7 ก.ย. 2019 เวลา 00:43 • ไลฟ์สไตล์
The environmental crisis
วิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก
Ep3 The plastic pollution
ขยะพลาสติก
2
ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำว่า "กลับมาแล้ว" หลังจากที่เราหายไปนาน หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ากิ๊ฟทำงานเป็นพยาบาลที่รพ.รัฐแห่งหนึ่ง แต่ชอบเขียนชอบแชร์ชอบเล่า เลยพยายามหาเวลามา แต่เนื่องจากช่วงนี้เวรเยินกว่าปกติ เลยหายตัวไป แต่วันนี้เรากลับมาแล้ววว
กลับมาเรื่อง "วิกฤตสิ่งแวดล้อม" กันต่อ ปัญหาอันดับหนึ่งพอๆกับโลกร้อนเลยก็คือ ขยะพลาสติก ขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ แต่ถูกทิ้งเป็นอันดับหนึ่ง
"วิวัฒนาการของพลาสติก"
พลาสติกเป็นวัสดุมีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น ทนทาน แข็งแรง
พลาสติก ถือเป็น "พอลิเมอร์" ชนิดหนึ่ง คือสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ หรือ ขนาดเล็ก มาเชื่อมพันธะต่อกัน
ในอดีตเรารู้จัก พอลิเมอร์ คือสิ่งที่มาจากธรรมชาติ และนำมาใช้ประโยชน์ จากการศึกษาประวัตฺศาสตร์พบว่า พอลิเมอร์จากธรรมชาติถูกนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นเชลเล็ค ลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง เคลือบผิวเพื่อความสวยงาม หรือยางธรรมชาติจากต้นยาง มาทำเป็นภาชนะ รองเท้า ขันน้ำ และของเล่น
ภายหลัง มนุษย์ได้มีการลองเปลี่ยน ปรับปรุงคุณสมบัติพอลิเมอร์จากธรรมชาติ เพื่อตอบสนองการใช้งานในแบบต่างๆ
โดยเริ่มจากปีค.ศ.1839 ชาลส์ กูดเยียร์ (Charles Goodyear) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ปรับปรุงสมบัติของยางธรรมชาติ โดยผสมกำมะถันกับยางธรรมชาติ และให้ความร้อน โดยวิธีการนี้เรียกว่า "วัลคาไนเซชัน" (vulcanization) ยางที่ผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชัน จะมีคุณสมบัติทนทาน มีความแข็งและเหนียวกว่ายางที่มาจากธรรมชาติทั่วไป
( ยางวัลคาไนเซชั่น ก็คือ "ยางล้อรถยนต์" และที่มาของชื่อแบรนด์ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ กู๊ดเยียร์ ก็มาจากการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับ
ชาลส์ กู๊ดเยียร์ ผู้คิดค้นยางวัคคาไนเซชั่น )
และในปี 1862 Alexander Parks ก็ได้เปิดตัว Parkesine โดย Alexander ได้บอกว่าParkesine ให้คุณสมบัติคล้ายกับยาง สามารถทำทุกอย่างที่ยางสามารถทำได้ โดยอ้างว่าเป้นพลาสติกสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่ทำโดยมนุษย์
Parkesine ทำมาจาก Cellulose nitrate ซึ่งต่อมาได้ทำ เหงือกฟันปลอม กระจกรถยนต์ ส้นรองเท้า รวมถึงของใช้อื่นๆ
ข้อแตกต่างของยาง Parkesine กับ vulcanization คือ สามารถทำให้เป็นสี และขึ้นรูปให้มีลักษณะต่างๆ มีความยืดหยุ่นกว่ายาง วัลคาไนเซั่น
ปีค.ศ. 1907 Leo Hendrick Baekeland ประสบความสำเร็จในการทำ
พอลิเมอร์สังเคระห์ ที่เรียกว่า Bekelite ซึ่งการค้นพบของ Baekeland ถือเป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมพลาสติก ทำให้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตอุตสาหกรรมพลาสติกในปัจจุบัน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พลาสติก มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก เราแทบจินตนาการไม่ออกเลยว่า ถ้าไม่มีพลาสติกเราจะใช้ชีวิตอย่างไร
" พลาสติกที่น่ากลัวที่สุดคือ Thermosetting plastic"
