30 ส.ค. 2019 เวลา 07:58 • ไลฟ์สไตล์
The Environmental Crisis
วิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก
Ep2 Climate change / Global warming
ทำไมโลกถึงร้อนขึ้น?
หายไปนาน วันนี้เรากลับมาต่อเรื่องวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกอีกคร้ง ในหัวข้อ ทำไมโลกถึงร้อนขึ้น
ทุกคนรู้ว่าแหล่งความร้อนของโลกมาจากดวงอาทิตย์ นั่นหมายความว่ายิ่งมีคลื่นความร้อน รังสียูวีอยู่บนโลกมากเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นบนผืนโลก หรือในชั้นบรรยากาศ ยิ่งทำให้โลกร้อนขึ้น
โลกประกอบด้วยชั้นบรรยากาศ ทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นที่2 คือชั้น Stratosphere เป็นชั้นที่มีบทบาทต่อการเกิดโลกร้อนมากที่สุด เพราะมีชั้นโอโซน ทำหน้าที่กรองรังสียูวีไม่ให้เข้าสู่โลกมากเกินไป
ชั้นโอโซนจะประกอบด้วย กลุ่มออกซิเจนรวมตัวกัน อยู่ในชั้นบรรยากาศชั้นที่ 2 รังสียูวี ไอน้ำ กระแสลม ปัจจัยตามธรรมชาติต่างๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโอโซน ตามปกติโอโซนจะมีการแตกตัวของกลุ่มออกซิเจน หลังจากนั้นก็กลับมารวมตัวกันใหม่เป็นโอโซน เป็นกลไกที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ
Ozone hole ?
ในอดีตมีการใช้สาร CFC (Chlorofluorocarbon) ซึ่งเป็นสารทำความเย็น สารทำให้เกิดฟองในโฟม สารอัดทำให้เกิดแรงดันในกระป๋องสเปรย์
สารนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ 1928 โดย Thomas Migley Jr. และถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในวงการอุตสาหกรรมเคมี เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ในอดีตนั้นเรายังไม่ทราบว่าสารนี้ส่งผลร้ายแรงต่อโลก จนกระทั่ง ศาสตราจารย์ เอฟ เชอร์วูด โรว์แลนด์ (F.Sherwood Rowland) ได้ค้นพบว่าสาร CFC นี้เป็นสารที่ทำลายชั้นโอโซน
ภาพถ่ายหลุมโอโซนจากดาวเทียม NASA ตั้งแต่ปี 1979 (ซ้ายบน) ถึง ปี 2012 (ขวาล่าง) สีม่วงแสดงถึงพื้นที่โอโซนที่เบาบางไปจนถึงสีแดงที่มีโอโซนปริมาณมากขึ้นตามลำดับ
สาร CFC มาจากไหน?
สารทำความเย็นไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ในรถยนต์
สารที่ทำให้เกิดฟองในโฟม สารที่ทำให้เกิดแรงดันในกระป๋องสเปรย์ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะฉีดพ่น
ยาพ่นสำหรับผู้ป่วยหอบหืด ไม่ว่าจะเป็นแบบฉุกเฉินหรือแบบพ่นประจำ ก็มีการใช้สาร CFC เป็นตัวผลักดันยา
ถึงอย่างไรปัจจุบันมีการยกเลิกใช้สาร CFC ในอุตสาหกรรมเคมีแล้ว ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ มีการใช้ HCFC ซึ่งมีค่าการทำลายโอโซนน้อยกว่า มาใช้เป็นสารทำความเย็นแทน
ยาพ่นผู้ป่วยหอบหืด ถุงลมโป่งพองก็มีการใช้ HFA แทน ซึ่งไม่มีผลต่อการทำลายโอโซน
อย่างไรก็ตามการใช้สาร HCFC แทน CFC ก็ยังทำลายชั้นโอโซน แค่เพียงทำลายน้อยกว่า แต่หากมีการใช้เครื่องปรับอากาศ ตู็เย็นมากขึ้น การใช้สาร HCFC มากขึ้นก็ทำลายชั้นโอโซนได้น่ากลัวพอๆกัน
Green House Effect ภาวะเรือนกระจก?
