8 ก.ย. 2019 เวลา 13:04 • ธุรกิจ
#5 วิธีเช็กสุขภาพทางการเงิน (ตอนที่ 2)
💁‍♂️ ต่อจากเมื่อวาน วันนี้เรามาถึง check point สุขภาพทางการเงินข้อสุดท้ายกันแล้วครับ
ก่อนอื่นพี่บีขอทวนสั้นๆ เผื่อใครพลาดตอนแรกไป (สามารถกดย้อนดูด้านล่างแบบเป็น series ได้ครับ)
5 วิธีเช็คสุขภาพทางการเงินแบบง่ายๆ
1. เทียบสินทรัพย์ กับหนี้สิน
หาความมั่งคั่งสุทธิของตัวเอง
2. บันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวัน
หาจุดรั่วไหลและอุดมันซะ
3. มีรายได้มากกว่ารายจ่ายหรือไม่
ทบทวนลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มรายได้ให้สัมพันธ์กัน
4. มีเงินเหลือเก็บบ้างรึเปล่า
ทั้งเงินออมเพื่อเป้าหมายและเงินสำรองยามฉุกเฉิน
และสุดท้าย...
⛳ Check point ที่ 5 :
มีเงินออมแล้ว จะบริหารอย่างไร
ให้ทรัพย์สินที่มีเพิ่มพูนขึ้น?
หลายๆ คนคงพูดออกมาทันที ว่าเอาไปลงทุนสิ!
แน่นอนครับ การลงทุนเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้ได้สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็มีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสภาวะตลาด อัตราการแลกเปลี่ยน ความรู้ความสามารถของผู้ลงทุน ฯลฯ
การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง
cr. Unsplash
ทุกคนคงเคยได้ยินว่าการลงทุนที่ดี ควรกระจายความเสี่ยง เหมือนวางไข่ในตะกร้าหลายใบ
และระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ก็ไม่เท่ากัน
ดังนั้น ก่อนลงทุนควรประเมินความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ก่อน
สิ่งสำคัญที่พี่บีอยากจะให้ทุกคนคิดถึงเป็นอันดับแรก คือ 'เป้าหมาย'
เพราะเป้าหมายจะช่วยให้เพื่อนๆ เห็นภาพว่าจากจุดที่เรายืนอยู่ตรงนี้...
- มีเวลาสะสมเงินอีกนานแค่ไหน
- ต้องการเงินเท่าไหร่ ถึงจะบรรลุเป้าหมาย
- ความเสี่ยงที่รับได้มีแค่ไหน
สมมติว่า เป้าหมายของคุณ...
cr. Unsplash
🗓 อีก 3 ปีข้างหน้า
อยากไปแตะขอบฟ้า ดูแสงเหนือที่ฟินแลนด์
🗓 อีก 10 ปีข้างหน้า
อยากมีเงินให้ลูกได้เรียนมหาวิทยาลัย
🗓 อีก 20 ปีข้างหน้า
อยากมีเงินไว้ใช้สำหรับชีวิตหลังเกษียณ
เป้าหมายทั้ง 3 แบบนี้ มีระยะเวลา / จำนวนเงินทุนที่ต้องมี / ความเสี่ยง ไม่เท่ากัน
หากวางเงินผิดที่ ผิดเวลา เมื่อถึงคราวจำเป็นที่ต้องใช้ ผลที่ได้อาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
🤷‍♂️ แล้วในสภาวะดอกเบี้ยต่ำและผันผวน
จะเลือกบริหารเงินออมอย่างไร?
cr. Unsplash
หลายๆ ท่านคงได้ติดตามข่าวที่ธนาคารกลางทั่วโลกพากันปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ มีแนวโน้มปรับตัวลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ คือ
การเลือกผลตอบแทนที่การันตี
หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า
'ล็อคผลตอบแทนเอาไว้ก่อน'
วิธีนี้ทำให้เราสามารถวางแผนได้ตั้งแต่วันนี้ รู้ได้โดยไม่ต้องเดา ไม่ต้องลุ้น ว่าในอีก X ปีข้างหน้า จะได้เงินออกมาเป็นจำนวนเท่าไหร่ และเพียงพอไหมกับเป้าหมายที่วางไว้ 🎯
💁‍♂️ หนึ่งในผลิตภัณฑ์การเงินที่มีลักษณะอย่างที่ว่ามา คือ ประกันสะสมทรัพย์
ซึ่งนอกจากการันตีผลประโยชน์เงินคืนเป็นจำนวนที่แน่นอนตลอดสัญญาแล้ว เงินที่ได้มาก็ไม่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% เหมือนดอกเบี้ยเงินฝาก ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ แล้วยังสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริง สูงสุด 100,000 บาทต่อปี
🤷‍♂️ ซื้อตอนไหนดี?
cr. Pixabay
จากความผันผวนของตลาดตอนนี้ บริษัทประกันเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น คือการลดการขายสินค้าประเภทสะสมทรัพย์ที่การันตีผลตอบแทนลง
หรืออาจจะยกเลิกสินค้าเดิม และเน้นขายสินค้าประเภทยูนิต ลิ้งค์ (ประกันชีวิตควบการลงทุน) ที่ผลประโยชน์เงินคืน ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดแทน
ดังนั้น หากใครที่สนใจ พี่บีแนะนำว่าอย่ารอช้าครับ เพราะตัวเลือกดีๆ อาจจะเหลือน้อยลง เร็วกว่าที่คิด
💁‍♂️ สุดท้ายนี้อยากจะชวนเพื่อนๆ ให้มาตรวจสุขภาพการเงินของตัวเอง อย่างน้อยปีละครั้ง (คิดซะว่าตรวจสุขภาพประจำปี) เพราะหากปล่อยเอาไว้จนสาย
เราอาจจะกลายเป็น 'ผู้ป่วยทางการเงิน' โดยไม่รู้ตัว
เพื่อนๆ ท่านใดสนใจแบบประกันสะสมทรัพย์ ผลประโยชน์สูง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้ครับ (แอบกระซิบว่า ถึง 30 ก.ย.นี้เท่านั้น)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา