26 ก.ย. 2019 เวลา 10:54 • ธุรกิจ
สำนึกต่อสังคม
วันนี้ผมได้ไปทำธุระที่ ม.รังสิต ได้เห็นการรณรงค์วินัยจราจรของที่นี้ เขาเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องหลัก โดยเขารณรงค์ให้นักศึกษาของเขาขับขี่มอเตอร์ไซค์โดยสวมหมวกกันน๊อค ซึ่งน่าจะทำกันมาสักพักแล้วล่ะ
เรื่องไม่สวมหมวกกันน๊อคเนี่ย ผมเชื่อว่าสังคมไทย คงจะปวดหัวกับ เรื่องนี้กันมานานแล้ว เพราะรณรงค์กันมาชาติหนึ่งแล้ว ก็ยังไม่ได้ผล และคิดว่าจะไปสำเร็จกันชาติหน้า
วิธีการของที่นี้ เขาทำกันอย่างไรล่ะ
เขาตั้งด่านตรวจกันที่ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยเลย และถ้าพบ ว่ามอเตอร์ไซค์คันไหน ที่คนขับไม่สวมหมวกกันน๊อค จะถูกเรียกให้ลงจากรถ เพื่อมาลงชื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลไว้
ผลของวันนี้เป็นอย่างไร เท่าที่ผมยืนดู ผลคือ มีนักศึกษามากกว่า 50% ไม่สวมหมวกกันน๊อค และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยก็โดนด้วย !!
ผมว่า ผลของการปฏิบัติงานของวันนี้ น่าจะบอกอะไรได้บ้างกับผู้ บริหาร และตัวนักศึกษาเอง
1.การรณรงค์ที่ผ่านมา โดยวิธีติดป้ายแนะนำไม่ได้ผล
2.มีนักศึกษาจำนวนมาก ไม่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัย
ผมเชื่อว่า วิธีการตั้งด่านแล้วให้ลงชื่อ จะช่วยปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของนักศึกษาที่นี้ได้ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง
ผมถือว่าองค์กรนี้ เขามี สำนึกต่อสังคม ที่ดีมาก (อย่างน้อยเขาก็ดูแลนักศึกษาของเขา แทนพ่อแม่ที่ส่งให้มาเรียน)
ขณะเดียวกัน ผมก็หวังว่า องค์กรอื่นๆก็น่าจะเอาใจใส่ ในเรื่องแบบ นี้บ้าง เพราะถ้าเราแก้ไขเรื่องนี้ได้ คนไทยจะมีวินัยที่ดีขึ้น
เพียงแต่ว่า ท่านผู้บริหารสุงสุดนั้นน่ะ "จริงใจที่จะแก้ไขมันแค่ไหน"
และด้วยวิธีการง่ายๆ มันก็สร้างผลลัพท์ที่ดี เช่น ให้คนที่ไม่ใส่ หมวกกันน๊อค มาลงชื่อ มันก็จะทำให้เกิดความตระหนักรู้ขึ้นมาบ้าง และมันคือ หลักการที่ว่า
 
" อะไรที่ถูกวัดผล มันจะถูกทำให้ดีขึ้น"
ไม่ว่าจะด้วย KPI or OKR มันก็คือการวัดผล
By Anant Vachiravuthichai
#principle4biz #หลักการเพื่อธุรกิจ #tangram
----------------------------------------------------------
โฆษณา