3 ก.ย. 2019 เวลา 12:52 • สุขภาพ
5️⃣5️⃣ 🔸ลักษณะ เป็นก้อน หรือเป็นเกล็ด
🔸บ้างเป็นเม็ด ไร้สี ไม่มีกลิ่น
🔸ได้รสชาติ ออกเค็ม เมื่อลองกิน
🔸บางคนฟิน บางคนอี๋ มีมากมาย
นาเกลือ / Photo By Google
🤔หลังจากอ่านกลอนจบแล้ว⁉️
🤔เพื่อนๆ อาจจะรู้ว่า ผมจะกล่าวถึงอะไร⁉️
🤔วันนี้ผมจะพูดถึง "เกลือ" นั่นเอง⁉️
⭐️ #เกลือ (Salt) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sodium chloride (โซเดียมคลอไรด์) มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหารเป็นส่วนใหญ่ เกลือคือแร่ธาตุ ที่มีรสเค็ม และยังเป็นสมุนไพรประเภทแร่ธาตุ หรือธาตุวัตถุ เกลือนิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นอกจากจะนำไปประกอบอาหารหรือถนอมอาหารแล้ว เกลือยังนำมาใช้ในด้านสมุนไพรและการรักษาโรคอีกด้วย
เกลือ (Salt) / Photo By Google
✅โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะรู้จักเกลือกันอยู่สองประเภทหลักๆ เลยคือ เกลือสินเธาว์ และเกลือสมุทร แต่รู้หรือไม่ว่า เราสามารถแบ่งประเภทใหญ่ๆ ของเกลือได้ถึง 4 ประเภท ตามลักษณะที่มาของเกลือได้ด้วย คือ
👉1.เกลือสินเธาว์ (Rock Salt)
เป็นเกลือที่ได้มาจากการสูบน้ำเค็มจากใต้ดินขึ้นมา หรือการอัดน้ำลงไปในดินที่มีหินเกลือใต้ดิน ทำการละลายและสูบขึ้นมาหลังจากนั้นนำมาการต้มและเคี่ยวในกระทะให้แห้งเป็นเกล็ดเล็กๆ หรือที่เราเห็นว่าเกลือที่บรรจุลงถุงเล็กๆ ตามตลาดนั่งเองครับ แต่เกลือสินเธาว์นั้น ไม่มีไอโอดีนในตัวเลยจึงไม่เหมาะแก่การบริโภค หรือถ้าจะนำมาใช้ทำอาหารมักนำมาใช้กับเมนูอาหารที่ต้องใช้เกลือในปริมาณมากๆ เช่น การพอกเนื้อสัตว์ก่อนนำไปอบ
👉2.เกลือสมุทร (Sea Salt)
เป็นเกลือที่ได้จากการนำน้ำทะเลมาตากแดดให้น้ำทะเลระเหยออกไปจนเหลือเพียงผลึกสีขาว แต่จะผลิตได้แค่ในฤดูร้อนเท่านั้น ทำให้เกลือทะเลมีปริมาณที่ไม่แน่นอน และอาจราคาสูงขึ้น ทำให้ต้องบรรจุเกลือถุงเล็กๆ ในเกลือทะเลมีไอโอดีนตามธรรมชาติผสมอยู่ในผลึกเกลือ ทำให้ผู้ที่บริโภคเกลือทะเลจะไม่ขาดสารไอโอดีนแน่นอน
👉3.เกลือนำเข้าจากต่างประเทศ (Imported Salt)
เป็นเกลือที่ไม่มีการผลิตในประเทศไทย จะมีเฉพาะในต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งเราต้องนำเข้ามา รสชาติความเค็มและสีจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละภูมิภาคของแต่ละประเทศ บางครั้งเกลือที่นำเข้ามามักเป็นเกลือที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่นและมีรสชาติที่เฉพาะตัว
1
👉4.เกลือที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่น (Flavoured Salt)
เป็นการนำเกลือธรรมดาๆ มาปรุงแต่งกลิ่นรสให้เกิดความหลากหลายทางด้านรสชาติ เช่น เกลือกลิ่นเห็ดทรัฟเฟิล เกลือกลิ่นกระเทียม เกลือกลิ่นผงกะหรี่ ซึ่งเราสามารถทำเกลือกลิ่นรสต่างๆ ได้เองอีกด้วย เช่น เกลือกลิ่นวนิลา เกลือกลิ่นพริกมะนาว นอกจากนี้ยังมีเกลือกลิ่นซอสพริกศรีราชาอีกด้วย
เกลือชนิดต่างๆ / Photo By Google
🔵ชนิดของเกลือ🔵
#เกลือ สำหรับปรุงอาหารมีหลายชนิด ซึ่งคนมักจะคิดว่าเกลือเป็นเม็ดสีขาวละเอียดแบบที่เราใช้กันตามบ้านทั่วๆ ไป ผมจะพาเพื่อนๆ มาดูกันว่าเกลือที่เราใช้สำหรับทำอาหารมีกี่ชนิดและเหมาะกับทำอาหารอะไรบ้าง เรามาดูกันครับ
