15 ก.ย. 2019 เวลา 23:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#StartMonday เริ่มต้นสัปดาห์ใหม่กับผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญของโลก วันนี้ Swivel ขอ Start ด้วยบุคคลที่มีชื่อว่า “นิโคลา เทสลา”
ไฟฟ้าที่เราใช้ในปัจจุบัน เราเคยสงสัยไหมว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ? และถ้าขาดสิ่งนี้ไปล่ะ แน่นอนเลยว่าการสื่อสารไร้สาย หรือจะเป็นโซเชี่ยวต่างๆ เราคงไม่ได้สัมผัสมันแน่ๆ และไฟฟ้ากระแสสลับนี้แหละที่เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนทุกอย่างบนโลกใบนี้ สำหรับปัจจุบันนี้
วันนี้ Swivel จึงอยากจะให้ทุกคนได้รู้จัก “นิโคลา เทสลา” เจ้าของผู้สร้างไฟฟ้ากระแสสลับ หลายคนอาจจะเคยคุ้นชื่อนี้ดี แต่เราจะพาไปเจาะลึกถึงประวัติของเขามากกว่านั่น และจะพาไปดูว่า การที่เราจะถึงความสำเร็จได้นั้นเราต้องผ่านความท้าทายต่อสิ่งใดบ้าง ? ไปลุยกันเลย
‘นิโคลา เทสลา’ เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี ค.ศ.1856 เขาเกิดที่ Smiljan ในอดีตคือประเทศออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐโครเอเชีย แต่ภายหลังเขาได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกัน
เทสลา มีปัญหาทางประสาทในวัยเด็ก ที่เขาต้องทุกข์ทรมาน จาก โรคย้ำคิดย้ำทำ เขาได้งานแรกในบูดาเปสต์โดยทำงานที่บริษัทโทรศัพท์
เทสล่า ได้ประดิษฐ์ลำโพงสำหรับโทรศัพท์ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นี่ ก่อนที่จะเดินทางเร่ร่อนไปอเมริกาในปี 1870 เพื่อที่จะไปทำงานกับ โทมัส เอดิสัน
แต่ในไม่นาน เขาก็เริ่มก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการ เป็นบริษัท พัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้า ของตัวเองโดยมีผู้สนับสนุนด้านการเงินให้
สิทธิบัตรมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ และ หม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการจดทะเบียนโดย จอร์จ เวสติงเฮ้าส์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้เทสลาเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบไฟฟ้ากระแสสลับด้วย
ผลงานของเทสลาที่ทำให้เขาเป็นที่สนใจในสมัยนั้นอาทิเช่น การทดลองเกี่ยวกับ คลื่นความถี่สูงและแรงดันไฟฟ้าแรงสูง ใน นิวยอร์ก และ โคโลราโด สปริงซ์, สิทธิบัตรของอุปกรณ์และทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างวิทยุสื่อสาร, การทดลอง X-ray ของเขา
เขายังเป็นผู้คิดค้นตัวกำเนิดสัญญาณ (หรือ oscillator) หลากหลายรูปแบบอีกด้วย และ โครงการ Wardenclyffe Tower ซึ่งเป็นความพยายามในการส่งสัญญาณไร้สายข้ามทวีปแต่โชคร้ายที่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ
แม้เทสลาจะเป็นผู้คิดค้นสัญญาณวิทยุ การค้นพบหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันดีคือ การค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งในขณะนั้นมีการแข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย โทมัส เอดิสัน
แต่ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าในการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล
เทสลาประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและทำให้ผู้คนเห็นถึงความสามารถของเขาจากโชว์สิ่งประดิษฐ์ที่ดูน่าอัศจรรย์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าเขาจะได้เงินจากสิทธิบัตรต่าง ๆ แต่เขาก็ได้ทำการทดลองอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาต้องเป็นหนี้ และ มีปัญหาด้านการเงิน ต้องอาศัยอยู่อย่างโดษเดี่ยวในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker ด้วยลักษณะและธรรมชาติในการทำงานของเทสลาทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็น "นักวิทยาศาสตร์เพี้ยน"
เทสลาถูกพบว่าเสียชีวิตในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker เมื่อวันที่ 7 มกราคม 1890s
หลังจากการจากไปของเขา งานด้านวิทยาศาสตร์ของเทสล่าก็ได้เงียบหายไป แต่ไม่นาน เขาก็เริ่มกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในการที่เขาถูกเสนอชื่อให้เป็นตัวแทน 1 ใน 100 คน ในรายการโทรทัศน์ "The Greatest American" โดยการสำรวจความนิยมโดย AOL กับ ช่อง Discovery
การทำงานและสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงของเขายังเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมาก และ ยังได้นำไปใช้สนับสนุนวิทยาศาสตร์เทียม, ทฤษฎียูเอฟโอ และ ไสยศาสตร์ยุคใหม่ อีกด้วย
ภายหลัง หน่วยสำหรับวัดความ ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก (ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสนามแม่เหล็ก) ถูกตั้งชื่อว่า เทสลา เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
นี้แหละที่ว่ากันว่า ความสำเร็จมันไม่ได้ง่าย แต่เมื่อเราได้ลงมือทำมันแล้ว มันก็เป็นเรื่องดีที่ได้พัฒนาเพื่อผู้คนบนโลกอีกมากมาย เพียงแค่เราเริ่มต้นทำมัน ไม่ว่ามันจะยากหรือจะง่าย นั้นแหละคือความท้าทายของชีวิต!! Let’s Start Monday กับ Swivel “เริ่มต้นสัปดาห์พร้อมฝ่าฟันทุกความท้าทายครับ”
“Infinite development drive by Swivel”
Swivel | Everything Are Swiveling
Blockdit แอปที่เป็นเหมือน คลังความรู้ขนาดใหญ่ อ่านฟรี
โหลดเลย Blockdit.com/download
เขียนโดย
• dream
โฆษณา