22 ก.ย. 2019 เวลา 13:19 • สุขภาพ
5️⃣9️⃣ ใครๆ ก็ไม่รักฉัน‼️
😭ใครๆ ก็ไม่เหลียวแลฉัน‼️
😭ใครๆ ก็ทำลายฉันทิ้ง‼️
😭 เพราะฉันเป็นแค่ #หญ้าคา 🌾
🙏🏻กลับมาแล้วครับ หลังจากห่างหายไป
🙏🏻ตั้ง 1 สัปดาห์เต็มๆ แหนะ 🤣🤣
🙏🏻งานเยอะมากครับ 🤣🤣
หญ้าคาริมทาง (Photo By Flickr)
🌿 ชื่อ : หญ้าคา
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่น : หญ้าหลวง หญ้าคา (ทั่วไป), สาแล (มลายู-ยะลา-ตานี), กะหี่ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), บร่อง (ปะหล่อง), ทรูล (ลั้วะ), ลาลาง ลาแล (มะลายู), แปะเม่ากึง เตี่ยมเซากึง (จีน-แต้จิ๋ว), คา แฝกคา ลาแล เก้อฮี
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Imperata cylindrica (L.) Raeusch.
🌿 ชื่อวงศ์ : POACEAE หรือ GRAMINEAE (จัดอยู่ในวงศ์หญ้า)
🌿 ชื่อสามัญ : Alang-alang, Blady grass (หญ้าใบมีด), Cogongrass, Japanese bloodgrass, Kunai grass, Lalang, Thatch grass
🔴 "หญ้าคา"
🔴 เป็นพืชคนละชนิดกันกับหญ้าแฝกนะครับ
ต้นและใบ ของหญ้าคา (Photo By Flickr)
✅ต้น : หญ้ามีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเส้นกลมสีขาวทอดยาว มีข้อชัดเจน ผิวเรียบ หรืออาจมีขนอยู่บ้างเล็กน้อย สามารถแตกกิ่งก้านสาขา เลื้อยแผ่และงอกไปเป็นกอใหม่ๆ ได้มากมายหลายกอ โดยหญ้าคาจัดเป็นวัชพืชที่ชอบแสงแดดและมีความทนทานสูงมาก เผากำจัดหรือทำลายได้ยาก ยิ่งเผาทำลายก็เหมือนไปช่วยกระตุ้นให้มันงอกมากขึ้น ทำให้ออกดอกแพร่พันธุ์มากยิ่งขึ้นไปอีก จึงกลายเป็นวัชพืชที่ลุกลามไปตามท้องไร่หรือพื้นที่ต่างๆ และกำจัดได้ยากชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นวัชพืชที่แก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำกับพืชที่ปลูก และยังปลดปล่อยสารธรรมชาติบางชนิดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชชนิดอื่นอีกด้วย ซึ่งสามารถพบได้ตามท้องทุ่งทั่วไป ตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่าและตามริมทาง
1
✅ใบ : แตกออกมาจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของใบแบนเรียวยาวแคบ ตอนแตกใบอ่อนใหม่ๆ จะมีปลอกหุ้มแหลมแข็งที่ยอด งอกแทงขึ้นมาจากดิน
ดอกหญ้าคา (Photo By Flickr)
✅ดอก : ออกดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก มีดอกย่อยอยู่ติดกันแน่น เมื่อแก่จะเป็นขนฟูสีขาว และเมล็ดจะหลุดร่วงและปลิวไปตามสายลม และแพร่กระจายพันธุ์ไปได้ไกล โดยหญ้าคาที่ขึ้นอยู่ตามทุ่งหญ้าจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน ส่วนหญ้าคาที่ขึ้นตามที่ชื้นแฉะจะออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อนหรือฤดูหนาว
ผลหรือเมล็ด ของหญ้าคา (Photo By Flickr)
✅ผลหรือเมล็ด : เมล็ดเป็นผลแห้ง ไม่แตก มีลักษณะเป็นรูปรี เมล็ดมีสีเหลือง เมล็ดแก่จะหลุดปลิวไปตามลม สามารถแพร่ขยายพันธุ์ไปได้ไกล และในหนึ่งต้นสามารถผลิตเมล็ดได้มากถึง 3,000 เมล็ด
