30 ส.ค. 2019 เวลา 05:31 • สุขภาพ
5️⃣2️⃣ 🍃ผักหวานบ้าน🍃
❤️ของโปรดของใครหลายๆ คน❤️
ผลสวยมาก ❤️
🌿 ชื่อ : #ผักหวาน / #ผักหวานบ้าน
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่น : ผักหวาน (ทั่วไป), มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์), ผักหวานใต้ใบ (สตูล), ก้านตง จ๊าผักหวาน ใต้ใบใหญ่ ผักหลน (ภาคเหนือ), นานาเซียม (มลายู-สตูล), ตาเชเค๊าะ โถหลุ่ยกะนีเต๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
1
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sauropus androgynus (L.) Merr.
🌿 ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE (จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม)
🌿 ชื่อสามัญ : Star gooseberry
📌ต้น : จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 0.5-3 เมตร ลำต้นแข็งแตกกิ่งก้านระนาบไปกับพื้นหรือเกือบปรกดิน ลำต้นอ่อน กลม หรือเป็นเหลี่ยม เปลือกต้นขรุขระเป็นสีน้ำตาล ส่วนกิ่งอ่อนเป็นสีเขียวเข้มผิวเรียบ กิ่งเรียวงอเล็กน้อย ตามข้อ เจริญเติบโตได้ดีในที่ลุ่มต่ำที่มีความชื้นพอเหมาะ ดินร่วนชุ่มชื้นและระบายน้ำได้ดี สามารถพบได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าดิบชื้น ที่โล่งแจ้ง ตามเรือกสวน หรือตามที่รกร้างทั่วไป
☝🏻 ต้น ดอก ผล ผักหวานบ้าน☝🏻
📌ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปขอบขนาน หรือรูปคล้ายขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ลักษณะของแผ่นใบเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อทำให้แห้งใบจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ก้านใบมีขนาดสั้น มีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม
📌ดอก : ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกเป็นกระจุกตามซอกใบ เรียงไปตามก้านใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยวแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียว มีใบปรกอยู่ด้านบน ดอกมีขนาดเล็ก มี 2 ชนิด โดยตอนบนของกิ่งก้านจะเป็นดอกเพศเมีย ส่วนตอนล่างเป็นดอกเพศผู้ ดอกเพศเมียจะมีน้อยดอกเพศผู้ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน
📌ผล : เป็นรูปทรงกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเกือบ 2 เซนติเมตร ผลฉ่ำน้ำ ผิวผลเป็นพูเล็กน้อย ผลเป็นสีเขียวถึงสีขาว เมื่อแก่เต็มที่จะเป็นสีขาวอมเหลือง เมื่อแห้งแล้วจะแตกได้ ผลมีกลีบเลี้ยงสีแดงติดคงทนห้อยลงใต้ใบ ภายในผลแบ่งเป็นพู 6 พู ในแต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปครึ่งวงกลม เปลือกเมล็ดเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีความหนาและแข็ง
ผลน่ารักมากครับ 👍🏻
🌱สรรพคุณ🌱
✅ราก : รากมีรสเย็น เป็นยาลดไข้ แก้ไข้ ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รักษาอาการที่เกิดจากธาตุไฟ ได้แก่ โรคขางทุกชนิด และใช้รักษามะเร็งก้อนเนื้อหรือเนื้องอกที่ผิดปกติ ชะล้างฝีที่มีอาการร้อน รักษามะเร็งไฟ มะเร็งคุด สันนิบาตฝีเครือ รักษาคางทูม แก้อาการเจ็บในปาก ปากเหม็น แก้คอพอก รักษาโรคเลือดลม รักษาโรคอีสา แก้ขัด ไข้อีสุกอีใส แก้ไอ แก้ผิดสำแดง กินของแสลงที่เป็นพิษ แก้หัด ลดอาการบวม แก้มุตขึด
✅ต้น : แก้มะเร็งคุด ใช้เป็นยาพอก รักษาแผลในจมูก แก้โรคผิวหนังติดเชื้อ
✅ใบ : มีรสหวานเย็น บรรเทาความร้อนในร่างกาย ใช้เป็นยาทาป้ายแผลในปาก แก้ฝ้าขาวในเด็กทารก แก้ไข้ ใช้เป็นยาพอก รักษาแผลในจมูก ใช้เป็นยาพอกรักษาฝี แก้แผลฝี แก้อาการปัสสาวะออกน้อย ใช้เป็นยาประสะน้ำนม ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น แก้โรคผิวหนังติดเชื้อ ใช้ปรุงเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษ แก้บวม แก้หัด แก้อาการปวดเมื่อย ใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพสำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำนมของแม่ที่ไม่มีน้ำนมให้บุตร
✅ดอก : เป็นยาขับโลหิต
✅น้ำยาง : น้ำยางจากต้นและใบนำมาใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ
✅ทั้งนี้ทุกส่วนของต้นผักหวานบ้านยังสามารถ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพสำหรับสตรีหลังคลอด และการนำผักหวานมาใช้เป็นยาสมุนไพร ถ้าเป็นใบให้ใช้ใบสด ส่วนรากให้เก็บเมื่อมีอายุ 2 ปีขึ้นไป แล้วนำมาทำให้แห้งก่อนนำไปใช้
➕ประโยชน์อื่น➕
🔹ใบและยอดอ่อนเมื่อนำมาลวก ต้ม หรือนึ่ง กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ลาบ ปลานึ่ง หรือจะนำมาประกอบอาหาร หรือใช้เพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหารมีรสหวานตามธรรมชาติ เช่น แกงเลียง แกงอ่อม แกงส้ม แกงจืด แกงกับหมู แกงกับปลา แกงเขียวหวาน แกงกะทิสด แกงใส่ไข่มดแดง แกงเห็ด ผัดน้ำมันหอย ยำผักหวาน ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักหวาน ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นน้ำปั่นผักหวาน ชาผักหวาน หรือเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ ผักหวานบ้านเป็นผักที่มีวิตามินเอมากเป็นพิเศษ วิตามินเอนั้นมีประโยชน์กับสายตามาก และยังเป็นผักในจำนวนไม่มากนักที่มีวิตามินเค (วิตามินเคมีประโยชน์ในเรื่องการช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีบาดแผลแล้วเลือดออก ทำให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับวิตามินดีในการควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างเซลล์กระดูกและเนื้อเยื่อในไต) ผักหวานบ้านเป็นผักที่ช่วยในการขับถ่ายได้ดี ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้จากมลพิษทางอากาศ ช่วยในการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ
🔹ต้นผักหวานบ้านมีทรงพุ่มไม่ใหญ่โต ทรงกิ่งและใบดูงดงามคล้ายต้นมะยม มีใบเขียวตลอดปี มีดอกและผลห้อยอยู่ใต้ใบดูแปลกตาและสวยงาม อีกทั้งสีผลยังเป็นสีขาวตัดกับกลีบรองผลซึ่งเป็นสีแดง จึงมีความงดงามและดูเป็นเอกลักษณ์ จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในบริเวณบ้านได้ดี และยังใช้ปลูกเป็นพืชผักสวนครัวก็ได้ เพราะเมื่อเด็ดยอดแล้วก็ยังสามารถแตกยอดได้ใหม่ ยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง ใช้ประกอบอาหารหลากหลายเมนู อีกทั้งพรรณไม้ชนิดนี้ยังเพาะปลูกได้ง่ายและมีความแข็งแรงทนทานอีกด้วย
🔵คุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ (ยอดอ่อนหรือใบอ่อน) ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย
- พลังงาน 39 แคลอรี
- น้ำ = 87.1%
- โปรตีน = 0.1 กรัม
- ไขมัน = 0.6 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต = 8.3 กรัม
- ใยอาหาร = 2.1 กรัม
- เถ้า = 1.8 กรัม
- วิตามินเอ = 8,500 หน่วยสากล
- วิตามินบี 1 = 0.12 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 = 1.65 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 = 3.6 มิลลิกรัม
- วิตามินซี = 32 มิลลิกรัม
- แคลเซียม = 24 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส = 68 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก = 1.3 มิลลิกรัม
🔴ข้อควรระวัง🔴
ไม่ควรนำผักหวานบ้านมารับประทานแบบสดๆ ในจำนวนมาก ย้ำว่าในจำนวนมาก เนื่องจากผักชนิดนี้มีสาร Papaverine ที่เป็นพิษต่อปอด ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และท้องผูกได้ และยังมีรายงานว่าผู้ที่เป็นโรคเนื้อเยื่อปอดถูกทำลายชนิด bronchiolitis obliterans (SABO) syndrome นั้น สาเหตุมาจากการรับประทานผักหวานเป็นจำนวนมากเพื่อต้องการลดน้ำหนัก
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูล : Wikipedia
• ข้อมูล : medthai
• รูปภาพ : Google, Flickr
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว 🍃
โฆษณา