13 ก.ย. 2019 เวลา 11:18 • การศึกษา
สิ่งที่ระบบการศึกษาไทยต้องรีบปรับ!
เวลาอยู่ในห้องประชุม เป็นกันบ้างไหมครับ ไม่มีใครกล้าเสนอความเห็นอะไร ถามเสร็จทุกคนเงียบ
อยู่ในห้องเรียน คุณครูถามเด็ก ไม่มีใครกล้าตอบ ต้องเรียกชื่อตอบทีละคน
ในงานสัมมนา อยากถามเหลือเกิน มีหลายประเด็น แต่ไม่กล้าถาม เพราะกลัวเป็นคำถามที่ดูไม่ฉลาด
ถ้าเพื่อนๆคนไหนมีอาการคล้ายๆแบบนี้หละก็ ไม่แปลกหรอกครับ เพราะคนจำนวนมาก ก็เป็น
มันคงมีหลายเหตุผลที่ทำให้เรา ไม่ค่อยกล้าที่จะทำอะไร ขออยู่เงียบๆดีกว่า ทั้งความไม่รู้ ไม่สนใจ หรือกลัวผิดพลาดต่างๆ
แต่ที่สำคัญส่วนหนึ่ง คือ เรากลัวความล้มเหลว และการถูกลงโทษจากสังคม
ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้เราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก
ตอนเด็กๆผมยังจำได้ ในคาบคณิตศาสตร์
มีครั้งหนึ่งที่ผมโดนเรียกตอบคำถาม ผมตอบผิด (หรืออาจจะไม่ถูกใจคุณครู จำไม่ได้แน่ชัด)
คุณครูก็จะให้ลุกยืนเรียนต่อไปในคาบ และเรียกเพื่อนคนอื่นตอบต่อไปเรื่อยๆ ใครที่ตอบไม่ถูก(หรือถูกใจ) ก็จะต้องยืน ยืนกันไปเรื่อยๆ จำได้ว่าคาบนั้น เด็กๆโดนเรียกให้ยืนเยอะมาก ประมาณสิบนาที คุณครูถึงให้นั่งลง
https://minimore.com/f/stick-be-better-485
คำถามคือ ทำแบบนี้แล้วได้ประโยชน์ในแง่ไหน
จริงๆผมยังนึกไม่ออกนะ
หลายคนบอกว่า “ no pain no gain “
ผมว่ามีบางเรื่องที่จริง เช่น ถ้าสมมติเราลงทุนหรือเล่นหุ้น แล้วไม่เคยขาดทุนเลย ถ้าเกิดเจอสถานการณ์ที่ยากลำบากครั้งใหญ่ทีเดียว เราอาจจะน็อคไปเลย กลับกัน ถ้าเราเก็บประสบการณ์ความผิดพลาด ทีละเล็กละน้อย มาเรียนรู้ ยอมรับความเจ็บปวด และพัฒนา เราจะเก่งขึ้นกว่าเดิม แบบนี้ pain ทำให้คุณแข็งแกร่งขึ้น
แต่กับวิธีการเรียนในห้องเรียน ผมว่ามันแตกต่างออกไป
.
ห้องเรียน ควรจะเป็นห้องที่ให้นักเรียน ลองผิดลองถูก ให้นักเรียนได้ฝึกคิด ได้เรียนรู้ในแบบฉบับของเด็ก ไม่ใช่ห้องที่ทำผิดแล้วถูกลงโทษ ขนาดเด็กทำผิดกฏหมาย หลายอย่างยังถูกเว้นโทษหรือลดโทษให้
แต่ในชีวิตประจำวันกลับถูกลงโทษบ่อยๆ ทั้งๆที่อาจจะไม่ใช่เรื่องผิด
.
ห้องเรียนควรกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด ตอบผิดไม่เป็นไร ขอแค่คิดจะตอบก็พอ เพราะแค่นั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการเรียนรู้แล้ว
.
ถ้าตอบผิดแล้วถูกลงโทษ เด็กๆคงไม่กล้าจะคิดอะไร ขอนั่งหลบสายตาครูจะดีกว่า
3
ที่ทำงานหลายที่ในปัจจุบัน ก็ยังมีลักษณะที่ค่อนข้างปิดกั้นพอสมควร เพราะใครแสดงความเห็นที่อาจดูไม่เข้าท่า หรือแค่เจ้านายไม่เห็นด้วย ก็จะถูกโจมตีทันที หรือถ้าเจ้านายไม่ชอบใจ คุณก็อาจจะไม่ได้โบนัส หรือไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง
.
บริษัทเหล่านี้สุดท้ายก็มักจะไปไหนได้ไม่ไกล เพราะไม่มีใครอยากอยู่ด้วย
คำถามบางอย่างมันไม่ได้มีคำตอบที่ถูกต้องตายตัว แม้แต่ทฤษฎีหลายๆอย่าง ก็ยังถูกล้มล้างมาแล้วนักต่อนัก เรื่องที่เคยจริงเมื่อสิบปีก่อน มาตอนนี้ถูกพิสูจน์ว่าใช้ไม่ได้ก็มี หรือกลายเป็นเรื่องตลกไปเลย
ผมจึงคิดว่ากระบวนการเรียนรู้นั้น สำคัญกว่ามาก และทฤษฎีใหม่ๆที่โด่งดังขึ้นมา ก็เกิดจากการที่เค้าคิดต่าง หรือคิดต่อยอดจากเรื่องเก่าๆ เพราะมันไม่มีคำตอบไหนที่สมบูรณ์แบบ และเป็นจริงเสมอตลอดไป
แม้แต่ในหนังสือ what I wish I knew when I was 20 ซึ่งแต่งโดย Tina Seelig อาจารย์จาก Stanford ยังยกตัวอย่างของเรื่องการที่ถูกสังคมตีตรา หรือทำให้ละอายใจจากความล้มเหลว เป็นลักษณะของสังคมไทย
บางคนถึงกับต้องเปลี่ยนชื่อ!
ดังนั้นผมจึงอยากให้ระบบการศึกษาไทย เริ่มปรับแนวคิดเรื่องนี้ใหม่อย่างเร่งด่วน เพราะสิ่งนี้ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กถึงจะได้ผล ต้องฝึกให้เด็กรู้จักคิด รู้จักลองผิดลองถูก และแนะนำทางที่ให้เด็กพัฒนาได้ แทนที่จะใช้การลงโทษ เราก็อาจจะบอกเด็กว่า อันนี้น่าสนใจ ไหนลองบอกครูหน่อย ว่าทำไมถึงคิดว่าอย่างนั้น และเสริมสิ่งที่เราอยากเสริมให้ต่อ
เพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมเมื่อโตขึ้นมา ถ้ามาปรับตอนเป็นผู้ใหญ่ จะแก้ยากกว่ามาก
3
ในการทำงานก็เช่นกัน ในยุคนี้ ถ้าบริษัทคุณยังลงโทษคนจากความล้มเหลว จากการลองผิดลองถูกอยู่ละก็ คุณอาจจะไปตามคนอื่นไม่ทัน และต้องล้มหายไปในที่สุด...
Success.com
สุดท้าย ขอให้ทุกคนเรียนรู้จากความล้มเหลว และใช้โอกาสนั้นเริ่มต้นใหม่ 😁
เพื่อนๆมีความเห็นอย่างไรกับระบบการศึกษามาแชร์กันนะครับ ความเห็นของทุกท่าน อาจช่วยบุตรหลานในอนาคตได้ 😄
โฆษณา