เกลือโคเชอร์ (Kosher Salt) / Photo By Google
🔹1.เกลือโคเชอร์ (Kosher Salt)
นิยมใช้ในการทำอาหาร เป็นเกลือที่ละลายได้ค่อนข้างเร็ว แต่จะมีเกล็ดที่ใหญ่กว่าเกลือปกติที่เราใช้กันในบ้าน ดังนั้นตอนที่ใช้ต้องระวังเรื่องปริมาณในการใส่ด้วย และเกลือชนิดนี้มักโรยบนอาหารเมื่อปรุงเสร็จใหม่ๆ เช่น โรยบนหมูอบ ป๊อปคอร์น หอมทอด และเฟรนช์ฟราย
เกลือบริโภค (Table Salt) / Photo By Google
🔹2.เกลือบริโภค (Table Salt)
เป็นเกลือที่เราทุกๆ คนคุ้นเคยดี เพราะมันคือเกลือที่เราใช้ปรุงอาหารกันในครัวเรือนนี่แหละ มักจะเป็นเกลือที่มีการเสริมไอโอดีนลงไปเพื่อป้องกันการเกิดโรคคอหอยพอก และยังมีการใส่สารป้องกันการจับตัวรวมกันเป็นก้อนลงไปอีกด้วย เพื่อป้องกันเกลือดูดน้ำเข้ามาจนทำให้เกลือเกาะกันเป็นก้อน และยังทำให้เราสามารถเทเกลือได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
1
เกลือหิมาลายันสีชมพู (Himalayan Pink Salt) / Photo By Google
🔹3.เกลือหิมาลายันสีชมพู (Himalayan Pink Salt)
มีทั้งผลึกสีขาวใสอมชมพูเล็กน้อย ไปจนถึงสีชมพูเข้ม ซึ่งเกิดจากธาตุเหล็ก ส่วนเฉดสีที่ต่างกันขึ้นอยู่กับแร่ธาตุอื่นๆ ที่ปะปนอยู่เนื้อหิน ซึ่งเกลือชนิดนี้มีแร่ธาตุที่คนเราต้องการมากถึง 84 ชนิด เกลือหิมาลายันนิยมนำมาปรุงอาหารหรือโรยบนอาหารที่เพิ่งปรุงเสร็จใหม่ๆ และยังช่วยปรับรสชาติของอาหารให้อร่อย กลมกล่อมและมีกลิ่นรสที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น คนส่วนใหญ่มักจะนำไปกินคู่กับสเต๊ก นอกจากนี้ยังนิยมนำมาใช้ในการทำสปาอีกด้วย
🔴 ซึ่งเกลือชนิดนี้ผมเคยเขียนไปในบทความก่อนหน้านี้ ใครสนใจรายละเอียด อ่านย้อนหลังได้ใน ซีรีย์ สมุนไพรประเภท "ธาตุวัตถุ" ได้เลยครับ
เกลือลาวา (Hawaiian Black Lava Salt) / Photo By Google
🔹4.เกลือลาวา (Hawaiian Black Lava Salt)
เป็นเกลือที่ได้จากการเติมผงถ่านจากกะลามะพร้าวลงไป ทำให้เม็ดเกลือมีสีดำเป็นธรรมชาติ โดยเชื่อกันว่า ผงถ่านช่วยกำจัดและต่อต้านสารพิษที่อยู่ในร่างกายได้ ลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก รสเค็มกำลังดี นิยมใช้โรยอาหารประเภทสเต๊ก เนื้อย่าง สลัดผัก ซูชิ ไก่ย่างเทริยากิ และเต้าหู้
เกลือหมักดอง (Pickling Salt) / Photo By Google
🔹5.เกลือหมักดอง (Pickling Salt)
เป็นเกลือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเกลือบริโภค แต่มีเกล็ดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย และมีรสชาติที่เค็มกว่ามาก ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้ในการปรุงอาหารมากสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่เราจะเห็นการใช้เกลือชนิดนี้ในการถนอมอาหารต่างๆ เช่นการดองผักต่างๆ
ดอกเกลือ (Fleur de sel) / Photo By Google
🔹6.ดอกเกลือ (Fleur de sel)
เป็นเกลือที่ลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำทะเลในนาเกลือ จะมีคุณค่าทางอาหารที่สูงกว่าในเกลือปกติทั่วไป แต่ดอกเกลือจะมีปริมาณที่น้อยเพราะต้องอาศัยจังหวะและเวลาในการจัดเก็บผลผลิต เหมาะกับการนำไปโรยบนอาหารหรือใช้จิ้มกับผักผลไม้ เช่น มะเขือเทศฝาน หรือเมลอน หรือจะนำไปทำขนมหวานก็ได้