เราสามารถแบ่งพลาสติกได้หลักๆ 2 ประเภทคือ Thermoplastic และ Thermosettingplastic
Thermosetting plastic ตามชื่อ คือ setting เป็นพลาสติกที่ถูกขึ้นรูปแบบมาอย่างถาวร ทนต่อความร้อนและปฏิกิริยาเคมี ถ้าเจอความร้อนจะไม่หลอมละลาย ไม่อ่อนตัว แต่ถ้าหากเจอความร้อนสูงจะไหม้ สลายตัว คุณสมบัติจะเปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้ พลาสติกชนิดนี้จึงไม่สามารถรีไซเคิลได้
สิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องการวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทนต่อความร้อน แรงดันสูงๆ ส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้ Thermosetting เช่น อุปกรณ์ในครัวเรือน จุกฝาหม้อไว้สำหรับจับ กระทะไฟฟ้า ชามเมลามีน ยางโพลียูรีเทน เป็นต้น อุปกรณ์กันกระแทก ฉนวนความร้อนต่างๆ
" พลาสติก 7 ประเภท recycle ได้"
Thermoplastic คือพลาสติกประเภทที่สามารถรีไซเคิลได้ สามารถเปลี่ยนรูป หลอมละลาย อ่อนตัวเมื่อโดนความร้อน
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 1 PET หรือ Polyethylene Terephthalate
เป็นพลาสติกที่เห็นบ่อยที่เห็นบ่อยสุด เช่น ขวดน้ำ ขวดน้ำมันพืช
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 2 HEPE หรือ High Density Polyethylene
เป็นพลาสติกคล้ายกับ PET แต่มีความหนาแน่นมากกว่า ทนสารเคมี ทนความร้อน ใช้ทำบรรจุภัณฑ์แป้ง โลชั่น แชมพู ครีมอาบน้ำ หรือขวดนมเด็ก ใส่น้ำยาต่างๆ ถุงหูหิ้ว
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 3 PVC หรือ Poly Vinyl Chloride
หลายคนนึกถึง ท่อน้ำ PVC แต่นอกจากท่อน้ำแล้วยังสามารถทำสายยาง กระเบื้องห้องน้ำ ฟิล์มห่ออาหาร ประตู หน้าต่าง วงกบ ไปจนถึงหนังเทียม
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 4 LDPE หรือ Low Density Polyethylene
เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นต่ำ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นถุงห่อขนมปัง ถุงใส่อาหาร ห่อของทั่วไป
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 5 PP หรือ Polypropylene
เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรง อยู่ทรง เป็นรูปร่าง มักใช้ทำบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร กล่องใส่ข้าว จาน ชาม กระบอกน้ำ ถัง
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 6 PS หรือ Polystyrene
เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงระดับหนึ่ง แต่รับแรงกระแทกมากไม่ได้ จะหัก แตก มีความบางใส มักมาทำกล่องใส่ CD กล่องใส่คุกกี้ เป็นต้น
พลาสติกรีไซเคิล เบอร์ 7 (พลาสติกอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดข้างต้น)
เป็นพลาสติกที่ไม่สามารถระบุประเภทได้ แต่สามารถนำมารีไซเคิลได้ จะมีสัญลักษณ์ กำกับไว้
ในชีวิตประจำวัน เราาอาจหลีกเลี่ยงพลาสติกไม่ได้ แต่ก็สามารถนำกลับมาหมุนเวียน ไม่ให้มันเป็นแค่ขยะ สร้างมลพิษให้กับโลก
อย่างเช่นพลาสติก 7 ประเภทข้างต้นที่กล่าวมา ถึงแม้เมื่อนำไปรีไซเคิลได้ จะได้คุณภาพที่น้อยลง แต่ก็ดีกว่าทิ้งและเป็นภาระให้โลก ทางที่ดีอะไรช่วยโลกได้ ก็ช่วยดีกว่า
ปัจจุบันเราเริ่มมีแนวคิด Circular way คือการหมุนเวียนนำพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ซึ่งถ้าเราตั้งใจทำจริงๆ และก็จะรู้ว่าเราช่วยลดขยะได้เยอะเลยทีเดียว
ครั้งหน้า กิ๊ฟ จะมาแชร์วิธีลดโลกร้อน ลดการใช้ การทิ้งพลาสติก ที่กิ๊ฟทำอยู่ เป้นกำลังใจ กดไลค์ กดแชร์ ให้ด้วยนะคะ
ที่มาข้อมูล ..
โฆษณา