8 ก.ย. 2019 เวลา 09:21 • ประวัติศาสตร์
พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
วลีที่คนส่วนใหญ่รู้จักท่านคือ ผู้เปลี่ยนสนามการรบ เป็นสนามการค้า
นายแว่นจะพาไปเล่าเรื่องของท่าน โดยสไตล์แบบแว่นเล่า
ที่มา : Google
ท่านเกิดที่จังหวัดพระนคร สมัยนั้นยังไม่ใช้ชื่อกรุงเทพฯเลย
ชีวิตตอนเด็ก ก็เรียนมัธยมที่ รร.เทพศิรินทร์ จากนั้นมาเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนเรียนจบ
ท่านยังเรียนต่อ รร.ทหารม้า แถมไปเรียน ตปท.ด้วย ชื่อ รร.ยานเกราะกองทัพบก (อาร์เมอร์สคูล) มลรัฐเคนทักกี สหรัฐฯ ฟังดูเท่ชะมัด เรียนจบนอกแถมเป็นทหารด้วย
เริ่มชีวิตราชการ อยู่ในสายทหารม้า (นายทหาร สายทหารม้า คนคนส่วนใหญ่รู้จัก แล้วเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีด้วย ก็ คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)
จริงๆ ทหารมีหลายเหล่า แว่นจะบอกหลักๆที่มีคือ เหล่าทหาราบ เหล่าทหารปืนใหญ่ เหล่าทหารม้า ที่เป็นกำลังรบ หลักๆ
ยังมีเหล่าอื่นอีกหลายๆเหล่า ที่เป็นฝ่ายสนับสนุนเช่น เหล่าขนส่ง เหล่าสื่อสาร เป็นต้น มีอีกหลายเหล่าเลย เดะจะแวะเรื่องนี้นาน มีโอกาสเดะมาเล่าวันหลัง
เข้าเรื่องท่านต่อ
ชีวิตรับราชการทหาร ท่านก็ดำเนินมาด้วยดี จนมาวันหนึ่ง ท่านได้ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยทูตทหารบก ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศ สหรัฐฯ ปี พ.ศ. 2492
จากนั้นท่านก็กลับมารับราชการทหารต่อที่ไทย ไปจนถึงตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนยานเกราะ
แต่ทุกคนย่อมมีจุดพลิกผันในชีวิต จะดีหรือร้ายแค่นั้นเอง
เกริ่นก่อนท่านเป็นลูกชาย ของจอมพล ผิณ ชุณหะวัณ
ช่วงนั้น ปี พ.ศ. 2501 ช่วงเหตุการณ์ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหาร
ผลกระทบจากนั้นกลุ่มอำนาจเดิม รวมถึงท่าน จึงต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ
ช่วงที่อยู ตปท. ท่านก็ดำรงตำแหน่ง อุปทูต เอกอัครราชทูต จนมาถึงตำแหน่งสุดท้ายก่อนกลับไทย คือ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา เป็นเวลาทั้งหมด 14 ปี
แว่น ว่า การที่ท่านไปอยู่ ปตท คงได้เห็นเจริญรุ่งเรือง การพัฒนาของแต่ละประเทศต่างๆมามากมายเลยล่ะ รวมถึงวิถีประชาธิปไตยด้วย จุดนี้ทำท่านสะสมประสบการณ์ในการกลับมาพัฒนาประเทศในภายหลัง
จนท่านกลับมาประเทศไทย ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงต่างประเทศ เป็นตำแหน่งสุด ในชีวิตข้าราชการประจำ
1
ต้องบอกว่าชีวิตราชการท่านแรกๆ นิ เดินสายทหารจ๋าๆเลย จนมาเปลี่ยนเป็นสายนักการฑูตในช่วงหลัง
หลังจากอำนาจของจอมพลสฤษดิ์หมดแล้ว ท่านได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างประเทศ จากประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้มาหลายปี แว่นว่าเหมาะสมมากๆครับ
หลังจากนั้น ท่านเริ่มลงเล่น สนามการเมือง เริ่มตั่งแต่ ลงสมัคร ส.ส. ไม่ใช่สู้ๆนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั่นเอง
ชนะเลือกตั้งมา 5 สมัย จังหวัดในพื้นที่ที่ท่านชนะ คือ นครราชสีมา
ช่วงนี้ท่านก็ได้ร่วมรัฐบาล เป็นคณะรัฐมนตรี ดำรงทั้งฝ่ายกระทรวงต่างประเทศ อุตสาหกรรม จนถึง รองนายกรัฐมนตรี
จนมาวันหนึ่ง พล.อเปรม ประกาศ วางมือทางการเมือง ด้วยวลีอมตะ ผมพอแล้ว
พล.ชาติชาย จึงได้รับสนับสนุน ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
นโยบายด้าน ตปท ที่เด่นๆของท่าน แว่นจะหยิบยกตัวอย่างให้ เช่น
เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า ดำเนินในเขตพื้นที่อินโดจีน ประสานให้มีการเจรจาระหว่างกลุ่มเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ
ดูซิครับท่านผู้อ่าน ขนาดท่านมีพื้นเพ เป็นทหาร ยังสนับสนุนให้ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาเลย
ผลงานด้าน เศรษฐกิจ ยุคท่านนิก็โดดเด่นมากๆ อนุมัติให้เอกชนมาลงทุนโครงสายพื้นฐานหลายๆโครงการเลยหะ เช่น
โครงการโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน กทม นิก็ท่าน รวมทั้ง ทางด่วนยกระดับ
เศรษฐกิจ ในยุคท่าน อัตรา จีดีพี (GDP) นินับว่าสูงมากๆเลย ไม่เคยสูงเท่านี้มาก่อน
นักวิชาการหลายๆท่านบอกว่า ปรากฎการณ์แบบนี้ พูดแบบบ้านๆ คือ ท่าไม่ปังก็พังเลย
ปัง คือ คาดหมายว่า จะเป็นเสือเศรษฐกิจ ตัวที่ 5 ของเอเชีย
พัง คือ จะเกิดภาวะการเงินขั้นรุนแรงในประเทศ เพราะมีอัตราที่เร่งรีบเกินจริง ในหลักเศรษฐ์ศาสตร์ของโลก
แล้ว คำตอบต่อมาเป็น ยังไง ... พังสิครับบบบบบ
รัฐบาลท่านยุคท้าย ประสบปัญหา เรื่องการทุจริต จนได้รับฉายาว่า Buffet Cabinet
จนรัฐบาลท่าจ เจอก็ถูก ยึดอำนาจโดย กลุ่ม รสช. ภายใต้การนำของ พล.อ สุนทร คงสมพงษ์ พ่อ ของผบ.ทบ คนปัจจุบันนิแหละครับ หลังจากท่านก็ได้ปลีกตัวหายหน้าไปสักพักหนึ่ง
จน พ.ศ.2540 ยุค พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกฯ แล้วลาออกต่อมา เกิดกระแส จะให้ท่าน เป็นนายกฯต่อ
แต่ก็เกิดการหักเปลี่ยสนับสนุน ให้นายชวน หลีกภัย เป็นนายกฯแทน ช่วงนั้นเขาเรียกว่า ส.ส. กลุ่มงูเห่า
จากนั้นเพียงครึ่งมี ท่านพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2541 ที่สหราชอาณาจักร รวมอายุได้ 78 ปี
นับว่าท่านเป็นท่านที่ผ่านร้อน ผ่านหนาว ในเหตุการณ์การเมืองหลายยุคหลายสมัย
นายแว่น เห็นว่าท่านมีประวัติ ที่น่าสนใจ เลยขอนำมาเล่า
ในภาษาแบบเด็กวัยรุ่น อาจจะมีใช้คำไม่ทางการบ้าง โดยผสมกับความคิดเห็นของวัยรุ่นคนหนึ่งเข้าไป ไม่ถูกใจต้องขออภัยด้วยนะครับ
(หวังว่าโพสนี้จะไม่มีปัญหาเรื่องการฟาลว์แล้วนะครับ )
หากชื่นชอบบทความนี้ LIKE +SHARE เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ ถ้าชอบสไตล์การเล่าแบบแว่นๆ
อ้างอิง ข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือ ประวัติบุคคลสำคัญประเทศไทย จ้ะ
โฆษณา