เกลือรมควัน (Smoked salt) / Photo By Google
🔹7.เกลือรมควัน (Smoked salt)
เกิดจากการนำเกลือทะเลมารมควันกับไม้ต่างๆ ใช้เวลารมควันเกลือมากถึง 14 วัน ไม้ที่นิยมใช้ จะเป็นไม้แอปเปิล หรือไม้โอ๊ก มักจะนำเกลือชนิดนี้ไปใช้กับอาหารที่ผ่านการรมควันมาเพื่อเพิ่มกลิ่นรสของอาหารให้เด่นชัดมากขึ้น
เกลือทะเลเซลติก (Celtic Sea Salt) / Photo By Google
🔹8.เกลือทะเลเซลติก (Celtic Sea Salt)
เกลือชนิดนี้จะมีลักษณะหยาบและมีสีเทา หรือในบางประเทศจะเรียกเกลือชนิดนี้ว่า Grey salt ได้มาจากน้ำทะเลเซลติกในประเทศฝรั่งเศส ไม่ผ่านการฟอกสี ผลิตแบบกรรมวิธีโบราณ ด้วยวิธีนี้สามารถคงแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกายคนเราไว้ได้กว่า 80 ชนิด ส่วนมากเราจะนิยมนำเกลือชนิดนี้มาอบปลาหรืออบกับเนื้อวัว
เกลือกลิ่นทรัฟเฟิล (Truffle Salt) / Photo By Google
🔹9.เกลือกลิ่นทรัฟเฟิล (Truffle Salt)
เป็นเกลือที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวจากเห็ดทรัฟเฟิล มักใช้ในการปรุงรสชาติของอาหารยุโรป จะใช้ในช่วงฤดูของเห็ดทรัฟเฟิล หรืออาจใช้ในช่วงเวลาพิเศษๆ และยังเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารได้อีกด้วย เช่น นำไปโรยหน้าบนพาสต้า หรือนำไปหมักกับเสต๊ก แต่หลายๆ คนอาจะนำไปกินคู่กับชีส
เกลือกลิ่นกระเทียม (Garlic Salt) / Photo By Google
🔹10.เกลือกลิ่นกระเทียม (Garlic Salt)
เป็นเกลือที่นำมาผสมกับกระเทียม เพื่อให้ได้กลิ่นที่หอมของกระเทียม มักนำไปโรยกับของทอดต่างๆ เช่น ปีกไก่ทอด เฟรนช์ฟราย หรือจะนำไปทำกับข้าวรสชาติเด็ดๆ อย่างเมนู กุ้งคั่วพริกเกลือ ก็ได้
1
🧪สารเคมีที่พบในเกลือปกติทั่วไป เน้นย้ำว่าเกลือปกติทั่วไป
(ไม่นับรวมเกลือบางจำพวก เช่น เกลือหิมาลายันสีชมพู, เกลือทะเลเซลติก เป็นต้น เพราะเกลือชนิดนี้ มีแร่ธาตุมากกว่าเกลือปกติ)
- โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride)
- โปแตสเชียม (Potassium)
- แมกเนเชียม (Magnesium)
- แคลเซียม (Calcium)
🧪โซเดียมจะถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อปริมาณน้ำในร่างกาย เกลือจะถูกขับออกนอกร่างกายผ่านทางการทำงานของไต ทางปัสสาวะและเหงื่อ เกลือเป็นสารสำคัญในการสร้างกรดของร่างกาย
👍🏻การกินเค็มนั้นมีประโยชน์ ดังนี้
- ช่วยปรับระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เพิ่มความอยากรับประทาน มากขึ้น
- ช่วยปรับระดับเกลือแร่ในร่างกายให้เกิดความสมดุล
- เกลือช่วยทำความสะอาด และกำจัดคราบต่างๆได้
⛔️ข้อควรระวัง⛔️
แต่การกินเค็มมาก หรือกินอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือมากจนเกินไป มันก็จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายของเราเช่นกันครับ เช่น ทำให้ไตทำงานหนัก ส่งผลต่อเลือด และระบบการกรองของเสียออกจากร่างกาย ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ ต้องลดการกินอาหารเค็ม เพราะจะทำให้ระดับน้ำในร่างกายสูง ผู้หญิงที่อยู่ช่วงก่อนมีประจำเดือน ควรงดรับประทานเกลือ เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำและท้องอืด การรับประทานอาการที่มีเกลือมากๆ การชอบกินเค็ม ทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานหนักขึ้น เพื่อกำจัดเกลือ ผนังกระเพาะอาหารอักเสบ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรลดเกลือ หากร่างกายได้รับเกลือมากเกิน จะเพิ่มความดันโลหิตใรร่างกาย ผู้สูงอายุ และคนที่มีผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ต้องลดการกินอาหารเค็ม
1
เกลือ (Salt) / Photo By Google
😍เป็นยังไงบ้างครับ ได้รู้จักเกลือมากขึ้นเยอะเลยใช่ไหมครับ คราวนี้อยากรู้หรือยังล่ะ ว่าสรรพคุณของเกลือในทางสมุนไพร ทางยา หรือการรักษาโรคนั้นมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยครับ
🌱สรรพคุณ🌱
- เกลือมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น รสเค็ม
- ดับร้อน ถอนพิษ ช่วยระบาย
- ระงับการอาเจียน แก้เจ็บคอ
- แก้คอแห้ง ลดการกระหายน้ำ
- ช่วยให้ปัสสาวะมากขึ้น แก้ท้องผูก
- รักษาโรคเหงือกและฟัน รักษาเลือดออกตามไรฟัน
1
- แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ล้างแผล
- รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการคัน
- แก้ตาแดง ป้องกันผมร่วง
- รักษาโรคกระเพาะ แก้เผ็ด
➕เพิ่มเติม➕
ในตำรายาไทย มีกล่าวถึง "เกลือสินเธาว์" ไว้ว่า
➖ มีรสเค็ม ทำลายพรรดึก (แก้ท้องผูก)
➖ ชำระล้างเมือกในลำไส้ ขับพยาธิในท้อง
➖ แก้ระส่ำระสาย แก้สมุฎฐานตรีโทษ
➖ ละลายนิ่ว ถ่วงเสมหะให้ลงเบื้องต่ำ
➖ รักษาเนื้อหนังไม่ให้เน่าเปื่อย
➖ แก้น้ำดีพิการ บำรุงธาตุทั้ง 4
➖ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ปัสสาวะพิการ
➕ "เกลือสินเธาว์" จัดอยู่ในพิกัด “เกลือทั้งห้า” คือการจำกัดจำนวนของเกลือ ซึ่งประกอบด้วยเกลือ 5 ชนิด ในอัตราส่วนเท่ากัน ได้แก่ เกลือสินเธาว์ เกลือพิก เกลือวิก เกลือฟอง(ฝ่อ) และเกลือสมุทรี สรรพคุณ แก้ไข้พรรดึก แก้ท้องมาน แก้เสมหะ แก้บิดมูกเลือด บำรุงน้ำเหลือง ชำระเมือกมันในลำไส้
➕ "บัญชียาจากสมุนไพร" ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้เกลือสินเธาว์ในตำรับ “ยาประสะไพล” มีส่วนประกอบของเกลือสินเธาว์ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร ในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเกลือสินเธาว์ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา เป็นตัน
➕ ก่อนนำเกลือมาปรุงยา มักนำเกลือมาสะตุก่อน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค และกำจัดความชื้น โดยผ่านการคั่วที่อุณหภูมิสูงจนความชื้น และน้ำระเหยออกไปหมด
🔴 "การสะตุ" คืออะไร เพื่อนๆ สามารถย้อนไปดูบทความเกี่ยวกับ "การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์" ได้ในซีรีย์ "ตำรับตำรายาไทย"
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูล : Wikipedia
• ข้อมูล : fongza.com
• ข้อมูล : thai-remedy.com
• ข้อมูล : Wongnai/pim.tp
• รูปภาพ : Google
• รูปภาพ : honestdocs
• รูปภาพ : matichon
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว 🍃
โฆษณา