5 ก.ย. 2019 เวลา 15:28 • ความคิดเห็น
ตั้งเป้าหมายชีวิตด้วยหลักการทำให้น้อยแต่สม่ำเสมอ
ทำไมต้องทำให้น้อย ?
ถ้าพูดกันตามตรงตามหลักร่างกายและสมองของมนุษย์นั้น
ลึกๆแล้วสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์นั้นล้วนแต่
"ขี้เกียจ"
ใช่ครับ อ่านไม่ผิด กลับไปอ่านอีกรอบ ก็ยังเป็นคำเดิมอยู่ดี
ที่โลกสามารถพัฒนามาได้เรื่อยๆจนถึงทุกวันนี้ก็มาจากสิ่งที่เรียกว่า "ความขี้เกียจ" ทั้งนั้นเลยครับ
เราขี้เกียจเดิน เราจึงประดิษฐ์รถขึ้นมา 1 คัน
เราขี้เกียจไปเขียนจดหมายหากัน ก็เกิดเป็นเทคโนโลยี ไลน์ แชท เฟสบุ้ค ต่างๆมากมาย
จะว่าเจ้าความขี้เกียจที่ว่ามานั้น มันก็มีดีไม่ใช่ย่อยนะครับ
"เพราะมันทำให้เราพัฒนามาได้จนถึงทุกวันนี้"
กลับมาที่การตั้งเป้าหมาย
ทำไมการตั้งเป้าหมายให้ใหญ่แต่วิธีที่ทำควรทำให้เล็ก
เพราะนั่นเป็นการ "หลอกสมอง"
สมองของเราจะถูกหลอกว่าจริงๆแล้วเราทำแค่หน่อยเดียวเอง ทำๆไปซะให้เสร็จ
ถ้าเราตั้งเป้าหมายว่าใน 1 อาทิตย์เราจะอ่านหนังสือพัฒนาตัวเองให้จบ 2 เล่ม โดยหนังสือ 2 เล่มนั้นรวมกันมีทั้งหมด 400 หน้า
ถ้าสมองเรารับรู้ปุ้ปโอ้โห 400 หน้า
สรุปคือเราจะไม่อ่าน เพราะมันสร้างความรู้สึกขี้เกียจไปแล้ว
แต่ถ้าเราตั้งว่า
"เราจะอ่านให้ได้วันละ 30 หน้า ตกชั่วโมงละ 2 หน้า"
ง่ายดีแหะ แค่ 1 ชม หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน
สมองจะคิดว่า ง่ายกว่าวิธีการแรกเยอะ ลองทำดีกว่า
แน่นอนครับ "ผลลัพธ์ต่างกันอย่างแน่นอน"
หลักการที่ผมอธิบายไปเป็นทักษะที่ควรฝึกฝนเป็นอย่างยิ่ง
โดยสามารถไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆได้เช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน ความสัมพันธ์ การออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งชีวิตส่วนตัว
ลองดูครับ
ไม่เสียหายอะไร
ถ้ามีใครลองทำแล้วมันเวริค์ หรือเคยลองวิธีนี้มาก่อน ลองเอามาแชร์กันได้ที่ใต้คอมเม้นต์นี้เลยนะครับ
เผื่อว่าจะมีคนสนใจเอาแนวคิดของคุณผู้อ่านไปใช้บ้าง
ถ้าชื่นชอบบทความ อย่าลืม "กดไลค์" และ "กดติดตาม" เพจ สรุปของฉันในวันนี้เอาไว้ด้วยนะครับ
จะได้ไม่พลาดบทความดีๆต่อไปที่เอามาให้อ่านกันเน้าะ
โฆษณา