ประวัติศึกษา,#ผู้ชายพายเรือ,#ผู้หญิงยิงเรือ,#มีมาแต่ในสมัยใด,#รูปเก่าเหล่าผู้หญิงยิงเรือในศตวรรษที่19,
1)#ผู้ชายพายเรือ,
-ท่านขุนวิจิตรมาตรา ได้อธิบายสำนวนผู้ชายพายเรือนี้ไว้ว่า แต่ก่อนคงใช้กันว่า "ผู้ชายรายเหรื่อ" ซึ่งคำว่า "เหรื่อ" คำนี้ก็เป็นคำเดียวกับคำว่า แขกเหรื่อที่ยังมีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง คำว่า แขกเหรื่อ แปลว่า คนแปลกหน้า ผู้ชายรายเหรื่อ จึงหมายถึง ผู้ชายแปลกหน้า เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่สอนว่า อย่าไปไว้ใจผู้ชายพายเรือ จึงไม่ได้หมายความว่าผู้ชายที่พายเรือมา หรือมาทางน้ำคบไม่ได้ แต่หมายถึงอย่าไปไว้ใจผู้ชายแปลกหน้า,
-แต่ในอีกฟากนึง สำนวนนี้ เดิมคงหมายถึงพระสงฆ์องค์เจ้า ที่พายเรือข้ามพ้นโอฆสงสาร แต่ต่อมาอาจขยายรวมถึงผู้ชายทุกคนที่ต้องการข้ามพ้นโอฆสงสาร สำนวนนี้จึงมีประโยชน์ต่อผู้ชายพายเรือมากกว่า โดยเตือนใจว่าควรเพียรพายเรือไปให้ถึงจุดหมาย อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงยิงเรือ,
2)#ผู้หญิงยิงเรือ,
-ผู้หญิงยิงเรือ หรือที่ค้นพบคำว่าผู้หญิงริงเรือ เป็นสำนวนแปลว่า ผู้หญิงทั่วไป ปรากฏในวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ว่า
"เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง อย่ายักเยื้องเกี้ยวพานะหลานขวัญ
ล้วนนางในไม่ชั่วตัวสำคัญ จะเสียสันเสียเปล่าไม่เข้าการ",
-เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนจับจระเข้เถรวาด ว่า " ฝ่ายข้างพวกผู้หญิงริงเรือ บ่นว่าเบื่อรบพุ่งยุ่งหนักหนา “
-หรือที่ปรากฏในหนังสือเรื่อง บ่อเกิดรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 นั้น ก็พบว่า พระองค์ท่านใช้สำนวนนี้ว่า “ผู้ชายพายเรือ ผู้หญิงริงเรือ”,
-แต่ในอีกสำนวนหนึ่ง แฝงด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนา ผู้ชายพายเรือ หมายถึง ผู้ชายพายเรือมุ่งไปหาพระนิพพาน ผู้หญิงยิงเรือ คือผู้หญิงเป็นผู้ขัดขวางไม่ให้ผู้ชายใฝ่ธรรมให้ควรระวังไว้,
3)#เกร็ดเพิ่มเติม,
-หากพิจารณา ตามท่านขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งได้อธิบายสำนวนผู้ชายพายเรือนี้ไว้ ซึ่งคำว่า “เรือ” มาจาก”เหรื่อ”,และคำว่า แขกเหรื่อ แปลว่า คนแปลกหน้าซึ่งมีความหมายเดียวกัน ในภาษาแต้จิ๋ว ออกเสียงว่า “แขะ” หมายถึงชาวฮากกาหรือจีนแคะ ซึ่งคำนี้ตามความหมายแปลว่า ‘ผู้มาเยือน’ เช่นเดียวกัน,
-นอกจากนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ได้ ทรงดำริให้สร้างวัดวาอาราม และปฏิสังขรณ์ บูรณะวัดโบราณต่างๆในเมืองบางกอก,
-หลังจากที่ได้ ปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แล้ว ช่าง และอาลักษณ์ในพระราชสำนักได้เขียนคำจารึกเป็นโคลงประกอบ และรูปหล่อ อยู่ตามศาลาราย 16 หลังของวัดโพธิ์ ว่าด้วยชนชาติต่างๆ 32 ภาษาหลากหลายชาติพันธ์ุ ที่บันทึกความเป็นมาของคำเรียกแขกชื่อคนต่างชาติต่างภาษา ที่มาอาศัยอยู่ในสยามประเทศ,
-นอกจากนี้เรายังพบสำนวนนี้ ได้ใน พระอภัยมณี,ขุนช้างขุนแผน ตอนจับเถรขวาด,
-ดังนั้น สมมุติฐานหนึ่งในเรื่องนี้ จึงคาดว่า สำนวนผู้ชายพายเรือ จึงน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น,
สวัสดี และขอจบประวัติศึกษา,#ผู้ชายพายเรือ,#ผู้หญิงยิงเรือ,#มีมาแต่ในสมัยใด,เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ,
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
18/9/2019
ภาพถ่ายในช่วงศตวรรษที่ 19 ไม่เกี่ยวใดๆกับเนื้อหา
ข้อมูลอ้างอิงส่วนหนึ่ง:คนแปลกหน้า นานาชาติของกรุงสยาม โดย ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ม.วลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉ.พิเศษ,
ถาพเก่าในช่วงศตวรรษที่ 19 ของสาวชาวอามาเนีย, สเปน อเมริกา และญี่ปุ่น
โฆษณา