6 ก.ย. 2019 เวลา 04:52
. ……… 🍃🍂 #สิรินธรวัลลี 🍂🍃 ………
พบพืชพันธ์ุใหม่ของโลก นาม "สิรินธรวัลลี"
โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์(Scientific Name)ว่า Bouhinia SIRINDHOMIAE K.&S.S. Lasen อันหมายถึงวัลยชาติแห่งองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน ที่ได้มีพระกรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย และฃาวจังหวัดบึงกาฬมาโดยตลอด เพราะปัจจุบันนี้ดอกของพืชชนิดดังกล่าวเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดบึงกาฬ มีชื่อวงศ์ว่า(Famaly) :LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “สิรินธรวัลลี” หรือชื่อพื้ช……อ่านพิ่มเติม https://siamrath.co.th/n/9849
สิรินธรวัลลี หรือ ประดงแดง จัดเป็นไม้ป่าหายากที่ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจาก เป็นไม้ที่ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกหรือตัวดอกมีสีน้ำตาลอมแดง แลดูสวยแปลกตา อีกทั้ง ลำต้นเป็นไม้เลื้อยที่ใช้ปลูกเป็นซุ้มบังแดดได้ดี
 
• วงศ์ : LEGUMINOSAE
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia sirindhorniae K.& S.S. Larsen
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– สิรินธรวัลลี
ภาคอีสาน
– สามสิบสองประดง
– ประดงแดง
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
สิรินธรวัลลี มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และลาว โดยพบเติบโตมากในระดับความสูง 150-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยเฉพาะในจังหวัดหนองคาย จังหวัดสกนคร และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งพบได้ตามชายป่าดิบแล้งหรือป่าเบญจพรรณ อาทิ บริเวณเขตรักษาพันธุ์ ภูวัว
ประวัติสิรินธรวัลลี/ประดงแดง
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2538 ดร.ชวลิต นิยมธรรม และคณะ ได้เดินทางเข้าสำรวจพันธุ์ไม้ตามชายป่าดิบแล้งบนเทือกเขาในจังหวัดหนองคาย ซึ่งได้พบต้นเสี้ยวที่มีลักษณะแตกต่างกับกับเสี้ยวชนิดอื่นๆที่เคยพบมา
ต่อมาเมื่อ ศ.ไค ลาร์เซน (Kai Larsen) ชาวเดนมารก์ นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้ได้เดินทางมาตรวจสอบชนิดพันธุ์ไม้ต่างๆของกรมป่าไม้ และดร.ชวลิต ได้ส่งตัวอย่างต้นเสี้ยวที่พบมาให้ตรวจสอบอย่างละเอียด ผลปรากฏว่า ตัวอย่างต้นเสี้ยวดังกล่าว เป็นพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน โดยมีลักษณะเด่น คือ ตัวดอกมีมีกลีบเลี้ยงที่ห่อหุ้มดอกคล้ายกาบ ทำให้กลีบดอกของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ไม่สามารถบานแพร่หรือกางออกเหมือนกับดอกเสี้ยวชนิดอื่น
ต่อมา กรมป่าไม้จึงขอพระราชทานการตั้งชื่อประจำเสี้ยวพันธุ์นี้ ด้วยการใช้พระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพราะพระองค์ได้ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับทางด้านพฤกษศาสตร์มาตลอด ในชื่อว่า Bauhinia sirindhorniae K.& S.S. Larsen หรือในชื่อภาษาไทยว่า สิรินธรวัลลีอัน ซึ่งหมายถึง วลัยชาติแห่งองค์สมเด็จพระเทพฯนั่นเอง และต่อมาปี พ.ศ. 2542 นักพฤกษศาสตร์จากสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้มีการค้นพบแหล่งของสิรินธรวัลลีเพิ่มขึ้นมาอีก คือ บริเวณเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้นสิรินธรวัลลี เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพาดตามต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยได้ยาวมากกว่า 20 เมตร กิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง เปลือกเถามีสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกแตกล่อนเป็นริ้วๆ บริเวณเถามีมือเกาะสำหรับช่วยเกาะพยุงลำต้นให้เลื้อยพาด ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะเป็นเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่พาดไปตามต้นไม้หลายสิบเมตร
ประโยชน์ และสรรพคุณสิรินธรวัลลี/ประดงแดง…… อ่านต่อ>>> http://puechkaset.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b8%a5%e0%b8%b5/
โฆษณา