใจให้รักชาติหรือเกลียดชังชาติตนเอง เราไม่อาจตัดสินถูกผิดได้จากมุมมองยุคสมัยที่ต่างกัน
---
"ไม่มีไฟใดจะเผาตัวตนของเราได้ ของจากไฟในใจของเราเอง"
---
...ขอบคุณที่อ่านจนจบ ขอมูลผิดพลาดประการใดทักทายมาตักเตือนแนะนำกันได้นะครับ..
"ฝากติดตามตอนต่อไปด้วยครับ"
--🐶😻--
ภาพถ่าย สถานที่ : วัดใหญ่ชัยมงคล
อ้างอิง :
โฆษณา