24 ก.ย. 2019 เวลา 10:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เกลือ
คุณสมบัติโคตรดีนานัปการ
"เกลือ" มีมากมายหลายชนิด แต่สำหรับในการเลี้ยงปลาแล้วละก็ทุกคนต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี นั้นก็คือ "เกลือแกงหรือเกลือทะเล" เมื่อพูดถึงการเลี้ยงปลาในปัจจุบัน เวลาซื้อปลามาลงตู้คงมีคนไม่น้อยที่จะไม่นึกถึงเกลือที่จะมาใส่ลงพร้อมปลา แต่ก็ยังมีคนสงสัยว่า "ทำไมต้องใส่เกลือ? / เกลือจำเป็นด้วยหรอ?" ในครั้งนี้เราจะนำเสนอบทความเกี่ยวกับเกลือเพียงอย่างเดียว
ในความมหัศจรรย์ของ "เกลือ" หรือภาษาอังกฤษที่เราทุกคนเรียกกันว่า "Salt" นั้น คำว่า "เกลือ" หากเอ่ยชื่อมันเฉย ๆ ให้หลาย ๆ คนฟัง ทุกคนก็คงนึกถึงเกลือที่อยู่บนโต๊ะอาหารแน่นอน! นั้นเรียกว่า "เกลือไอโอดีน" เอาไว้สำหรับทำกับข้าว ไม่นิยมนำมาเลี้ยงปลาสวยงาม หากคุยกับนักวิชาการสายวิทยาศาตร์ก็คงนึกถึงว่าเป็นสารประกอบที่เกิดจากการเอากรดและด่างมาทำปฏิกิริยากัน
1
ผมขอสรุปเพื่อความเข้าใจตรงกันว่า "เกลือที่เราพูดถึงคือ Sea Salt ไม่ใช่เกลือที่ใช้ในครัวประกอบอาหาร / ไม่ใช่เกลือสินเธาว์ และไม่ใช่เกลือชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้" เกลือที่เรานึกถึงนั้นเป็นสารประกอบทางเคมีที่เราเรียกว่า "โซเดียมคลอไรด์(NaCl)"
1
ซึ่งพอมันละลายน้ำแล้วจะเกิดการแตกตัวเป็นธาตุ 2 ตัว คือ "Na+ และ Cl-" หรือ "เกลือทะเล" เกลือตัวนี้หาได้ง่ายและคงสภาพในลักษณะที่เป็นธรรมชาติเดิม 100% ไม่มีการเติมแต่ง Additive ต่าง ๆ ลงไปเหมือนเกลือปรุงอาหารที่เติมไอโอดีน ซึ่งอาจจะทำปฏิกิริยากับยาหรือสารเคมีตัวอื่นที่เราใช้ร่วมกันได้
"เกลือทะเล" เป็นเกลือที่ละลายน้ำแล้วไม่ทำให้ค่า Ph ของน้ำเปลี่ยนไปหรือแปลง่าย ๆ คือ "ค่าความเป็นกรดเป็นด่างไม่สูงขึ้นหรือลดลงนั้นเอง"
ในการเลือกเม็ดเกลือพยายามเลือกที่สะอาด ๆ หน่อย ลดการเจือปนของสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่ตามมาทีหลัง ก่อนเราจะเจาะลึกในขั้นต่อไปเราต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งก่อนคือ "กรดออสโมซิส" หมายถึง การเคลื่อนที่ของสารละลาย จากความหนาแน่นต่ำไปยังความหนาแน่นสูง โดยผ่านเนื้อเยื่อตัวกลางที่ยอมให้สารละลายดังกล่าวซึมผ่านได้
ซึ่งปกติปลาน้ำจืดรวมถึงปลาคาร์พด้วย จะมีระดับความเข้มข้นของสารละลายต่าง ๆ ในตัวปลาอยู่ที่ประมาณ 0.9% แต่น้ำในบ่อหรือน้ำจืดทั่วไป 0.02% (ขณะที่น้ำทะเล จะมีระดับความเข้มข้นของสารละลายประมาณ 3%)
น้ำในบ่อเลี้ยงจะพยายามไหลผ่านเข้าไปสู่ตัวปลา ผ่านทางเหงือกอยู่ตลอดเวลา จนกว่าระดับความเข้มข้นระหว่างภายในตัวปลาจะเท่ากับระดับความเข้มข้นของสารละลายภายนอกตัวปลา ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินเหล่านี้ออกจากตัว และเกล็ดก็ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกไหลเข้าสู่ตัวปลาเองอีกด้วย
การขับน้ำออกจากตัวปลาและการป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ามามากเกินไป พวกนี้ทำให้ปลาต้องใช้พลังงานจากการเผาผลาญอาหาร วันหนึ่ง ๆ ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกจากตัวปลาประมาณว่า 20% ของน้ำหนักตัว ขณะที่เราปัสสาวะวันหนึ่ง ๆ ประมาณ 2% เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว
(ไตโคตรสำคัญเลย!!!)
