26 ส.ค. 2019 เวลา 08:17 • สุขภาพ
สวัสดีวันจันทร์ วันแห่งความสดชื่นกะปรี้กะเปร่าของใครหลายๆคนนะครับ 🤣🤣🤣🤣
วันนี้เราจะมาเริ่มต้นสัปดาห์กันด้วยเรื่องหนักๆกับหัวข้อที่ว่า "สารเคมีจำเป็นต่อการเกษตรหรือไม่ ?" กันต่อนะฮะ จาก Part ที่แล้วเป็นการพูดถึงเรื่องของปุ๋ย มา Part นี้จะเป็นเรื่องของ "สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช" EP#1 หรือเรียกแบบชาวบ้านๆก็คือ "ยาฆ่าหญ้า" นั่นเอง และตอนนี้ก็กำลังเป็นกระแสในสังคมวงกว้างพอสมควรที่อยากจะให้ทางการยกเลิกการนำเข้า ยกเลิกการผลิตและจำหน่ายไปซะให้สิ้นเรื่องสิ้นราว เกษตรกรจะได้ไม่ต้องใช้ และสุดท้ายผู้บริโภคจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับสารตกค้าง ธรรมชาตก็จะกลับมางดงามสดใสแวววาวอีกครั้ง 🍉🍈🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍒🍓
เครดิตภาพ จากอินเตอร์เน็ต
แต่ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น จะแบนหรือไม่แบนก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนถือสเต๊กเค้าว่ากันไปตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์กันไปละกันเนาะ...หน้าที่ของเราตอนนี้คือทำความรู้จักและเข้าใจกับสิ่งเล็กๆที่เรียกว่ายาฆ่าหญ้ากันดีกว่า
............แล้วคนถือสเต๊กมันเกี่ยวอะไรอ่ะ.....งง อ่ะดิ...........
คนถือสต๊กในที่นี้ก็คือ....stakeholder นั่นเองงงงงงงง 😂😂😂😂 แปลว่าอะไรก็ไปเปิดดิกชันนารีเอาเองเด้อ...ส่วนจะฮามั้ยก็แล้วแต่จริตของท่านผู้อ่านเลยฮะ..ไม่ซีเรยส 😁😁😁
มาๆๆ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ...ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า "วัชพืช" ก่อนละกันเนาะ คือวัชพืชเนี่ยก็คือสิ่งมีชีวิตที่เราเรียกว่าพืชนั่นแหละ แต่มันดันมางอกแล้วก็เติบโตในที่ที่เราไม่ต้องการ เช่น ถ้าเราตั้งใจปลูกมะละกอ แต่ดันมีมะเขือหรือพริกมางอกในแปลงมะละกอของเรา ก็จัดว่าทั้งพริกทั้งมะเขือก็ถือว่าเป็นวัชพืชนะฮะถึงแม้ว่ามันจะเอาไปทำส้มตำได้ก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าวัชพืชคือหญ้าเท่านั้นนะจ๊ะ
สาเหตุที่ต้องมีการกำจัดวัชพืชก็เพราะว่ามันจะมาแย่งน้ำ แย่งปุ๋ยจากพืชที่เราตั้งใจปลูกยังไงล่ะ ยังไม่รวมว่าวัชพืชบางชนิดจะเป็นตัวนำศัตรูพืชอื่นๆมาสู่พืชหลักของเราอีก ทั้งโรคทั้งแมลงสารพัด...เรียกได้ว่าไม่มีประโยชน์ไม่พอยังมาเพิ่มภาระให้อีกต่างหาก 😑😑😑😑😑
วัชพืชมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าเราจะแบ่งยังไง ถ้าแบ่งตามอายุขัยก็จะแบ่งได้เป็นวัชพืชหนึ่งฤดูกับวัชพืชข้ามฤดู หรือถ้าแบ่งตามสัณฐานวิทยาหรือตามรูปลักษณ์ภายนอกก็จะแบ่งเป็นวัชพืชใบแคบกับวัชพืชใบกว้าง หรือแบ่งตามจำนวนใบเลี้ยงก็จะได้เป็นวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่........
ถามว่าเราจำเป็นต้องรู้ขนาดนี้มั้ย....ไหนๆก็จะใช้ยาฆ่าหญ้าอยู่แล้ว แค่ไปซื้อยาฆ่าหญ้ามาผสมน้ำฉีดเดี๋ยวหญ้ามันก็ตายเองแหละ...เอิ่มมมม คำตอบคือเข้าใจผิดอย่างแรงส์ส์ส์เลยนะฮะ เหมือนๆกับปวดฟันแล้วไปซื้อยาแก้ปวดหัวมาทานนั่นล่ะจ้า.....ส่วนรายละเอียดจะเป็นยังไงจะเหลาให้ฟัง 😊
เหตุผลที่เราต้องแบ่งชนิดของวัชพืชก็เพราะว่าสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่เค้าผลิตกันออกมาขายเนี่ยเค้าก็ผลิตขึ้นมาให้มันจำเพาะเจาะจงกับวัชพืชพวกนี้แหละฮะ เกษตรกรที่จะใช้ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในระดับนึงนะจ๊ะถึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการใช้ ไม่งั้นก็จะเสียเงินเสียทองเสียเวลาเสีอนาคตไปเปล่าๆ
การแบ่งชนิดของสารฯ เค้าก็จะล้อกันไปกับชนิดของวัชพืชที่กล่าวไว้ข้างต้นนั่นแหละ แต่อาจจะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยถึงปานกลาง 😅😅 หลักๆก็จะมีดังนี้...
1) สารป้องกันกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายกับไม่เลือกทำลาย อันนี้ค่อนจ้างชัดเจนนะฮะว่าสารฯแบบไม่เลือกทำลายถ้าฉีดพ่นไปโดนพืชพืชมันก็จะเสียหาย (อาจจะถึงตายหรือไม่ตาย) ไม่ว่าจะเป็นพืชใบแคบหรือใบกว้าง ตัวอย่างก็เช่น พาราคว็อต หรือชื่อเต็มๆคือ พาราคว็อตไดคลอไรด์ ชือการค้าก็คือ....กรัมม็อกโซน...นั่นเอง (ขออภัยเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้วยนะฮะที่เอ่ยนาม)
ส่วนอีกแบบคือสารฯแบบเลือกทำลาย เช่นอาจจะทำลายเฉพาะพืชใบกว้างแต่ทำอะไรพืชใบแคบไม่ได้ หมายความว่าถ้าเราฉีดสารฯตัวนี้ไปพืชใบกว้างจะโดนจัดการแต่พืชใบแคบจะยืนเฉยๆ ชิวๆ เลยล่ะ ตัวอย่างก็เช่นสารที่ชื่อว่า 2,4-D (อ่านว่าทูโฟร์ดี) ที่ชาวบ้านนิยมเอามาฉีดฆ่าผักบุ้งในนาข้าวนั่นไง หรือในทางตรงกันข้ามก็มีสารฯที่กำจัดเฉพาะพวกใบแคบแต่พวกใบกว้างปลอดภัยก็มีเช่นกัน (แต่ขี้เกียจยกตัวอย่าง)
2) สารป้องกันกำจัดวัชพืชประเภทสัมผัสและประเภทดูดซึม อันนี้จะเข้าใจง่ายหน่อย คือถ้าเป็นสารแบบสัมผัสก็จะทำลายพืชเฉพาะส่วนที่ได้รับสารฯเท่านั้น ส่วนอื่นๆของพืชที่ไม่โดนสารฯก็จะไม่เป็นอะไร ตัวอย่างก็ได้แก่....กรัมม็อกโซน คนดีคนเดิมนั่นเองจ้า 😁😁😁
ส่วนสารฯที่ออกฤทธิ์แบบดูดซึมก็คือขอแค่ให้เราฉีดพ่นสารฯไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช (ส่วนใหญ่ก็คือใบ) ส่วนอื่นๆก็จะพลอยเดี้ยงไปด้วย เพราะพืชมันมีการลำเลียงสารไปตามท่อน้ำและอาหาร พูดง่ายๆก็คือฉีดที่ใบตายยันรากจ้า...ตัวอย่างสารฯในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ 2,4-D และอีกตัวที่ดังๆก็ ไกลโฟเซตหรือชื่อการค้าว่า "ราวด์อัพ" ไงจะใครล่ะ (ขออภัยที่เอ่ยนามเช่นกัน) 😁😁😁
1
3) สารป้องกันกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอก
อันนี้จะแอดวานซ์ขึ้นอีกหน่อยนะฮะ จัดการตั้งแต่ยังไม่งอกออกจากเมล็ดกันเลยทีเดียว โดยสารฯที่ออกฤทธิ์แบบนี้ภาษาชาวบ้านจะเรียกว่า "ยาคุม" นะฮะ (แต่ไม่ต้องใช้ตามลูกศรเหมือนยาคุมคนนะ 😂😂😂) ส่วนพวกที่ออกฤทธิ์แบบหลังจากวัชพืชงอกมาแล้วเค้าจะเรียกว่า "ยาฆ่า"
ยังฮะ innovation ยังไม่หมดแค่นั้น เค้ามีการพัฒนาโดยการเอาทั้งยาคุมกับยาฆ่ามาผสมอยู่ในขวดเดียวกันซะเลยเป็น 2 in 1 เรียกว่า "ยาคุม-ฆ่า" โดยการออกฤทธิ์ของยาคุมก็จะไปยับยั้งไม่ให้เมล็ดวัชพืชงอกออกมาได้ ส่วนไอ้ที่งอกมาแล้วก็เป็นหน้าที่ของยาฆ่าไปจัดการ โดยที่พืชหลักที่เราปลูกไม่เป็นอะไร สารประเภทนี้จะนิยมใช้กันเยอะในนาข้าว และ ข้าวโพด 🌽🌽🌽🌽
รูปด้านล่างก็คือชาวนากำลังฉีดยาคุม-ฆ่าในนาข้าวจ้า...พบเห็นได้ทั่วไป ถ้าไม่เคยเห็นก็ขับรถมาดูแถวปทุม รังสิตก็เจอแระ 😁😁😁
วันนี้เอาแค่นี้ก่อนเนาะ สำหรับชนิดและประเภทของสารป้องกันกำจัดวัชพืช....เดี๋ยว EP ถัดไปจะมาพูดถึงว่ามันยังมีความจำเป็นต้องใช้อยูมั้ย ? และมันจะมีผลมาถึงผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆหรือไม่และอย่างไร....
สำหรับวันนี้...สวัสดี
Happy Monday 😍😍😍😍
โฆษณา