🌱สรรพคุณ🌱
🔹ราก : รักษาความดันโลหิตสูง รักษาโรคตานขโมย แก้ไข้ แก้ไอ แก้หอบ แก้เลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะขัด แก้พิษอักเสบในกระเพาะ แก้บิด รักษาโรคหนองใน ขับระดูขาวของสตรี แก้ประจำเดือนมามากเกินไป ช่วยบำรุงไต แก้ไตอักเสบ แก้อาการตัวบวมน้ำ แก้ดีซ่าน ตัวเหลืองจากพิษสุรา อาการอ่อนเพลีย แก้ออกหัด ใช้แก้พิษจากต้นลำโพง
🔹ต้น : แก้โรคมะเร็งคอ แก้ฝีประคำร้อย
🔹ใบ : ช่วยแก้ลมพิษและผดผื่นคัน แก้อาการปวดเมื่อยหลังการคลอดบุตรของสตรี
🔹ดอก : แก้ไอ แก้เลือดกำเดาไหล แก้อาเจียนเป็นเลือด เป็นยาห้ามเลือด แก้แผลบวมอักเสบ แก้ฝีมีหนอง แก้โรคมะเร็งในลำไส้ แก้อุจจาระเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดบวม
1
🔹ผล : ใช้เป็นยาสงบประสาท เป็นยาห้ามเลือด
รากหญ้าคา (Photo By Flickr)
➕ประโยชน์อื่น➕
➖ หญ้าคาเป็นพืชที่มีธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโพแทสเซียมสูงมาก ช่วยทำให้ดินร่วนซุย ทำให้ออกซิเจนลงไปในดินได้สะดวกขึ้น ทำให้ดินไม่แน่น และเป็นหญ้าที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่วคือ เมื่อเน่าเป็นปุ๋ยแล้วจะช่วยป้องกันเพลี้ยและแมลงต่างๆ ได้
➖ ต้นแห้งสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ในประเทศยูกันดามีการนำมาใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา
➖ ต้นใช้มัดต้นแผ่นเป็นแผ่นแบนๆ แล้วทุบให้แตก ตัดใบทิ้ง ใช้เป็นแปรงฉาบน้ำปูนตามผนังตึกหรือกำแพงได้
➖ ใบนำมาไพเป็นตับ (ไพหญ้าคา) หรือนำมามัดรวมกันเป็นตับ ตากให้แห้งแล้วนำมาใช้มุงหลังคากระท่อม เล้าไก่ เล้าเป็ด คอกเลี้ยงหมู ฯลฯ
➖ สามารถนำมาอัดทำเป็นแผ่นๆ คล้ายกับไม้อัดทั่วไป สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ทำตู้เก็บหนังสือ ตู้เก็บพระคัมภีร์ ทำกรอบรูป ของที่ระลึกต่างๆ เป็นต้น
➖ รากหญ้าคา สามารถนำมาใช้ทำเชือก ใช้สานตะกร้า เสื่อ หรือทำแปรงด้วย
➖ รากหญ้าคา ใช้ทำเป็นน้ำตาลได้ โดยในช่วงฤดูหนาวให้ขุดดินใต้กอหญ้าคาให้เป็นโพรงชอนเข้าไปลึกๆ และให้ตัดหญ้าคายาวๆ ออกบ้าง แล้วให้เอาแกลบมาใส่ให้เต็มโพรงที่ขุด และให้หมั่นรดน้ำที่โคนต้นทุกวัน จนเมื่อรากงอกยาวสีขาวงามดีแล้ว ให้เอาแกลบออก จับรากมัดรวมกัน แล้วใช้มีดคมๆ ปาดเหมือนปาดจั่นมะพร้าวหรือตาลโตนด ทิ้งไว้ 3 วัน เมื่อครบวันก็ให้เอาภาชนะไปรองรับที่มัดรากที่ปาดแล้วนั้น วันรุ่งขึ้นก็ให้มาเก็บน้ำตาล แล้วปากลึกเข้าไปอีกให้ได้ทุกวันจนหมด
➖ น้ำร้อนชงสกัดน้ำตาลจากรากนำมาใช้หมักเบียร์ได้
👍🏻ถ้าชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูลบางส่วน : นิตยสารหมอชาวบ้าน
• ข้อมูลบางส่วน : ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 8212
• ข้อมูลบางส่วน : Medthai
• รูปภาพบางส่วน : Flickr
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 แอด Newitec 🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา