3 ก.ย. 2019 เวลา 11:20 • ไลฟ์สไตล์
วัย"จ๊าบ"..ยุค 90s 📟
ผมมุ่งมั่น..ที่จะเท่ห์..จนแก่เฒ่า
เดินล้วงเป๋า..ยักไหล่..ใส่รีวาย....(ริมแดงด้วย)
เสื้อฮิบฮอบ..จิ๊กโก๋..โก้จะตาย
เข้าใจไหม..ครับครู..คนมันจ๊าบ
ครับว่าจ๊าบ..คือเท่ห์..ดูเจ๋งเป้ง
ศิษย์คนเก่ง..ถามครู..รู้มั้ยครับ
ครูสมพร..สอนว่า..ไม่ใช่ศัพท์
ครูไม่นับ..เป็นคำ..ภาษาไทย
โถ่คุณครู..ไม่เข้า..ใจวัยรุ่น
สมัยนี้..เขาพัฒนา..ไปไกล
ภาษาฮิต..เด็กไทย..วัยสดใส
อย่ากลัวไป..ภาษาไทย..ผมแข็งแรง
เมื่อโตขึ้น..จึงรู้..ที่ครูบอก
ไม่ผิดหรอก..หากพูด..คำแสลง
แต่จงรู้..ภาษา..อย่าเคลือบแคลง
ถูกผิดแบ่ง..แยกได้..อย่าเคยตน
คำแสลงแผลงๆของวัยรุ่นนั้นมีอยู่ทุกยุคสมัยจริงๆ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ดูเหมือนว่ามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สรรค์สร้างคำเรานี้ขึ้นมาทุกๆวันเพื่อให้เกิดเป็นกระแสนิยม ในโลกที่คำเหล่านี้แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วเหมือนไวรัสคอมพิวเตอร์
คำว่า "ครัช" เกิดจากการพิมพ์ผิดจนกลายเป็นที่นิยมดูเก๋ไก๋ "ช่ะ" ใช่ป่ะคำนี้ดูจะขี้เกียจพิมพ์ยาวๆให้เสียเวลา "จอบอ" จบทีคำง่ายก็ทำให้ยาก สุดท้ายเมื่อถูกตักเตือนก็จะบอกว่า...ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
ผู้ใหญ่ย่อมเข้าใจวัยรุ่นอยู่แล้วการการตักเตือนนั้นย่อมมีเหตุผล ลองคิดดูถ้าวันนึงเราใช้คำเหล่านี้จนเคยตัว จนไม่อาจแยกแยะถูกผิดได้เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ มีหน้าที่การงานที่สำคัญวันนั้นคำเหล่านี้คงดูไม่เก๋ไก๋ สไลเด้อ อีกแล้ว..บางทีวันนั้นเราอาจจะอยากย้อนเวลากลับไป แล้วมะแหงกหัวตัวเองสักครั้ง พร้อมพูดว่า "เฮ้ย...น้องพี่ว่ามันไม่จ๊าบเลย"
ตัวอย่างศัพท์วัยรุ่น
โฆษณา