1 ต.ค. 2019 เวลา 00:09 • ข่าว
เงินชดเชยเกษียณอายุ เงินชดเชยถูกเลิกจ้าง💲💶
จากบทความก่อนหน้า ที่เขียนเรื่อง "หัวโขน...ถอดตอนไหนดี" (ตามลิงค์ท้ายโพสต์)
ได้กล่าวถึงบทสุดท้ายของการแสดง ในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ทำมานาน จนถึงบทเกษียณอายุ
ด้วยคุณลุงของแอดจะเกษียณสิ้นปีนี้
ท่านให้ช่วยหาข้อมูลให้
ประกอบกับแอดศึกษาข้อมูลด้าน HR และแรงงานอยู่บ้าง เพราะเราก็เคยเป็นหนึ่งในกลุ่มมนุษย์เงินเดือน แถมต้องรู้ข้อมูลเพื่อดูแลลูกน้อง
📌 โพสต์วันนี้เลยมาต่อยอดเรื่องสิทธิพึงได้
เมื่อเกษียณอายุ ตามกฏหมายแรงงาน
ส่วนสิทธิทางราชการขอไม่กล่าวถึง
เพราะไม่มีความรู้ทางด้านนั้น
ขอบคุณภาพจาก prachachat.net
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างที่อายุครบ 60ปี มีสิทธิขอเกษียณอายุได้ และต้องได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างตามอายุงาน
📌 อายุที่ครบกำหนดเกษียณ
ขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้
1
1.ถือตามสัญญาจ้างงาน
- บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่วนมากกำหนดเกษียณอายุที่ 55ปี ตามอายุที่เกิดสิทธิประกันสังคม หลังจากส่งเงินสมทบครบ 180เดือน
- บางบริษัทกำหนดเกษียณอายุที่ 60ปี
2.กรณีที่บริษัทไม่ได้กำหนดอายุเกษียณ
(ส่วนใหญ่เป็นบริษัทเล็กๆ ไม่มีสัญญาจ้าง ไม่มีเกษียณอายุ พนักงานทำไปเรื่อยๆจนทำไม่ไหวก็ลาออกไปเอง แบะไม่ได้เงินชดเชย เพราะไม่มีความรู้ในกฎหมายแรงงาน
กฎหมายแรงงานยังไม่มีกำหนดเกษียณอายุ
จึงมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 ได้เพิ่มประเด็นนี้ไว้ดังนี้
"ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุเอาไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี
ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไป มีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้
โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้าง และให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา
และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น"
หรือสรุปให้เข้าใจง่ายๆคือ
ให้ถือว่าเกษียณที่อายุ 60ปี ถ้าพนักงานจะขอรับเงินชดเชย บริษัทต้องทำเรื่องจ่ายให้ก่อน
ส่วนจะจ้างงานต่อก็ให้ทำสัญญาจ้างใหม่
ส่วนการนับวันเกษียณ
- บริษัทส่วนใหญ่ นับถึงสิ้นปีปฏิทินของปีที่อายุครบเกษียณ
- มีบางบริษัทก็นับวันถัดไป 1วันหลังจากวันที่ครบอายุ
ขอบคุณภาพจาก pixabay.com
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงรณรงค์ให้มีการจ้างงานผู้ที่เกษียณอายุต่อ ถ้าเขายังสามารถทำงานได้ เพราะพนักงานส่วนนี้ คือพนักงานที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญในงานที่ทำมานาน
📌 อัตราค่าชดเชย ที่บริษัทจะต้องจ่ายให้พนักงานที่ครบเกษียณอายุ
ลูกจ้างที่ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี
ได้ค่าชดเชย 30 วัน
ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี
ได้ค่าชดเชย 90 วัน
ลูกจ้างที่ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี
ได้ค่าชดเชย 180 วัน
ลูกจ้างที่ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ10 ปี
ได้ค่าชดเชย 240 วัน
ลูกจ้างที่ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ20 ปี
ได้ค่าชดเชย 300 วัน
ลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป
ได้ค่าชดเชย 400 วัน 📌
📌 ค่าชดเชย 400วัน เป็นสิ่งที่เพิ่งเพิ่มมาในปีนี้
จากการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562
ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา (เอกสารแนบท้ายโพสต์)
ขอบคุณภาพจาก sanook.com
📌 เพิ่มเติมค่ะ
เงินชดเชยตามอัตราด้านบนนี้ นอกจากจะได้เมื่อเกษียณอายุแล้ว
ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง (ลูกจ้างไม่ได้ลาออกโดยสมัครใจ)
โดยลูกจ้างไม่มีความผิด
ลูกจ้างก็จะได้รับเงินชดเชยนี้ด้วยเช่นกัน
🌻 สำหรับคนที่ยังไม่เกษียณ ก็มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเด็นอื่นๆ ที่เป็นผลประโยชน์ของชาวแรงงานทั้งหลายพึงรู้ไว้ จะมาสรุปให้ทราบตอนต่อไป
หรือจะเข้าไปอ่านจากข้อมูลตามลิงค์ด้านล่างก่อนก็ได้ค่ะ
🌻 นอกจากนี้กรณีเกษียณอายุ ยังมีสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอีกอย่างที่ต้องรู้
คือเงินเงินบำเน็จหรือบำนาญ ซึ่งจะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไป
🍀 ข้อมูลเพิ่มเติม 🍀
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 6)พ.ศ.2560
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 7)พ.ศ.2562
การนับอายุเกษียณ
โพสต์ที่เกี่ยวข้อง
🍀🌻🍀🌻🍀🌻🍀🌻🍀🌻
🎯 รักษาสิทธิพึงได้ของตัวเองนะคะ
💗 มีความสุขมากๆนะคะ / นับหนึ่ง 💗

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา