12 ก.ย. 2019 เวลา 09:30 • ธุรกิจ
Spotify กับ กลยุทธ์บุกตลาด Music Streaming
ถ้าถามว่าเเอพพลิเคชั่นอะไรที่คนไทยนิยมใช้ฟังเพลงมากที่สุด คงหนีไม่พ้น Joox เเอพฯ Music Streaming ของจีน
2
เเต่ถ้าถามว่า เเอพฯ Music Streaming ตัวไหนที่คนทั่วโลกนิยมใช้มากที่สุด คำตอบนั้นอาจจะทำให้หลายคนเเปลกใจ เพราะเเอพฯนั้นคือ Spotify เเอพฯ Music Streaming สัญชาติสวีเดนที่มีผู้ใช้งานมากถึง 170 ล้านคน ทิ้งห่างคู่เเข่งอย่าง Apple Music, Joox, Google play music, Tidal อย่างไม่เห็นฝุ่น
เเล้วอะไรคือไม้เด็ดที่ Spotify ใช้เจาะตลาดขนาดใหญ่จนกลายเป็นเเอพฯ Music Streaming ที่ประสบความสำเร็จที่สุดของโลกได้ | สมองไหลจะเช่าให้ฟัง…
Spotify ก่อตั้งขึ้นในปี 2008 โดย Daniel Ek เเละ Martin Lor entzon ปัจจุบันทำรายได้อยู่ที่ประมาณ 214,500 ล้านบาทต่อปี เเละมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 1 ล้านล้านบาท
จุดเริ่มต้นของสองคู่หูชาวสวีเดนในการก่อตั้ง Spotify ก็เพื่อต้องการให้การฟังเพลงแบบถูกกฎหมายนั้นเข้าถึงได้
จากเดิมถ้าลูกค้าอยากฟังเพลงของศิลปินคนโปรดสักคน ลูกค้าต้องไปซื้อเพลงมาทั้งอัลบั้ม หรือ ซื้อเป็นรายเพลง ซึ่งนิยมใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์บน iTunes ของ Apple
เเต่ปัญหาของการซื้อเพลงทั้ง 2 วิธีนี้คือ ราคาที่ค่อนข้างเเพง ถึงเเม้ว่าจะขายกันในราคาเเค่เพลงละ 1 USD เเต่คนเราฟังกันเเค่ 1-2 เพลงซะที่ไหน ถ้าฟัง 50 เพลงก็ปาเข้าไป 50 USD เเล้ว หรือถ้าเกิดเบื่อเพลงที่มีอยู่ขึ้นมา จะเอาเพลงเก่าไปเเลกเพลงใหม่ก็ทำไม่ได้ กลายเป็นว่าลูกค้าต้องจ่ายเงินซื้อเพลงที่อยากฟังใหม่ทุกครั้ง
1
นั่งจึงเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะดาวน์โหลดเพลงมาฟังเเบบผิดลิขสิทธิ์ เพราะมันทั้งฟรีเเละหาฟังกันได้ง่าย ทำไมจะต้องเสียเงินซื้อเพลงในราคาเเพงด้วยล่ะ
Daniel เเละ Martin จึงเเก้ไขปัญหานี้ด้วยการสร้าง Platform ที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมเพลงจำนวนมหาศาลขึ้นมา เเล้วให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกฟังเพลงที่ต้องการได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาไปดาวน์โหลดมาทีละเพลง
โดย Spotify จะเปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาฟังเพลงกันได้ทุกเพลงที่มีในระบบเเบบฟรีๆ ต่างจาก JOOX ที่จำกัดบางเพลงไว้สำหรับสมาชิกแบบเสียเงิน เพื่อให้คนได้ทดลองใช้งานก่อน เเต่จะจำกัดฟีเจอร์บางอย่าง ซึ่งถ้าผู้ใช้อยากได้คุณภาพเสียงเพลงที่ดีกว่านี้เเละต้องการความบันเทิงอย่างเต็มรูปเเบบ ก็สามารถจ่ายเงินซื้อเเพ็คเกจพรีเมี่ยมเป็นรายเดือน
โดยในประเทศไทยผู้ใช้งานจะเสียค่าสมาชิกเดือนละ 129 บาท หรือสมัครแบบใช้งานทั้งครอบครัวเสีย 199 บาท ใช้ได้ 6 คน ซึ่งวิธีนี้ทำให้ลูกค้าสามารถฟังเพลงถูกลิขสิทธิ์ในราคาที่เข้าถึงได้
นั่นจึงทำให้ Sportify มีผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกแบบเสียเงินประมาณ 80 ล้านคน จากผู้ใช้ 170 ล้านคนทั่วโลก
นี่จึงกลายเป็นรายได้หลักของ Spotify โดย Spotify จะทำการจ่ายเงินเป็นค่าลิขสิทธิ์หลังหักค่าธรรมเนียมให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง ตามส่วนเเบ่งเมื่อผู้ใช้ทำการสตรีมมิ่งเพลงนั้นไปฟัง ถ้าเพลงมีคนฟังเยอะเจ้าของเพลงก็จะได้เงินค่าลิขสิทธิ์เยอะตามไปด้วย
