27 ก.ย. 2019 เวลา 05:01 • ปรัชญา
ระบบนิเวศที่พังทลายกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ : จากเด็กผู้หญิงคนนึงถึง Marslow's hierarchy of needs
เมื่อเร็วๆนี้มี clip ของเด็กผู้หญิงอายุ 16 ปีคนนึง
ที่ชื่อว่า Greta Thunburg ที่ออกมาพูดเกี่ยวกับการที่ผู้นำหลายๆคนไม่ได้สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมมากเท่าที่ควร
ซึ่งข้อมูลของ WHO ก็ชี้ชัดมาเหมือนกันว่า
อุณหภูมิของโลกเราร้อนขึ้น
เราปล่อยก๊าซเรือนคาร์บอนมากขึ้น
และระดับน้ำทะเลก็ค่อยๆสูงขึ้น
ฯลฯ
จริงๆมันมีปัญหาอีกมากมายที่เราต้องแลกมากับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
สิ่งที่น้อง Greta ได้พูดออกมาว่าทำไมผู้นำของหลายๆประเทศถึงไม่ค่อยสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกันนะ
ทั้งๆที่มันแย่ขนาดนี้แล้ว
ผมก็นึกถึงบทความส่วนนึงจากหนังสือของนักเขียน idol ของผมคนนึงก็คือ Yuval Noah Harari
ชื่อหนังสือว่า Homo Deus
(คนเขียนเดียวกับ Sapiens)
ในหัวข้อ the Ark syndrome หรือกลุ่มโรคเรือโนอาห์นั้น
Harari แกเขียนไว้ว่า
ปัญหาจริงๆของเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องทรัพยากรหรือพลังงานกำลังจะหมดไป
เพราะเรามี "ความรู้"ที่ยิ่งใหญ่
ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มพูนมาทดแทน
แม้ว่าทรัพยากรบางอย่างจะหายากหรือหมดไป
เราก็มักจะหาทรัพยากรหรือวิธีอื่นมาทดแทนได้เสมอๆ
ดังนั้นต่อให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจอีกสักกี่ครั้ง
แต่ด้วยความรู้ที่ดีขึ้นเรื่อยๆของเรา
เศรษฐกิจก็กลับมาได้ดีกว่าเดิมทุกครั้งไป
แต่ปัญหาจริงๆของเศรษฐกิจคือการพังทลายของระบบนิเวศ
เพื่อจัดสรรความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับทุกคนบนโลก
เราต้องการดวงดาวอีกหลาย
แต่ตอนนี้เรามีโลกเพียงดวงเดียว
แม้จะแลกกับการกวาดล้างสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์
แต่มนุษยชาติก็สามารถรื่นรมย์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของการล่มสลายของระบบนิเวศมาหลายปี
เพียงแต่การที่เราจัดการได้จนยังไม่ตกเป็นเหยื่อการล่มสลายของระบบนิเวศนั้น
ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะจัดการมันได้อีกในอนาคต
ตอนนี้มนุษยชาติกำลังอยู่บนทางคู่ขนาน
ทางนึงต้องการให้เราอยู่ห่างจากการล่มสลายของระบบนิเวศ
อีกทางนึงก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจ(และวิทยาศาสตร์)
เนื่องจากเราต้องไม่ลืมว่าคนที่ต้องการรวยขึ้นไม่ใช่มีแค่ผู้นำ UN, วอร์เรน บัฟเฟต หรือบิล เกตต์
แต่คนจนนับพันล้านคนก็ต้องการความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเช่นกัน
เราคงจะบอกไม่ได้ว่า
"อยู่อย่างจนๆ อยู่อดมื้อกินมื้อไปก่อนนะ
ตอนนี้ขอแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมก่อน
อาจจะสัก 20-30 ปี รอๆไปก่อนนะ"
ดังนั้นการทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้นและการทำให้ระบบนิเวศยังดีไปพร้อมๆกัน
มันยิ่งจะทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ
ในอนาคตอาจจะมี "ความรู้บางอย่าง" ที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและหลุดการทำลายล้างระบบนิเวศไปพร้อมๆกันก็ได้
แต่ตราบใดที่ยังไม่มีความรู้นั้น
พวกเราต้องการปาฏิหาริย์เพื่อจะไม่ให้สิ่งแวดล้อมพังทลายลงทุกๆ 2 ปี
เรื่องต่อมาก็คือทำไมชนชั้นนำจึงไม่ได้สนใจแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมากนัก
นั่นก็เพราะพวกเขาจะเป็นคนท้ายๆที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
ถ้าหากโลกเกิดวิกฤตหรือการล่มสลายของระบบนิเวศขึ้นมาจริงๆ
พวกเขานั่นแหละที่จะรอดเป็นคนสุดท้าย
ผู้เขียนเปรียบเปรยว่าเหมือนกับด้วยความเป็นผู้นำ
หากน้ำท่วมโลก
คนเหล่านี้ก็มีสิทธิ์ขึ้นเรือโนอาห์ก่อนใครๆ
(เป็นที่มาของหัวข้อ the Ark syndrome)
แล้วถ้าถามต่อว่าทำไมคนชนชั้นล่างถึงไม่ค่อยต่อต้านหรือคัดค้านอะไรเลย
เพราะถ้าระบบนิเวศล่มสลายพวกเค้านั่นแหละที่จะได้รับผลกระทบก่อนใคร
คำตอบก็คือความยากจนจะดีขึ้นได้จากการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น
ไม่ใช่จากการลดโลกร้อนหรือลดการใช้พลาสติก
ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สนับสนุนอะไรก็ตามที่ชะลอการล่มสลายของระบบนิเวศ
แต่ลดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การปกป้องทางสิ่งแวดล้อมเป็นแนวคิดที่ดีมากครับ
แต่ผู้คนที่ไม่มีแม้แต่ข้าวกินในวันพรุ่งนี้
จะให้ลุกขึ้นมาปกป้องโลกคงไม่มีทางเลย
ข้อสรุปของ Harari ตรงนี้
ทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีนึงที่ชื่อว่า Marslow's hierarchy of needs ขึ้นมาทันที
ทฤษฎีนี้ผมขอเรียกสั้นๆว่า basic needs หรือความต้องการทางพื้นฐานของมนุษย์
basic needs ว่าด้วยการที่มนุษย์เรามีความต้องการเป็นขั้นๆ
ถ้าเราเติมขั้นแรกๆได้ดีแล้ว
เราถึงจะต้องการขั้นต่อไป
(รูปที่ 2)
อันนี้ผมอธิบายเรื่อง basic needs แบบหยาบๆ
ไม่ขอลงรายละเอียดมากนะครับ
ในขั้นแรกของ basic needs จะเป็นสิ่งที่เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
เช่น อาหาร, ยา, น้ำ, การนอนหลับ, เพศสัมพันธ์ ฯลฯ
ส่วนในขั้นต่อๆไปจะเป็นความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือครอบครัว
หรือความภาคภูมิในตัวเองก็ว่ากันไป
ซึ่งถ้าเรายังเติมเต็มสิ่งเหล่านี้ได้ไม่ดี เช่น
เรายังอดมื้อกินมื้อ
เรายังทำงานหนักจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน
มันคงจะยากที่จะให้เราฝันถึงอนาคตของโลกใบนี้
ดังนั้นที่บอกว่าเป็นคนรวยก็มีทุกข์
เป็นคนจนก็มีทุกข์
อาจจะจริงแค่ส่วนเดียวก็ได้
เพราะคนรวยยังงัยก็เติม basic needs ชั้นล่างๆจนเต็มแล้ว
ดังนั้นทุกข์ของคนรวยยังงัยก็ยังดีกว่าทุกข์ของคนจนอยู่มาก
ทุกข์ของคนรวยยังงัยก็ยังมีอะไรกิน
ยังงัยก็มีที่นอน
แต่ทุกข์ของคนจนเนี่ย
บางทีจะกินอะไรหรือจะนอนที่ไหนก็ยังไม่รู้เลย
ก็คงเหมือนที่มีคนบอกไว้ว่า
ร้องไห้บน ferrari
ยังงัยก็ดีกว่าร้องไห้บน scoopy-i
ก็อาจจะจริงเลยทีเดียว
ก่อนจะเข้าเรื่องรวย-จนมากไปกว่านี้
เรากลับมาเข้าเรื่องการทำลายระบบนิเวศกันต่อก่อน
ท้ายเล่มของ Homo Deus บอกว่า
(อันนี้คือคนละบทกับ the Ark syndrome แล้วนะครับ)
ตอนนี้โลกเราหมุนด้วยความเร็วที่เร็วมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
เราถูกถาโถมด้วยข้อมูลมหาศาล
เราจึงไม่รู้ว่าควรสนใจเรื่องอะไรดี
ถ้าคิดในหน่วยเดือน
สิ่งที่เราควรสนใจคือปัญหาชั่วคราว เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ, ความวุ่นวายในตะวันออกกลาง ฯลฯ
แต่ถ้าเราคิดในหน่วยศตวรรษ
ก็อาจจะเป็นปัญหาโลกร้อนแบบที่น้อง Greta ว่า
หรือปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน
จริงๆแล้วผมก็เห็นด้วยกับที่น้อง Greta ว่ามาทั้งหมด
แต่ก็เห็นกับ Harari เช่นกัน
เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นมากกว่าปัญหาที่ผู้นำคนเดียวจะแก้ไขได้
มันต้องอาศัยความร่วมมือกันจากทั้งโลก
(แน่นอนว่าผู้นำอาจจะมีอิทธิพลต่อการออกนโยบายบ้างก็ตาม)
แต่ก็นั่นแหละครับ
ผู้คนที่ไม่มีข้าวจะกินในวันพรุ่งนี้
จะให้ลุกขึ้นมาปกป้องโลกคงไม่มีทางเลย
แต่จะให้เราละเลยปัญหาสิ่งแวดล้อมไปเลยก็คงไม่ใช่
ส่วนจะหาทางแก้มันอย่างไรนั้น
ผมว่ามันเป็นคำตอบที่ยากมากจริงๆครับ
p.s. แอบโปรโมทนิดหน่อย
Homo Deus แปลเป็นภาษาไทยและเปิดให้ preorder แล้วนะครับ
ผู้เขียนก็สั่งไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน
โฆษณา