1 ก.ย. 2019 เวลา 11:33 • สุขภาพ
5️⃣4️⃣ อะไรเอ่ย⁉️
เห็นบ่อยใน "แกงใต้"⁉️
เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคน😍
ดอกขี้เหล็ก ❤️
🌿 ชื่อ : #ขี้เหล็ก
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่น : ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง,สุราษฎร์ธานี), ผักจี้ลี้ แมะขี้แหละพะโด (แม่ฮ่องสอน), ยะหา (ปัตตานี), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้)
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin & Barneby
🌿 ชื่อวงศ์ : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE (จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว )
🌿 ชื่อสามัญ : Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod
🔵ต้น : เป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกมีสีเทาถึงน้ำตาลดำแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ ส่วนลักษณะของผลขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นฝักแบนกว้าง มีความหนา มีสีน้ำตาล มีเมล็ดหลายเมล็ด
🔵ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบเป็นสีเขียวเข้ม ที่ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ปลายใบเว้าตื้น โคนใบมน ขอบและแผ่นใบเรียบ
🔹คุณค่าทางโภชนาการ
🔹ใบขี้เหล็ก 100 กรัม
- เบต้าแคโรทีน 1.4 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 156 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม
- เส้นใยอาหาร 5.6 กรัม
- โปรตีน 7.7 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม
- พลังงาน 87 กิโลแคลอรี
🔵ดอก : จะออกดอกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง มีดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลม ปลายมน กลีบดอกปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้หลายเกสร และในบรรดาผักผลไม้ไทยทั้งหลาย ดอกขี้เหล็กก็จัดเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมากที่สุดเป็นอันดับ 1
🔹คุณค่าทางโภชนาการ
🔹ดอกขี้เหล็ก 100 กรัม
- วิตามินซีมากถึง 484 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 0.2 กรัม
- ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม
- เส้นใยอาหาร 9.8 กรัม
- โปรตีน 4.9 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม
- พลังงาน 98 กิโลแคลอรี
ต้นขี้เหล็ก 👍🏻
🌍ขี้เหล็กนั้นเดิมเป็นไม้ในบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นับจากหมู่เกาะต่างๆ ของประเทศอินโดนีเซียไปจนกระทั่งถึงประเทศศรีลังกาต่อมามีผู้นำเอาไม้ขี้เหล็กไปปลูกในบริเวณต่างๆ สำหรับในประเทศไทยเราจะพบไม้ขี้เหล็กในแทบทุกจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคใต้ ชาวบ้านนิยมปลูกไม้ขี้เหล็กเป็นไม้ให้ร่มและเป็นไม้ประดับ
🌍ขี้เหล็กเป็นพืชผักสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามตลาด นอกจากจะนำมาใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานแล้ว ในตำราการแพทย์แผนไทยยังได้มีการใช้ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยกำจัดรังแค ทำความสะอาดผมทำให้ผมชุ่มชื่นเงางาม เป็นต้น และนอกจากนี้ขี้เหล็กยังมีสาร "บาราคอล" (Baracol) ที่มีฤทธิ์ในการกล่อมประสาท และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ ทำให้นอนหลับสบาย แต่ก็ใช่ว่ามันจะได้ผลอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะในกระบวนการปรุงอาหารให้ปลอดภัยก็ต้องต้มน้ำทิ้งเสียก่อน เพื่อลดความขมและความเฝื่อน ทำให้ความเป็นพิษและฤทธิ์ดังกล่าวลดน้อยลงไปด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ดอก ใบ ใบแก่ ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น ลำต้น กิ่ง แก่น ทั้งต้น และราก
🌱สรรพคุณ🌱
🔸ใบ : รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต ดับพิษโลหิต แก้นอนไม่หลับ เป็นยาระบาย ทำให้นอนหลับ รักษาฝีมะม่วง ขับพยาธิ
🔸ดอก : รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบาย รักษาโรคโลหิตพิการ ขับพยาธิ
ฝัก : รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ แก้พิษเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง
🔸ลำต้น : เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว
🔸เปลือกฝัก : รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัย
🔸เปลือกต้น : รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคหิด
🔸กระพี้ : รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น แก้ร้อนกระสับกระส่าย บำรุงโลหิต คุมกำเนิด
🔸แก่น : รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชา แก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตา แก้กามโรค หนองใส
🔸ราก : รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ รักษาแผลกามโรค รักษาโรคเหน็บชา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง
เตรียมพร้อม ☝🏻
➕ประโยชน์อื่น➕
- เนื้อไม้ใช้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น เสา รอด ตง เครื่องเรือนอย่างดี เป็นฟืนให้ความร้อนดี ถ้าใช้เป็นถ่านจะให้ความร้อนสูง
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจากขี้เหล็กเป็นพรรณไม้ปรับปรุงดิน เนื่องจากใบมีธาตุไนโตรเจนสูง ช่วยปกคลุมดินและความชื้นได้ดี เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกเป็นป่าอนุรักษ์ในที่ที่มีความชื้นปานกลางถึงสูง
- ดอกและดอกอ่อนใช้รับประทานได้ นิยมนำไปใช้ทำแกงขี้เหล็ก
- ใบแก่ใช้ทำปุ๋ยหมักได้
🔴โทษของขี้เหล็ก🔴
การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือด เทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงอีกด้วย
👍🏻สรุปแล้วสมุนไพรขี้เหล็กนี้มีประโยชน์มาก ถึงรสชาติจะขม ไม่ค่อยถูกปากหรือถูกใจบ้าง แต่ถ้ามีโอกาสลองทานดูก็ไม่เสียหายนะครับ เพราะขี้เหล็กมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และบำรุงรักษาสายตา ทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นอีกดด้วย สำหรับเพื่อนๆ ถ้าผ่านร้านอาหารใต้ ลองแวะซื้อกลับมาทานดูนะครับ ถึงรสชาติจะไม่ถูกใจเพื่อนๆบ้าง แต่ทานไว้บ้าง เป็นประโยชน์ต่อร่างกายครับ
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูลบางส่วน : Wikipedia
• ข้อมูลบางส่วน : medthai
• รูปภาพบางส่วน : Google
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว ~ นายอู๋ 🍃
โฆษณา