ซึ่งถ้ามองในเเง่ของรายได้ต่อเพลง ส่วนเเบ่งค่าลิขสิทธิ์จาก Music Streaming ที่ได้รับอาจจะไม่ได้สูงเท่าการขายเป็นรายเพลง เเต่ถ้ามองในเเง่ของความภาพรวม โอกาสที่ผู้ใช้จะเข้ามาฟังเพลงเเบบถูกลิขสิทธิ์นั้นดูจะสูงกว่าการที่จะไปซื้อเเบบรายเพลง
โมเดลนี้ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน หรือ เรียกว่า Win-Win นั่นเอง
โดยฝั่งผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงเพลงถูกลิขสิทธิ์จำนวนมากได้ในราคาประหยัด ส่วนฝั่งเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงก็มีพื้นที่ให้ขายเพลงที่ผู้ใช้ยอมจ่ายเงินเเถมยังช่วยลดต้นทุนที่ต้องเสียไปกับการผลิตเเผ่นซีดีเอง ซึ่งนับวันก็เเทบจะไม่มีใครใช้เเล้ว เเละทางฝั่งของ Spotify ก็ได้ส่วนเเบ่งจากค่าสมัครสมาชิกเเละส่วนเเบ่งจากค่าธรรมเนียม
นอกจากนี้ Spotify ยังมีรายได้จากการขายโฆษณาอีกทางด้วย ซึ่งการขายโฆษณานั้นจะมีหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น เสียงโฆษณาคั่นระหว่างเพลงทุกๆ 15 นาที หรือ การให้สมาชิกรับชม video จาก sponsor เพื่อให้สิทธิ์สมาชิกสามารถฟังเพลงแบบ premium ได้ หรือมีป้าย banner โฆษณาสินค้าต่างๆ
เเละอีกกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ Spotify สามารถเจาะตลาดทั่วโลกได้นั่นคือ การเข้าใจพฤติกรรมเเละการเข้าใจตลาดของเเต่ละประเทศ ผ่านการใช้ A.I. หรือ Artificial Intelligence
Spotify มีเพลงในระบบมากกว่า 30 ล้านเพลง หากจะฟังทั้ง 30 ล้านเพลง ต้องใช้เวลาถึง 273 ปีกว่าจะฟังหมด ซึ่งยังไงก็ไม่มีทางฟังได้ทุกเพลงที่ app เหล่านี้มีอยู่แล้ว
Spotify จึงใช้ระบบ A.I. เพื่อวิเคราะห์การฟังเพลงของผู้ใช้และสร้าง playlist ที่เป็นแบบ personalized หรือเป็นอัลบั้มเพลงของผู้ใช้คนเดียวเท่านั้น
ซึ่งระบบ Machine learning ของ Spotify จะสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้ว่าชอบฟังเพลงไหนซ้ำ หรือกดข้ามเพลงแนวไหนบ่อยๆ นั่นจึงทำให้ Spotify รู้ว่าผู้ใช้ชอบเพลงแนวไหนไม่ชอบเพลงเเนวไหน
และที่สำคัญคือดูเพลงใน playlist หรืออัลบั้มส่วนตัวที่เราสร้างขึ้นมา แล้วนำไปเทียบกับ playlist ของผู้ใช้คนอื่นอีกกว่า 140 ล้านคนทั่วโลก
ยกตัวอย่างเช่น เราและเพื่อนของเรา มีเพลงใน playlist ร่วมกัน 2 เพลง Spotify ก็จะแนะนำเพลงที่ 3 ที่เพื่อนมี แต่เราไม่มีให้เราฟัง เพราะมีความเป็นไปได้ที่เราจะชอบแนวเพลงนั้นๆนั่นเอง
จึงทำให้ Spotify สามารถมอบ Content ที่ตรงใจลูกค้าได้อย่างเเม่นยำ
Music Streaming ที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตจะต้องไม่ใช่เเค่เเอพสำหรับฟังเพลงเท่านั้น เเต่ต้องเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้ฟังได้ ซึ่ง Spotify เเละ Joox เองก็เริ่มมีการ Content ประเภทอื่นๆเเล้ว เช่น Podcast, รายการวิทยุ, คาราโอเกะ, การจัดคอนเสิร์ตเเละอีเว้นต่าง ๆ
ซึ่งนี่คือความพยายามที่จะเป็นมากกว่าเเอพพลิเคชั่นสำหรับฟังเพลง เพราะในระยะยาวเเล้ว หลายๆเจ้าเองรู้ดีว่า Content เเบบเสียงมันเป็นอะไรได้มากกว่าเเค่เพลงเท่านั้น
หากถูกใจบทความนี้ ก็อย่าลืมกดไลค์ กดเเชร์ เเละกดติดตามเพจ "สมองไหล" กันด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ ที่มีมาเสริฟให้คุณทุกวัน
ขอบคุณครับ 🙏
Source :
หนังสือ StartUp กับการวางกลยุทธ์บุกตลาด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา