7 ต.ค. 2019 เวลา 14:32 • สุขภาพ
033 🍂Durian 🍂มาจากคำว่า "ดูริ" ผลไม้มลายูแปลว่า "หนาม" ต่อมาสำเนียงเปลี่ยนกลายเป็น "ทุเรียน" ไปซะงั้น
https://mgronline.com/travel/detail/9590000058380
เรื่องราวของทุเรียนแม้ไม่ใช่ผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากเมืองไทยแต่ก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีมูลค่าสูงจนได้ชื่อว่า "ราชาแห่งผลไม้ไทย"
ที่มีความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยา
https://board.postjung.com/1116712
เมื่อครั้งที่ เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur de la Loubre) นักบวชนิกายเยซูอิต เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เพื่อมาเจรจาทำสัญญาทางด้านการค้ากับไทยอีกคราวหนึ่ง จนเป็นผลสำเร็จ เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ ซึ่งเป็นนักการทูต และนักเขียน ที่มีชื่อเสียง ได้บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็น เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย รวมทั้งเกษตรกรรม ของเมืองไทยบางส่วน และนำไปเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยอยุธยา ในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. 2336 มีขนาดความยาว 2 เล่ม
ในเรื่องที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมของไทย
https://m.se-ed.com/Product/Detail/9786167146607
ตอนหนึ่งได้ระบุเรื่องเกี่ยวกับทุเรียนไว้ว่า"ดูเรียน"
(Durion)ชาวสยามเรียกว่า “ทูลเรียน” (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้ แต่สำหรับข้าพเจ้า ไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของมันได้ ผลมีขนาดเท่าผลแตง มีหนามอยู่โดยรอบ ดูๆ ไป ก็คล้ายกับขนุนเหมือนกัน มีเมล็ดมาก แต่เมล็ดใหญ่ขนาดเท่าไข่ไก่ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กิน ภายในยังมีอยู่อีกเมล็ดหนึ่ง ถือกันว่า ยิ่งมีเมล็ดในน้อย ยิ่งเป็นทูลเรียนดี อย่างไรก็ตาม ในผลหนึ่งๆ ไม่เคยปรากฏว่า มีน้อยกว่า สามเมล็ดเลย
ภาพลายเส้นต้นทุเรียน ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองฯแห่งราชอาณาจักรสยาม
จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหน และโดยวิธีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่า เป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง
https://www.duriannon.com/13771276
พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมากรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 โดยประมาณ และ มีการทำสวนทุเรียนที่ตำบลกร่าง ในคลองบางกอกน้อยนอใน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2397 ในระยะแรก เป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอนจากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาต ทองสุข และ การะเกตุ ผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง 3 พันธุ์ ไม่ได้ จำเป็นต้องใช้เมล็ดของทั้งสามพันธุ์เป็นพันธุ์ปลูก ทำให้เกิดทุเรียนพันธุ์ลูกผสมขึ้นมากมาย
1
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีทุเรียนเพียงไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด เช่น หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง เกษตรกรจึงตัดโค่นทุเรียนพันธุ์อื่นๆ ที่มีอยู่ในสวนของตน และ ปลูกเฉพาะพันธุ์ที่ตลาดต้องการ นับเป็นการสูญเสียแหล่งพันธุกรรมของทุเรียนที่มีอยู่มากมาย
สายพันธุ์ทุเรียนแบ่งตามลักษณะพันธุ์เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มกบ มี 46 สายพันธุ์ เช่น กบแม่เฒ่า กบก้านเหลือง กบทองคำ
กลุ่มกบ
กลุ่มลวง มี 12 สายพันธุ์ เช่น. ลวงทอง ชะนี ชมพูศรี
กลุ่มลวง
กลุ่มก้านยาว มี 8 สายพันธุ์ เช่น ก้านยาวนนทบุรี ก้านยาวสีนาก
กลุ่มก้านยาว
กลุ่มกำปั่น มี 13 สายพันธ์ุ เช่น หมอนทอง กำปั่นเหลือง ปิ่นทอง
กลุ่มกำปั้น
กลุ่มทองย้อย มี 14 สายพันธ์ุ เช่น ทองย้อยฉัตร ทองใหม่
กลุ่มทองย้อย
กลุ่มเบ็ดเตล็ด มี 81 พันธุ์ เช่น หลงลับแล กระดุมทอง บางขุนนนท์
กลุ่มเบ็ดเตล็ด
ความนิยมทุเรียนในเมืองไทยยังไม่เสื่อมคลายตั้งแต่สมัยอยุธยาจวบจนปัจจุบันอีกทั้งนำทุเรียนมาแปรรูปเพิ่มมูลค่ามากมาย หวังว่าเรื่องราวของทุเรียนวันนี้คงถูกใจชาวบล็อกดิทผู้หลงรักทุเรียนบางสายพันธุ์แอดยังไม่เคยทาน...อย่าว่าแต่เคยทานเลย...ชื่อก็พึ่งจะเคยเห็น ในหนังสือนี้เอง
I ❤ Durian
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
สารานุกรมไทยสำหรับเด็กและเยาวชนเล่มที่ ฉบับเสริมการเรียนรู้ 10
ชอบกดไลก์
กดแชร์
กดติดตามเพจ Plants in garden
เพื่อเป็นกำลังให้แอดด้วยนะจ๊ะ www.blockdit.com/plantsingarden
กราบบบบงามมมม😅🤣😆🥰😍
โฆษณา