1 ต.ค. 2019 เวลา 13:05 • สุขภาพ
031🌱Cowhage🌱 คนหน้ามุ่ย...เพราะหมามุ่ยมันทำให้คัน...😣😨😖
ปลายฝนต้นหนาวแบบนี้...ใครอยู่ใกล้ๆ ป่า....ลองสูดกลิ่นยามเย็น...เย็น...เราก็จะได้กลิ่นดอกไม้ป่าชนิดหนึ่งหน้าตาคล้ายดอกถั่ว....สีม่วงเข้มสวยงามแต่แฝกไว้ด้วยความร้ายกาจราวกับแม่มดดำในนิทานเรื่องสโนวไวท์...ดอกไม้ที่ว่านั่นก็คือ
"ดอกหมามุ่ย"......นั่นเองงงงงงงงงงงงงงง
ดอกหมามุ่ย
"หมามุ่ย" มีทางชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna pruriens DC. จัดเป็นพืชเถา ผลเป็นฝักยาว คล้ายถั่วลันเตา. มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝักหลุดร่วงง่าย ปลิวตามลมและเป็นพิษ เพราะขนหมามุ่ยเต็มไปด้วยสารเซโรโทนิน (Serotonin) เมื่อสัมผัสผิวจะทำให้เกิดอาการคัน แพ้ระคายเคืองอย่างรุนแรง ซึ่งฝักจะออกมาในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง
ฝักหมามุ่ย https://puechkaset.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2/
เมล็ดหมามุ่ย มีสารแอลโดปา (L-Dopa)
ซึ่งเป็นสารที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์ และยังเป็นสารสื่อประสาทซึ่งมีส่วนช่วยรักษาโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย แต่ต้องใช้ในรูปแบบที่ผ่านการสกัดมาเป็นยาเม็ดเรียบร้อยแล้ว เพราะร่างกายไม่สามารถรับสารในรูปของเมล็ดสดหรือแปรรูปได้
เมล็ดหมามุ่ย
หมอยาแผนโบราณมีการนำหมามุ่ยมาใช้อย่างหลากหลาย โดยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ราก ใบ ฝัก เมล็ด โดนเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเมล็ดที่ถือว่าเป็นพระเอกของเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ !
ข่นหมามุ่ยhttps://www.disthai.com/16662691/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2
ขนหมามุ่ยหากถูกผิวหนังจะทำให้มีอาการระคายเคือง คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงเป็นอย่างมาก สำหรับวิธีการรักษาให้รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือจะใช้ข้าวเหนียวนำมาคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายครั้ง ๆจนหมด แต่หากยังมีอาการแดงแสบร้อนหรือคันอยู่ ให้ใช้โลชั่นคาลาไมน์มาทา หรือจะใช้สเตียรอยด์พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ก็ได้ อาการก็จะดีขึ้น
รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า เมล็ดหมามุ่ยสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริงและมีผลงานวิจัยรับรองนั้นจะเป็นหมามุ่ยสายพันธุ์อินเดียและจีน ซึ่งเป็นคนละสปีชีส์กับหมามุ่ยที่ขึ้นในประเทศไทย จึงฝากเตือนไปยังผู้ที่กำลังสนใจและต้องการรับประทานเมล็ดหมามุ่ยว่าไม่ควรรับประทานแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะยังไม่มีผลงานวิจัยรองรับแน่ชัดว่าหมามุ่ยสายพันธุ์ไทยในบ้านเรานั้นเป็นหมามุ่ยสปีชีส์ใด และมีผลข้างเคียงหรืออันตรายต่อร่างกายหรือไม่
แหล่งอ้างอิง : ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว, รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, เว็บไซต์ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชอบกดไลก์
กดแชร์
กดติดตามเพจ Plants in garden
เพื่อเป็นกำลังให้แอดด้วยนะจ๊ะ www.blockdit.com/plantsingarden
กราบบบบงามมมม😅🤣😆🥰😍
โฆษณา