ประการที่ 1 :
"เกลือทะเล" เป็นสารประกอบที่ถูกเลือกให้มาทำหน้าที่ "ลดแรงดันของสารละลายภายนอกที่จะพยายามเข้าสู่ตัวปลาตลอดเวลา" ทำให้ปลามีพลังงานเหลือพอที่จะใช้ในการต่อสู้กับเชื้อโรคมากยิ่งขึ้นและลดภาวะเครียดต่าง ๆ ของปลาทั้งหมด
ระดับความเข้มข้นของสารละลายที่ผู้เลี้ยงส่วนมากใช้กรณีปลาป่วยคือ 0.3 - 0.5% (เกลือทะเล 300-500 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร) ส่วนในกรณีปลาป่วยหนักมาก เช่น โรครู เกล็ดตั้ง ทำให้น้ำภายนอกจะเข้าสู่ตัวปลาได้ง่ายยิ่งขึ้น การใช้เกลือในอัตราส่วนดังกล่าวจะยิ่งมีความสำคัญในการรักษาตัวปลาให้ได้ดีเป็นอย่างมาก
ประการที่ 2 :
"เกลือแกง" ถูกใช้ในการกำจัดปรสิต เชื้อโรคและแบคทีเรียต่าง ๆ บางชนิด กรณีที่มีปัญหาเรื่องปรสิตเกิดขึ้น ทางฟาร์มปลามักจะใช้เกลือละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 2% กำจัดปรสิตในตัวปลา ประมาณ 10-20 นาที แล้วสังเกตอาการปลา หากปลาเริ่มมีปัญหาการทรงตัว ก็ต้องรีบปล่อยลงบ่อ วิธีนี้จะช่วยกำจัดปรสิตที่ติดมาประเภทโปรโตซัว เห็บปลาและหนอนสมอ
กระบวนการในการทำลายปรสิตพวกนี้ก็คือ "ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันของน้ำเกลือและสารละลายภายในตัวปรสิตนั่นเอง" ทำให้ปรสิตเหล่านี้สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว ช่วยกำจัดปรสิตได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ในกรณีเรากักโรคสำหรับปลาใหม่ สามารถใช้เกลือละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 1-2% ก็ได้เหมือนกัน แล้วรอดูอาการของตัวปลาที่เราได้กักโรคไว้
1
ประการที่ 3 :
เกลือช่วยลดระดับความเป็นพิษของไนไตรท์ เกลือที่ละลายน้ำแตกตัวเป็นประจุ Na+ จะซึมผ่านไปยังตัวปลา ป้องกันไม่ให้ไนไตรท์ NO2- เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กในเม็ดเลือดแดงได้ ทำให้ความสามารถในการจับออกซิเจนจะลดลงทันที
2
ประการที่ 4 :
เกลือยังเป็นสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นให้ปลามีการขับเมือกออกมามาก ๆ ปกป้องตัวเองจากปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะในเมือกมีสารฆ่าเชื้อโรคผสมอยู่ ส่วนใครที่มีความเชื่อที่ว่า "เมือกปลาออกมามาก ๆ แสดงว่าปลาป่วย แล้วไปขูดเมือกของปลาออก" คิดผิดคิดใหม่ได้นะครับ เพราะปลาขับเมือกออกมาเพื่อปกป้องและป้องกันตัวเอง พร้อมกับขับสารพิษที่มีภายในร่างกายออกมาพร้อมเมือกบางส่วนด้วย เมือกปลาจะปกคลุมเกล็ดเหมือนเป็นผิวหนังอีกชั้นเลยก็ว่าได้
ประการที่ 5 :
เกลือช่วยในการล้างซีโอไลท์ ทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยมันจะเข้าไปทำให้ซีโอไลท์คายแอมโมเนียออกมา ใช้แค่ 0.3% ก็ช่วยยืดอายุซีโอไลท์ของคุณได้ยาวนานขึ้น
ประการที่ 6 :
เกลือเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยต่อปลา คนและสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างสูง และอาจจะกล่าวได้ว่า แทบจะไม่มีผลกระทบในแง่ลบต่อปลาเลยก็ว่าได้ ต่างจากฟอร์มาลีน มาลาไครท์กรีนที่อาจจะยิ่งไปซ้ำเติมสภาพปลาให้ป่วยและรุนแรงมากขึ้น อาจถึงตายได้
