15 ก.ย. 2019 เวลา 10:48 • ประวัติศาสตร์
ศ.ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ นักปฎิวัติแห่งยุคสมัย
ผู้ต้องการเห็นความเป็นธรรมในสังคม เสรีภาพของประชาชน
ผู้ยึดหลัก ธรรม คือ อำนาจ มิใช่ อำนาจ คือ ธรรม
ภาพ จาก ประชาชาติ
ท่านเกิดเมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ.2459 ที่บ้านตรอกโรงสูบน้ำ ตลาดน้อย
พ่อเป็นชาวจีน ชื่อ ซา แซ่อึ้ง แม่ เป็นลูกครึ่งไทยจีน ชื่อ เซาะเซ็ง แซ่เตียว
ชื่อ ป๋วย ความหมาย คือ พูนดินที่โคนต้นไม้
พ่อท่าน จะสื่อความหมายว่า บำรุง หล่อเลี้ยง ให้แข็งแรงสมบูรณ์
ชีวิตวัยเด็กของท่าน ค่อนข้างลำบาก พ่อทำงานแพปลา ที่ปากน้ำ แม่ทำงานครัว ที่ตลาดสำเพ็ง
แม้พ่อแม่ จะทำงานยากลำบากเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน ก็ยอมส่งเสียให้เล่าเรียนการศึกษาเป็นอย่างดี
ดร.ป๋วย วัยเด็ก เรียนที่ รร.อัสสัมชัญ แผนกภาษาฝรั่งเศส ซึ่งค่าเทอมแพงมากสมัยนั้น
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด พ่อมาเสียชีวิต เมื่ออายุได้ 9 ขวบ โดยไม่ได้ทิ้งทรัพย์สินอะไรให้มากมาย
แต่ก็ได้ลุงรับดูแลต่อ จนเรียนจบโรงเรียน ก็ทำงานต่อเป็นครูที่ตัวเองเรียน
รับเงินเดือน 40 บาท แบ่งให้แม่ 30 บาท ให้ตัวเอง 10 บาท
ท่านป๋วยกตัญญญูมากครับๆครับ ข้อนี้น่ายกย่อง
จากนั้นชีวิตท่านเข้าเรียนต่อ ที่ ม.ธรรมศาสตร์
ที่แห่งนี้ละครับ แว่นจะสื่อ เป็นสถานที่หล่อลอม ความเป็นนักคิด คนกล้า จนมาเป็นนักปฎิวัติแห่งยุคสมัย
พ.ศ.2477 เรียนภาคค่ำและวันหยุดจากการทำงานประจำ ที่ ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง หลังเรียนจบ ท่านก็ ทำงานเป็นล่าม ให้กับอาจารย์ฝรั่งเศส ในมหาลัยที่เรียนนี้เอง
พ.ศ. 2481 ท่านอายุ 23ปี ท่านชอบได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อทางเศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่ London School of Economics ประเทศอังกฤษ ได้รับเกียรตินิยมอันดับ หนึ่ง ด้วยครับ (แว่นอายุเท่านี้ ยังเป็นพนักงานธรรมดาอยู่เลย 555555)
พ.ศ.2484 ท่านได้ทุนLevethulme Studentship เพื่อศึกษา ป.เอก ต่อ
แต่ เอ๊ะ ดันเกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อน แผนการเรียนต่อจึงหยุดชะงัก
ท่านพักการเรียน ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของเสรีไทย ในอังกฤษ มีรหัสแทนตนว่า "นายเข้ม เย็นยิ่ง"
ท่านได้ฝึกการสู้รบที่อินเดีย ได้รับ ยศร้อยเอก ก่อนที่จะถูกส่งตัวเข้าไทย เพื่อติดต่อ กับ รูธ
รูธ คือ รหัสแทนตน ของ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นหัวหน้าเสรีไทย
นายป๋วย ได้กระโดดร่มลง ที่ จ.ชัยนาท แต่ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวไว้ แล้วส่งตัวเข้ากรุงเทพฯ
งานสำคัญของท่านครั้งนี้ คือ ส่งสัญญาณวิทยุติดต่อกับกองทัพอังกฤษที่อินเดีย
โดยท่าน ป๋วย ได้ส่ง พิกัด พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว เพื่อไม่ให้เครื่องบินอังกฤษ ทิ้งระเบิดลงมา
วีรกรรมนี้ ท่านได้รับการยกย่องอย่างมากภายหลัง
ท่านผู้อ่านลองคิดดูนะครับ ถ้าสถานที่สำคัญเราโดนทำลาย มันคือการทำลายขวัญ ของคนทั้งประเทศเลย
หลังจบสงครามโลก ท่านคืนยศทหารให้กับกองทัพอังกฤษ
นายป๋วยเดินทางไปที่อังกฤษ ศึกษาปริญญาเอกต่อ โดยทำหัวข้อวิทยานิพนธ์ว่า "เศรษฐศาสตร์การควบคุมดีบุก" จนศึกษาจบ
พ.ศ.2492 ดร.ป๋วย เดินทางกลับไทย เข้ารับราชการในกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
ตำแหน่งหน้าที่การงานของท่านสูงขึ้นตามลำดับ จนถึงตำแหน่ง รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
แต่ด้วยการไม่ทำตามนโยบายให้กับผู้มีอำนาจ ณ ขณะนั้น ท่านจึงลาออกจากตำแหน่ง
หลังจากพ้นมรสุมทางการเมือง....
พ.ศ. 2502 ท่านได้รับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย ปลอดจากการถูกการเมืองแทรกแซง
เพราะนักการเมือง ให้ความเชื่อถือในฝีมือการบริหาร ความรู้ดานเศรษฐกิจ การเงิน และข้อสำคัญ คือ ความซื่อสัตย์ของท่าน
ท่านอยู่ในตำแหน่ง 12 ปี ไดขอลาออกหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ
พ.ศ.2507 ท่านเข้ารับตำแหน่งคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ท่านได้ปฎิรูปงานสำคัญ 2 งาน คือ การปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี และการผลิตอาจารย์
พ.ศ. 2510 ท่านได้รับรางวัล รามอน แมกไซไซ จากผลงานการทำงานอุทิศตนเพื่อบ้านเมือง
ภาพ จาก Econ.tu.ac.th
หลังจากนั้นท่านลาออก จากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และลาไปสอนพิเศษและทำวิจัยที่ ม.เคมบริดจ์ อังกฤษ เพื่อเตรียมกลับมาทำงาน ในตำแหน่ง คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารยึดอำนาจตัวเอง
ท่านเขียนจดหมายจากอังกฤษ เรียกร้องให้ จอมพลถนอม คืนอำนาจแก่ประชาชน
จดหมายฉบับนี้สร้างความไม่พอใจ ให้กับผู้มีอำนาจขณะนั้น (ถ้าเป็นสมัยนี้จะเป็นยังไงครับ 555555)
ท่านจึงลาออกจากตำแหน่งคณบดี ขณะอยู่ที่อังกฤษ
สิ่งที่ท่านย้ำอยู่เสมอ คือ ความเป็นธรรมในสังคม เสรีภาพของประชาชน ท่านยึดหลัก "ธรรม คือ อำนาจ" ไม่ใช่ "อำนาจ คือ ธรรม"
สำหรับแว่น ความหมายนี้ลึกซึ้ง สะท้อนความเป็นนักประชาธิปไตยอย่างเต็มเปี่ยม โดยยึดถือหัวใจประชาชนเป็นสำคัญ
ดร.ป๋วย ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคโลหิตในช่องท้องแตก เมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อายุ 84 ปี
ก่อนท่านจะถึงแกอนิจกรรม ท่านได้บอกว่า "“ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่าฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตองในงานศพให้วุ่นวายไป”"
หากได้ศึกษาประวัติของท่านจะพบว่า มีเรื่องที่ศึกษานำไปปฎิบัติตาม ทั้งความคิด อุดมการณ์ ความกล้าหาญ
สุดท้ายเรามาคิดกันว่า เราได้ทำอะไรให้ประเทศชาติหรือยังครับ สักนิดก็ยังดี
ส่วนนายแว่นนั้น ความดี ที่ทำได้ ณ ตอนนี้คือ ไม่ทำผิดกฎหมาย สร้างความวุนวายต่อสังคม เก็บขยะในที่สาธารณะ ก็เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นแล้วครับ 55555555555555
หากชอบบทความนี้ Like + Share + Follow เป็นกำลังใจให้ด้วยครับ
อ้างอิง : หนังสือ ประวัติบุคคลสำคัญ
โฆษณา