31 ส.ค. 2019 เวลา 01:15 • การศึกษา
มาต่อด้วย ส ถ า นะ พ ล า ส ม า กันต่อตามความเรียกร้อง📢📢
ขอบคุณภาพจาก http://www.nsm.or.th/other-service/669-online-science/knowless-inventory/sci-vocabulary/sci-vocabulary-science-museum/108-plasma.html
กล่าวโดยสั้นๆ พลาสมา ก็คือ แก๊สที่มีสภาพเป็นไอออน หรือแก็สมีประจุ
เมื่อปี ค.ศ. 1879 เซอร์ วิลเลียม ครูกส์ (Sir William Crookes) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้มีการกล่าวถึงสถานะนี้เป็นครั้งแรก
และในปี ค.ศ. 1928 เออร์วิง แลงเมียร์ (Irving Langmuir) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่เรียกสถานะของสสารนี้ว่า 'พลาสมา' เนื่องจากเขานึกถึงพลาสมาของเลือด
การทำให้เกิดสถานะพลาสมา ทำได้โดยให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูงกับแก๊สที่เป็นกลางทางไฟฟ้าที่อุณหภูมิสูง ซึ่งอิเล็กตรอนอิสระที่ได้รับพลังงานสูงจะวิ่งเข้าชนกับอะตอมของแก๊ส ทำให้อิเล็กตรอนของอะตอมแก๊สหลุดออกมา ซึ่งเป็นกระบวนการแตกตัวเป็นไอออน (ionization) อะตอมของแก๊สที่สูญเสียอิเล็กตรอนก็จะมีสภาพเป็นไอออน หรือมีสถานะเป็นพลาสมา
ขอบคุณภาพจาก https://medium.com/vcharkarndotcom/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C-d33973019f5c
เงื่อนไข 3 ประการ คือ ความยาวคลื่นเดอบาย จำนวนอนุภาค และความถี่พลาสมา ซึ่งทำให้พลาสมามีความจำเพาะเจาะจงที่แตกต่างจากสถานะอื่นออกไป
พลาสมาถูนำมาใช้ประโยชน์มากมาย
# พลาสมาฆ่าเชื้อในอุปกรณ์ทางการแพทย์
# กระตุ้นให้เกิดเนื้อเยื่อภายในผิวหนังที่แข็งแรงกว่าเดิม
#เลเซอร์พลาสมา ใช้ตัดชิ้นส่วนโลหะที่ต้องการได้ในทางอุตสาหกรรม
#พลาสมาในหลอดไฟฟลูออร์เรสเซนต์
นี่เป็นเพียงตัวอย่างการนำเอาพลาสมามาใช้ประโยชน์
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ🙏😁
โฆษณา