เมื่อมีรังสียูวี คลื่นความร้อนจากดวงอาทิตย์ทะลุผ่านชั้นโอโซนมายังโลก ก๊าซบางชนิดจะทำหน้าที่ดูดคลื่นความร้อนนั้นไว้ ขณะเดียวกัน คลื่นความร้อนบางส่วนก็จะสะท้อนออกนอกโลก
หากมีก๊าซเหล่านี้ในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยรักษาความอบอุ่นบนโลกไม่ให้อุณหภูมิบนโลกต่ำเกินไป เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิต แต่หากมีก๊าซเหล่านี้ในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นข้อเสียได้ คือ จะเก็บความร้อนไว้ คลื่นความร้อน รังสียูสีสะท้อนกลับออกนอกโลกน้อยลง เรียกว่า ภาวะเรือนกระจก คือเหมือนอยู่ในกระจกที่ความร้อนถูกเก็บไว้ ไม่สะท้อนออกไป
Green house gas ก๊าซเรือนกระจก มาจากไหน มีอะไรบ้าง?
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบมากที่สุด การเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นผลิตกระแสไฟฟ้า หรือการขนส่ง
ก๊าซมีเทน
ส่งผลอันดับ 2 รองจากคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หรือการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต เป็นก๊าซที่พบได้ในภาคการเกษตร การทำสวน ไร่นา มีอายุเฉลี่ยสะสมในธรรมชาติ 11 ปี น้อยมากเมื่อเทียบกับ คา์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไนตรัสออกไซด์
สามารถพบได้ในธรรมชาติ แต่จากการศึกษาพบว่าแทบไม่มีผลกระทบต่อการเกิดโลกร้อน แต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมของมนุษย์ ทำให้ก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พบได้ในอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด เห็นได้ชัดว่า การผลิตพลาสติกนอกจากจะย่อยสลายยาก กระบวนการผลิตยังทำให้โลกร้อนอีกด้วย
ก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน
CFC นอกจากจะทำลายชั้นโอโซน ยังเป็นก๊าซเรือนกระจกกักเก็บรังสียูวีไว้บนผืนโลกอีกด้วย เป็นก๊าซที่สร้างมหันตภัยให้กับโลกจริงๆ
อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2530 ที่ได้มีการจัดทำสนธิสัญญามอนทรีออล
ว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน จุดประสงค์เพื่อให้หลายประเทศเลิกใช้สาร CFC ที่เป็นตัวการทำลายโลก ทำให้ CFC ลดลง40 % แต่ก็ยังมีสาร CFC บางส่วนที่เหลือค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำลายชั้นโอโซนอยู่
นอกจากนี้ยังมีพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จัดทำขึ้นที่กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ ปี2548
จุดประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 6 ชนิด
คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์
ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน และเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน
ภาวะโลกร้อนกลายเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมระดับโลก ที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ แต่ ...ถึงแม้จะมีพิธีสารเกียวโตก็พบว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละประเทศก็ยังไม่ลดลงเลย
จากรูป
ในประเทศไทย แหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันดับ 1 มาจาก การผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นจากก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือน้ำมัน
รองลงมาคือภาคการขนส่ง ยิ่งในปัจจุบันมีการสั่งสินค้าออนไลน์ การจัดส่งสินค้าจึงมีมากขึ้น การใช้เชื้อเพลิงน้ำมันก็ยิ่งมีมากขึ้น ยิ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนมากขึ้นเช่นกัน
แหล่งเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
อันดับ 1 คือก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 18.49
อันดับ 2 คือถ่านหิน คิดเป็นร้อยละ 8.41
การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานแยกรายชนิดเชื้อเพลิง ปี 2561
น้้ามันส้าเร็จรูปมีสัดส่วนการปล่อย CO2 สูงที่สุด คือร้อยละ 39.2
ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ร้อยละ 31.6
ลิกไนต์ ร้อยละ 29.2
ในปี 2561 ภาคการขนส่งมีการปล่อยก๊าซ CO2 อยู่ที่ระดับ 67.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 การปล่อย CO2 จากการใช้น้้ามันส้าเร็จรูป อยู่ที่ระดับ 63.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากปีก่อน
"ต้นไม้ ฮีโร่กู้โลกที่ถูกทำลายลงไปทุกที ๆ"
ชั้นโอโซนลดลง ก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ขณะเดียวกันการตัดไม้ทำลายป่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
ข้อมูลสัดส่วนต้นไม้กับปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ที่ต้นไม้ดูดซับได้ต่อปี จัดทำโดยกทม. เมื่อปี 2549 พบว่าเฉลี่ยต้นไม้ มี 3ล้านต้น สามารถดูดคาร์บอนไดออกไซต์ได้ประมาณ แสนตัน แต่ขณะที่ประชากรปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา 42ล้านตัน
กรุงเทพมหานครมีไม้ยืนต้นประมาณ 3 ล้านต้น (พ.ศ.2549) สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 27,000 ตันต่อปี เมื่อรวมต้นไม้อื่นๆ ที่ปลูกในพื้นที่เอกชนและพื้นที่นอกเหนือการดูแลของกรุงเทพ มหานครเข้าด้วยกันแล้ว คาดว่า ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้นไม้ทั้งหมดในกรุงเทพมหานครสามารถดูดซับได้รวมกัน ไม่น่าจะเกิน100,000 ตันต่อปี
เมื่อพิจารณาแหล่งของคาร์บอนได ออกไซด์ทุกแหล่ง ผนวกกับแหล่งเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ตลอดจนการดูดซับโดยตรงรวมกันด้วยแล้วกรุงเทพมหานครจะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิออกมาประมาณ 42.65 ล้านตันต่อปี
- ชั้นโอโซนถูกทำลายลงไปทุกๆที่ -
- ปริมาณก๊าซเรือนกระจก คาร์บอกไดออกไซด์ มีมากขึ้น แบบฉุดไม่อยู่
- ป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป้นจากมนุษย์เอง หรือ ภัยจากธรรมชาติ
ยังมีอีกหลายอย่างที่เราต้องรู้เกี่ยวกับโลกของเรา
จริงๆ ยังมีอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่เราอยากเล่า
ทีแรกคิดว่าจะพุ่งประเด็นไปที่ วิธีกู้โลก ไปเลย แต่คิดว่า อยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นมุมมองวิกฤตโลกร้อนให้กว้างขึ้น
ข้อมูลที่เราเอามาเล่าในวันนี้ เพื่อนๆ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ เราจะแปะลิงค์บางส่วนไว้ให้ เพราะเราหาข้อมูลจากหลายที่เยอะมากๆ
ตอนหน้า เราจะมาเล่า เรื่องน่ารู้ที่คุณค;รจะรู้เกี่ยวกับโลกร้อนให้ฟังใหม่ และสุดท้าย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะทำให้เพื่อนๆ คนรอบข้างของเพื่อนๆ ได้ตระหนัก รักโลกมากขึ้น ใครที่เริ่มแล้วก็ขอให้ทำต่อไป ใครที่ยังไม่เริ่ม เราก็ขอเป็นกำลังใจให้
Save world save life together
file:///C:/Users/SNEPSOUL/Downloads/YYYYYYYYYYY_2561_edit2.pdf สรุปการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของไทย
ขออ้อนหน่อย >>
ช่วยเป็นกำลังใจ กดไลค์ กดดาว กดแชร์ ติดตามเราเยอะๆนะ
สัญญาจะพยายามหาเวลามาเล่าเรื่องราวดีๆให้ฟังเยอะๆ
ช่วงนี้ขอเป็นซีรีย์เรื่องรักโลกก่อนล่ะกัน ..
โฆษณา