ประการที่ 7 :
เกลือเป็นสารเคมีที่ค่อนข้างเสถียร ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อโดนแสงแดดหรือสารอินทรีย์ในน้ำ ทำให้มันสามารถคงประสิทธิภาพได้เป็นระยะเวลายาวนาน
ประการที่ 8 :
การใช้เกลือในระดับความเข้มข้นดังกล่าว จะไม่ส่งผลให้ทำอันตรายต่อจุลินทรีย์ในระบบกรองชีวภาพ ต่างจากมาลาไครท์กรีน ฟอร์มาลีน และด่างทับทิม จะส่งผลโดยตรงที่ระบบกรองชีวภาพ
ประการที่ 9 :
เกลือเป็นสารเคมีที่มีราคาถูก หาได้ง่าย
เคล็ดลับคุณสมบัติเกลือ :
1. คนส่วนใหญ่มักจะใช้เกลือโดยไม่ได้ใส่ใจเรื่องอัตราส่วน ความจริงคือ "ใช้น้อยไปก็ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก ใช้มากไปทิศทางการออสโมซิสจะย้อนศรเหมือนเอาปลาน้ำจืดไปเลี้ยงในน้ำเค็มผลก็คือ ปลาตาย"
2. เกลือก็เหมือนสารเคมีตัวอื่น เมื่อละลายน้ำแล้วทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลง จำเป็นต้องเติมอากาศให้พอเพียง
3. เกลือเปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ไม่ได้แก้ปัญหาโดยตรง จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขหลักก่อน แล้วจึงใช้เกลือเป็นตัวเลือกเสริม
2
4. เกลือสำเร็จที่ผสมยาแล้ว ลองคิดสักนิดก่อนซื้อว่า "ยาปลา" คล้าย ๆ กับ "ยาคน" ตรงที่ต้องเก็บให้ดี ๆ อยู่ในอากาศเย็น ไม่ให้โดนแสงสว่าง ไม่ให้โดนอากาศมากจนเกินไป ถ้าคิดได้แบบนี้แล้วจะใช้อยู่หรือเปล่าก็ควรคิดดูกันเอาเอง
5. แนะนำจริงจังอย่างมากไม่แนะนำให้เติมเกลือลงบ่อโดยตรง ไม่ว่าจะน้อยหรือจะมาก เพราะในน้ำปกติก็มีเกลือละลายอยู่แล้ว ถ้าใช้ไปนาน ๆ ไดโว่ผุ ไฟรั่ว ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะยังไงเกลือก็มีฤทธิ์เป็นกรด มีโอกาสที่จะไปกัดกร่อนอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในตู้ได้อย่างง่ายดาย ยิ่งระยะเวลาผ่านไปนานเข้า ก็ยิ่งอันตรายมากขึ้นเรื่อย ๆ
6. เกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้ แม้เพียงแค่ 0.1% ก็ตาม การแยกปลาออกมาแล้วค่อยใช้เกลือจึงจะถูกต้องมากกว่า
เค็มกันขึ้นจอกันเลยใช่ไหมครับ ครั้งนี้ผมเพียงอยากจะมาตรอกย้ำประโยชน์ความเค็มของเกลือว่า "มันสำคัญขนาดไหนและทำไมมันถึงสำคัญ" เกลือหาซื้อง่ายมากและเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม ไม่ค่อยได้ใส่ใจที่จะใช้เกลือในการดูแลปลาสวยงามของเรากัน เกลือใช้ได้แทบทุกสายพันธุ์ปลาสวยงามเลยครับ แค่เราต้องรู้ว่าปลาสายพันธุ์ที่เราเลี้ยงทนความเข้มข้นของเกลือได้ระดับไหน ขอย้ำ!! อีกสักรอบนะครับว่า ห้ามใส่เกลือลงตู้โดยตรง แนะนำให้ละลายในขัน กะละมัง หม้อ ไห หรืออะไรจากข้างนอกตู้ก่อนแล้วค่อยเทลงตู้ตอนเกลือละลายหมดแล้วนะครับ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำออนไลน์
fishway
Website : ...coming soon...
Youtube : ...coming soon...
Tiktok : ...coming soon...
Line VOOM : ...coming soon...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา