2 ต.ค. 2019 เวลา 15:00 • ธุรกิจ
“วิกฤตเศรษฐกิจ (Economic Crisis)” !!! / โดย คลินิกการลงทุน
“วิกฤตเศรษฐกิจ (Economic Crisis)” !!! / โดย คลินิกการลงทุน
วิกฤตเศรษฐกิจมักจะเกิดขึ้นซ้ำรอยเป็นวัฏจักรอยู่เสมอๆ วันนี้จะพาไปย้อนรอยวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่ามันเกิดขึ้นจากอะไร แล้วเราจะสามารถเรียนรู้อะไรจากวิกฤตครั้งสำคัญที่ผ่านๆมาได้บ้าง และแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป ไปดูกันได้เลยครับ ...
== The Great Depression (1930s) ==
The Great Depression
วิกฤตครั้งนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาวิกฤตเศรษฐกิจแบบคลาสสิค และเรียกได้ว่านับเป็นครั้งแรกๆที่ทำให้โลกได้รู้จักกับคำว่า วิกฤตเศรษฐกิจ โดยในปี 1929 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นขาขึ้นแบบคาดไม่ถึง เติบโดกว่า 4 เท่า จากการที่คนกู้เงินมาลงทุนจำนวนมาก แต่ผลประกอบการของบริษัทในตลาดกลับไม่ดีอย่างที่คาดไว้ จนเกิดเป็นฟองสบู่ครั้งใหญ่ ธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) จึงได้ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่ดันขึ้นดอกเบี้ยมากเกินไป จึงทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ตามมา ประกอบกับระบบธนาคารก็เกิดวิกฤตตามด้วยเช่นกัน รวมถึงประเทศต่างๆ เริ่มทยอยออกมาปกป้องทางการค้าเข้าไปอีก นอกจากนี้ยังประสบกับปัญหาแรงงานล้นตลาด และปัญหาภัยแล้งอีกด้วย
เนื่องด้วยความรู้ทางด้านศาสตร์ด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคในช่วงเวลานั้นยังมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ Fed กลับขึ้นดอกเบี้ยซ้ำไปอีก ท่ามกลางวิกฤตที่กำลังก่อตัวเรื่อยๆ จึงส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยหนักไปกันใหญ่ วิกฤต Great Depression ที่เกิดเมื่อปี 1930 จึงลากยาวเป็นเวลานานกว่าทศวรรษ
ผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ รุนแรงมาก สหรัฐฯ และยุโรป ได้รับผลกระทบหนักสุด ทำให้ชาวอเมริกันจำนวน 1 ใน 3 ตกงาน บริษัทจำนวนมากต้องปิดกิจการ แถมหนี้เสียเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ประกอบกับธนาคารกว่าพันแห่งล้มละลายไปตามๆกัน
บทเรียนจากวิกฤตในครั้งนั้น คือการที่เรามีความเชื่อที่ผิดๆ โดยคิดว่า “This time is different” จะไม่เกิดสงครามโลกอีกครั้ง เสถียรภาพทางการเมืองและการเติบโตเศรษฐกิจโลกมีความเข้มแข็งและจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับหนี้ในประเทศกำลังพัฒนายังอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่น่าเกิดวิกฤต ซึ่งต้นเหตุจากความเชื่อผิดๆเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตามมาในที่สุด
== Oil Crisis (1980s) ==
Oil Crisis (1980s)
อุตสาหกรรมที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปี 1970-1980 คงหนีไม่พ้นอุตสาหกรรมน้ำมัน ราคาโภคภัณฑ์ในช่วงเวลานั้น อยู่ในระดับสูงมาก กลุ่มประเทศที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ส่งออกน้ำมัน(OPEC) โดยรายได้จากการขายน้ำมันดิบของ OPEC ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยต่ำ ได้ถูกนำไปลงทุนในโปรเจคต์โครงสร้างพื้นฐานที่มีผลตอบแทนสูง โดยผ่านสถาบันการเงินละตินอเมริกาที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก ความเชื่อในตอนนั้นคือ ธนาคารมีความเสี่ยงที่ต่ำ เนื่องจากจะได้รับการ Bail out จากรัฐบาลหากจะล้มละลาย รวมถึงมีแรงจูงใจในการตรวจสอบข้อมูลเพราะเป็นสินทรัพย์ของตนเอง
ต่อมาเมื่อธนาคารในละตินอเมริกาเริ่มปล่อยกู้ให้กับโปรเจคต์ต่างๆ ที่เป็นฟองสบู่ เกิดการเบี้ยวหนี้กับกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน มากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น วิกฤตหนี้ ในที่สุด โดยสาเหตุหลักๆ มาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศอิสราเอลที่หนุนโดยสหรัฐฯและ OPEC ในช่วงเวลานั้น และกลุ่ม OPEC ได้ลดการผลิต ขึ้นราคาน้ำมัน และงดการส่งออกไปยังสหรัฐฯ
1
ผลกระทบที่ตามมา ทำให้ธุรกิจทั่วโลกที่พึงพาน้ำมันเกิดภาวะถดถอยไปตามๆกัน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำให้ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงกว่า 45% โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบหลักๆได้แก่ อิสราเอล สหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ OPEC
สำหรับบทเรียนจากวิกฤตในครั้งนี้ คือ หลายๆฝ่ายมีความเชื่อว่า ราคาโภคภัณฑ์อยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยต่ำ รายได้จากการขายน้ำมันดิบถูกหมุนเวียนกลับมาสร้างโปรเจคต์โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อว่าจะให้ผลตอบแทนสูง ประกอบกับการปล่อยกู้ผ่านสินเชื่อธนาคาร ที่ทุกคนเชื่อว่าปลอดภัยเนื่องจากมีแรงจูงใจในการตรวจสอบข้อมูล ทำให้คิดว่าไม่น่าจะเกิดวิกฤตได้
== Asian Financial Crisis: ต้มยำกุ้ง (1997) ==
Asian Financial Crisis
วิกฤตในครั้งนี้ เชื่อว่าคนไทยหลายๆคน คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของวิกฤตต้มยำกุ้งในครั้งนี้ โดยสาเหตุหลักนั้น มาจากการที่ไม่สามารถหลุดจากกับดัก Impossible Trinity หรือ การไม่สามารถมี 1) กระแสเงินทุนไหลเข้าออกอย่างเสรี 2) นโยบายการเงินที่อิสระ และ 3) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ พร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน
1
ซึ่งพ่อมดการเงินอย่าง จอร็จ โซรอส รวมถึงเหล่า Hedge Fund ต่างๆ ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ ในการโจมตีค่าเงินบาท จนประเทศไทยต้องเปิดเสรีอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดการลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ด้วยเงินกู้จากต่างประเทศในดอกเบี้ยที่ต่ำ หนี้ต่างประเทศสูงมาก มีการลงทุนเกินตัว จนเกิดฟองสบู่ขนาดใหญ่ ทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งต้องล้มละลายไปตามๆกัน
ผลกระทบจากวิกฤตในครั้งนี้ ทำให้ค่าเงินบาทลอยตัว ส่งผลให้หนี้สินต่างประเทศเพิ่งสูงขึ้นประมาณ 2 เท่า ธุรกิจจำนวนมากล้มละลาย และกระทบไปยังหลายๆประเทศทั่วเอเชีย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลีใต้
1
บทเรียนจากวิกฤตครั้งนี้ ความเชื่อในตอนนั้นทุคนต่างมองว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเสถียรภาพด้านการคลัง มีอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ ประกอบกับอัตราการออมและการเติบโตที่สูงมาก จึงไม่น่าจะเกิดวิกฤต รวมถึงไม่เคยประสบกับวิกฤตการเงินใหญ่มาก่อน จึงยังไม่มีประสบการณ์และบทเรียนให้ได้ศึกษาเรียนรู้
== วิกฤติหนี้ในละตินอเมริกา (1990s & 2000s) ==
วิกฤติหนี้ในละตินอเมริกา (1990s & 2000s)
วิกฤตครั้งนี้ มีความคล้ายกับวิกฤตหนี้ในยุค 1980s แต่เปลี่ยนมาเป็นวิกฤตในหุ้นกู้ในละตินอเมริกาแทน และหนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของหุ้นกู้ ไม่ใช่ในรูปของสินเชื่อของธนาคาร จำนวนผู้ถือหุ้นกู้มีจำนวนมากกว่าที่แบงก์ปล่อยกู้ ทำให้การเจรจาต่อรองทำได้ยากกว่า หลายฝ่ายเชื่อว่ารัฐบาลไม่มีทางเบี้ยวหนี้แน่นอน จึงไม่น่าจะเกิดวิกฤตขึ้นได้
บทเรียนจากวิกฤตในครั้งนี้ จะพบว่า ถึงแม้จะเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาล แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี ด้วยความเชื่อว่า รัฐบาลไม่มีทางจะเบี้ยวหนี้ได้ แต่สุดท้ายด้วยความเชื่อมั่นและการก่อหนี้ที่มากเกินไป สุดท้ายก็เกิดวิกฤตตามมาในที่สุด
== Dot Com Crisis (2000s) ==
ในช่วงเวลานั้นเทคโนโลยีกำลังบูมอย่างมาก หลายๆฝ่ายต่างก็ให้ความสนใจ มีความคาดหวังสูงมาก ตลาดหุ้น NASDAQ ซื้อขายกันที่ P/E 200 เท่า จนกำไรของเหล่าบริษัทเทคโนโลยีหลายๆแห่งโตตามไม่ทัน
สุดท้ายผลที่ตามมา ก็เกิดฟองสบู่แตก โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ตามมาด้วยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดิ่งจากจุดสูงสุดถึง 78% และทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งล้มละลายในที่สุด
== Subprime Mortgage Crisis (2008) ==
Subprime Mortgage Crisis (2008)
วิกฤตครั้งล่าสุด เกิดเมื่อ ช่วงปี 2008 นั่นคือ US Subprime โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ตราสารทางการเงินที่สินเชื่อซึ่งเป็นไส้ในได้รับการจัดอันดับเครดิตเป็น AAA แต่พื้นฐานไม่ดีจริง มีการเก็งกำไรจนเกิดฟองสบู่ครั้งใหญ่ในอสังหาฯ จากเงินกู้ที่ธนาคารต่างพากันปล่อยสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Subprime Lending) สุดท้ายผู้ถือครองตราสารดังกล่าวเป็นสถาบันการเงินและบุคคลทั่วไปถูกเบี้ยวหนี้และเกิดวิกฤตสภาพคล่องของแบงก์ใหญ่ๆในสหรัฐอย่างหนัก จนสถาบันการเงินและบริษัทประกันหลายๆแห่งล้มละลาย ในเดือนกันยายน 2008 จนเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
บทเรียนในวิกฤตครั้งนี้ เกิดจากการที่หลายๆฝ่าย มองว่าทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้วจากผลของโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีก้าวล้ำ ระบบการเงินที่พัฒนาล้ำสมัยเหนือกว่าทุกยุค นโยบายการเงินที่ทันสมัย และปรากฏการณ์ Securitized Debt ที่ทุกฝ่ายจะ Win จึงไม่น่าเกิดวิกฤตอีก แต่ด้วยความเชื่อผิดๆ การละเลยความรับผิดชอบของเหล่าสถาบันการเงิน แบงค์ใหญ่ๆ และการหลอกลวงของบริษัทจัดอันดับเครดิต ฯลฯ สุดท้ายฟองสบู่ก็แตกในที่สุด
== แล้วในตอนนี้ "วิกฤต" จะเกิดขึ้นหรือไม่ ? ==
ช่วงที่ผ่านมา มีเหตุการณ์หลายๆเรื่อง ที่เป็น "สัญญาณ" จุดเริ่มต้นของ "วิกฤตเศรษฐกิจ" ออกมามากมาย หลายฝ่ายต่างก็พากันเตรียมตัวรับมือกับวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น แล้ว "สัญญาณ" ที่บ่งชี้ "วิกฤติ" ที่ได้เกิดขึ้แล้วมีอะไรบ้าง ไปดูกัน …
1
1) สงครามการค้า
สงครามการค้า
ปัญหาใหญ่ที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องสงครามการค้า ที่มีการตอบโต้กันไปมาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ล่าสุดจีนก็เพิ่งจะประกาศตอบโต้สหรัฐฯ ไป ซึ่งสร้างความกังวลขึ้นมาอีกรอบ ความขัดแย้งของสองประเทศมหาอำนาจนี้ สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก และหลายฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่า สงครามการค้าที่ยืดเยื้อ จะเป็นสาเหตุของการถดถอยทางเศรษฐกิจในรอบนี้ จากผลสำรวจ CFO ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า มีโอกาสถึง 70% ที่จะเกิดวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ใน ไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า โดยมีสาเหตุหลักมาจากสงครามการค้า
ทางด้านนักวิเคราะห์จาก Bank of America ได้เพิ่มโอกาสเกิดวิกฤติในปีหน้าขึ้นเป็น 33% จากความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ค่าย Morgan Stanley เห็นว่า สงครามการค้า และความไม่แน่นอนทางการเมืองทั่วโลก จะทำให้เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่วน Goldman Sachs มองว่า หากสงครามการค้ายืดเยื้อ วิกฤติเศรษฐกิจอาจเกิดขึ้นในปี 2020
เห็นได้ชัดเจนว่าหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าสาเหตุมาจาก "สงครามการค้า" งานนี้คงต้องติดตามท่าทีของทั้งสองผู้นำมหาอำนาจว่าจะทำยังไงต่อไป …
2) Inverted Yield Curve
Inverted Yield Curve
อันนี้หลายคนอาจงง ขออธิบายง่ายๆคือ โดยปกติพันธบัตรอายุยาวจะต้องมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าระยะสั้น จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 1978 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวจะลงมาต่ำกว่าระยะสั้น เรียกว่า "Inverted Yield Curve" โดยเกิดภาวะแบบนี้ถึง 5 ครั้ง และมักจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยจริงหลังจากนั้น 22 เดือน (ประมาณ 1.5-2 ปี)
1
ล่าสุดความกลัวและความกังวลของนักลงทุนก็ได้สะท้อนลงไปในผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จนผลตอบแทนพันธบัตรดิ่งทะลุ 2% ทำสถิติต่ำสุดในประวัติศาสตร์ไปเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า คนไม่กล้าถือพันธบัตรอายุยาว เพราะกลัวความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยนั่นเอง
โดยจากสถิติที่ผ่านมาก่อนจะเกิดวิกฤติ แล้วมีสัญญานจาก inverted yield curve ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นถึง 22% อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 1982 และ 1998 ก็เกิดภาวะ "Inverted Yield Curve" เช่นกัน แต่สุดท้ายก็ไม่เกิด "วิกฤติเศรษฐกิจ" แต่อย่างไร
== มาดูมุมมองของเจ้าพอ Hedge Fund ที่ใหญ่อันดับต้นๆของโลกอย่าง Ray Dalio ว่ามีมุมมองต่อ “วิกฤต” อย่างไรบ้าง ? ==
Ray Dalio
"Ray Dalio" ผู้ก่อตั้ง Hedge Fund ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Bridgewater Associates ได้ให้สัมภาษณ์ลงในบทวิเคราะห์ของทาง Goldman Sachs ในเดือนกรกฏาคม ที่ผ่านมา โดยได้ให้มุมมองด้านเศรษฐกิจ การลงทุนว่า เศรษฐกิจโลกหลังจากนี้จะแย่ลง และนโยบายของธนาคารกลางเหลืออีกไม่มากนัก ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าจับตามองอย่างมาก
บทวิเคราะห์ของ Goldman Sachs มีมุมมองว่านโยบายธนาคารกลางแต่ละแห่งเหลืออีกไม่มาก Ray Dalio เองก็มองว่าราคาหุ้นและตราสารหนี้นั้นขึ้นมาเป็นอย่างมาก จากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ ที่ผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น หลังจากในช่วงวิกฤติการเงินจนถึงปัจจุบัน มีการอัดสภาพคล่องจากธนาคารกลางทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น มากถึง 15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ Ray มองว่าผลตอบแทนสินทรัพย์เหล่านี้ในระยะสั้นจะดีอยู่ แต่ในระยะยาวแล้วจะลดลง เนื่องจากธนาคารกลางแต่ละแห่งเริ่มเหลือนโยบายทางการเงินอีกไม่มากแล้ว เนื่องจากปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายหลายๆแห่งอยู่ในระดับต่ำมากๆ และหากธนาคารกลางยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินโดยกดดอกเบี้ยต่ำลงเรื่อยๆ และถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ มุมมองของตลาดจะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน โดย Ray มองว่าเวลาเหลือน้อยลงทุกที
นอกจากนี้ Ray ยังมองว่า เดิมอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำนั้นสูงถึง 5% ทำให้ยังมีช่องว่างในการลดดอกเบี้ยลงมาได้มาก แต่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 2% เท่านั้น และหากเศรษฐกิจตกต่ำ ธนาคารกลางทั่วโลกจะเหลือนโยบายอีกไม่มาก จึงเริ่มอันตรายมากขึ้น
Ray มองว่าสาเหตุที่ตลาดพังในปีที่แล้ว มาจาก Fed มองระยะสั้นไป และการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม Fed ยอมรับว่าได้ทำผิดพลาด เนื่องจากมองความเสี่ยงของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอื่นๆ และเงินเฟ้อผิดพลาดไป
การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากปี 2017 ของ Fed ส่งผลต่อทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จึงทำให้ Fed ต้องขึ้นดอกเบี้ยใน แต่สิ่งที่ผิดพลาดคือ Fed ลืมเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงจากเรื่องของเทคโนโลยี และมองการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้นมากไป ทำให้ในราคาสินทรัพย์ต่างๆ ตกลงอย่างถ้วนหน้าในปี 2018 ที่ผ่านมา
== แล้ว Ray Dalio มองว่า "ปัจจัยสำคัญ" ที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกหลังจากนี้จะแย่ลงมีอะไรบ้าง ? ไปดูกัน ==
Ray Dalio
1) ธุรกิจที่เติบโตลดลง
Ray มองว่าวัฏจักรของธุรกิจ และการใช้จ่ายของประชาชนไม่สัมพันธ์กัน สังเกตได้จากงบดุลของบริษัทต่างๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีการเจริญเติบโตจะลดลงเรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งสุดท้ายแล้วจะกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับประเทศ และระดับโลก ที่จะทำให้การเติบโตลดลงในที่สุด
1
ต่อไปบริษัทต่างๆ ในตลาดหุ้นจะเริ่มมีการควบรวมกิจการ หรือการซื้อหุ้นคืนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนโยบายของธนาคารกลางแต่ละแห่ง นอกจากนี้ เขายังมองว่าการเติบโตของอัตรากำไรของบริษัทเอกชน จะไดรับผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายของทุนมากขึ้น
2) หนี้ล้นโลก
ช่วงที่ผ่านมาหลายๆประเทศก่อหนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเกินตัว จนทำให้ "วัฏจักรหนี้สิน(Debt cycle)" พุ่งสูงขึ้นอย่างมหาศาล รวมถึงธนาคารกลางหลายแห่งก็เริ่มที่จะหมดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาหนี้ของประกันสังคมรวม รวมถึงหนี้ของการรักษาสุขภาพของประชาชนที่มากขึ้น สอดคล้องกับภาษีที่ประชาชนต้องจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น
ส่วนนโยบายทางการคลังก็ทำให้งบประมาณขาดดุล ซึ่งหลังจากนี้เขามองว่าเศรษฐกิจกำลังจะเกิดความเสี่ยงครั้งใหญ่ เหมือนกับช่วงหลังปี 1930 ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำนานที่สุด หากยังเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
3) สงครามการค้า
ปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เป็นประเด็นที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน ซึ่งในช่วงหลังประเทศจีนเริ่มตอบโต้ท้าทายสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น ตามมาด้วยความกังวลและผมกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในที่สุด หลายฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่า สงครามการค้าที่ยืดเยื้อ จะเป็นสาเหตุของการถดถอยทางเศรษฐกิจในรอบนี้
ทางด้านนักวิเคราะห์จาก Bank of America ได้เพิ่มโอกาสเกิดวิกฤติในปีหน้าขึ้นเป็น 33% จากความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ค่าย Morgan Stanley เห็นว่า สงครามการค้า และความไม่แน่นอนทางการเมืองทั่วโลก จะทำให้เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่วน Goldman Sachs มองว่า หากสงครามการค้ายืดเยื้อ วิกฤติเศรษฐกิจอาจเกิดขึ้นในปี 2020
เห็นได้ชัดเจนว่าหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าสาเหตุมาจาก "สงครามการค้า" งานนี้คงต้องติดตามท่าทีของทั้งสองผู้นำมหาอำนาจว่าจะทำยังไงต่อไป ...
Ray Dalio แนะนำให้นักลงทุนเริ่มทยอยลดความเสี่ยงลง และได้แนะนำอีกว่าการลงทุนใน "ทองคำ" ยังคงน่าสนใจ ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ดี และเขายังบอกด้วยว่าได้ลงทุนในหุ้นจีนไว้บ้าง โดยสิ่งที่เขาให้ความสำคัญมากก็คือ การกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายชนิดครับ
Ray Dalio ได้ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มแย่ลง และมีโอกาสที่จะเข้าสู่ "ภาวะเศรษฐกิจถดถอยถึง 40%" !!! ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงเหมือนที่หลายคนกำลังกลัวกัน ก็อาจเกิดขึ้นก่อนเลือกตั้งสหรัฐฯ ภายในช่วงปลายปี 2020
Ray Dalio
โดย Ray Dalio ยังได้กล่าวอย่างมั่นใจว่า ...
“Recessions are always inevitable, the only question is: ‘When?’” — Ray Dalio
”ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องเกิดขึ้นแน่นอน คำถามสำคัญ คือเมื่อไหร่?"
“I think that in the next two years, let’s say prior to the next election, there’s probably a 40% chance of a recession,” — Ray Dalio
เขาก็ได้ให้ความเห็นอีกว่า มันอาจจะเกิดในช่วง 2 ปีนี้ โดยมีโอกาสเกิดมีเพียง 40% เท่านั้น ซึ่งสาเหตุก็มาจาก "สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน" ทำให้ภาคธุรกิจชะลอตัดสินใจการลงทุน ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอตัวอยู่แล้ว รวมไปถึง "ความตึงเครียดและความขัดแย้งในแต่ละภูมิภาค" อีกด้วย
1
โดยในไตรมาสที่สองนี้ ได้เริ่มเห็นสัญญาณของภาวะ "เศรษฐกิจถดถอย" บ้างแล้วในบางประเทศ เช่น เยอรมนี และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าจับตามอง ก็คือ "ท่าทีของเหล่าธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ" ที่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ "นโยบายการเงินให้ผ่อนคลายลง" และมีแนวโน้มจะผ่อนคลายมากกว่านี้ในอนาคต จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลงทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม เขามองว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงินจะมีประสิทธิภาพน้อยลงมาก เพราะในปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในช่วงปลายวงจรเศรษฐกิจ (Late cycle) แล้ว !!
เขาได้ทิ้งท้ายอีกประเด็นหนึ่งที่น่ากังวลอย่างมาก ก็คือ การใช้กลยุทธ์ "ลดค่าเงิน" ของประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งออก (อย่างที่เราได้เห็นจีนลดค่าเงินตัวเอง เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ในสงครามการค้า)
1
แม้ว่ากลยุทธ์ "ลดค่าเงิน" จะทำให้สินค้าที่ส่งออกมีราคาถูกลง และเป็นประโยชน์กับบางประเทศ แต่สุดท้ายก็จะตามมาด้วย "สงครามค่าเงิน" ที่รุนแรงมากขึ้นภายในช่วง 3 ปี นับจากนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบในด้านลบที่รุนแรงกับทั้งโลก
UBS สถาบันการเงินจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้สำรวจกลุ่มมหาเศรษฐีที่มีสินทรัพย์มากกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯ พบว่า มหาเศรษฐีเกิน 50% คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2020 นี้ โดยทาง UBS ได้จัดทำการสำรวจกลุ่มมหาเศรษฐีที่มีสำนักงานครอบครัว 360 แห่งทั่วโลก และมีสินทรัพย์ประมาณ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีคำถามที่หลากหลาย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การลงทุน และครอบครัว ฯลฯ เป็นต้น
UBS
สิ่งที่น่าสนใจคือ คำถามที่ว่า คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่สภาวะถดถอยในปี 2020 หรือไม่? จากผลสำรวจพบว่า มหาเศรษฐีประมาณ 55% มีมุมมองคล้ายกันว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่สภาวะถดถอยในปี 2020 ขณะที่อีก 44% ไม่เห็นด้วย โดยหลายๆท่านมองว่า ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกมากถึง 68%
UBS: World economy ‘one step away from global recession'
ส่วนมุมมองด้านการลงทุนนั้น มหาเศรษฐีส่วนใหญ่ ได้ทำการ Balance พอร์ตการลงทุน โดยจุดที่น่าสนใจคือ กลุ่มมหาเศรษฐีฝั่งเอเชียจะเน้นการรักษาเงินต้นเป็นหลัก ขณะที่ทางฝั่งสหรัฐฯจะเน้นการลงทุนที่เติบโต ซึ่งถ้าหากความเสี่ยงเริ่มเพิ่มขึ้น ก็จะมีการโยกย้ายสินทรัพย์ไปยังสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เช่น ทองคำ ตราสารหนี้ หรือเงินสด ฯลฯ เป็นต้น
ผู้จัดการการลงทุนของสำนักงานครอบครัวบางราย เผยว่า ตอนนี้ยังต้องระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น และได้ย้ายสินทรัพย์เข้ามายังสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็ได้แบ่งเงินสดไว้บางส่วนเผื่อเข้าลงทุนสินทรัพย์ในราคาถูกลง ช่วงที่ตลาดพังลงมา
นอกจากนี้ ยังมีคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่ทาง UBS ได้สอบถามกลุ่มมหาเศรษฐี เช่น 40% ไม่เห็นด้วยว่าในระยะยาว Brexit จะทำให้สินทรัพย์ในอังกฤษน่าสนใจมากขึ้น, 52% ไม่เห็นด้วยว่าในปี 2020 กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะเติบโตน้อยลง เป็นต้น
The New York Stock Exchange after a closing bell. Photo: Johannes Eisele/AFP/Getty Images
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา "วิกฤต" มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ผู้คนกำลัง "หลงระเริง" และ "ประมาท" โดยมันจะเกิดโดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว และมักจะไม่มี "สัญญาณ" บ่งชี้ล่วงหน้า จะมีก็แต่คนส่วนน้อยที่ทราบว่าจะต้องเกิดวิกฤต มาในครั้งนี้ที่ "สัญญาณ" ของวิกฤตต่างๆ เริ่มชัดเจน ผู้คนต่างพากันเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตที่จะเกิดขึ้น เรียกได้ว่าตอนนี้คนจำนวนมากกำลัง "กลัว" และ "ไม่ประมาท" ซึ่งตรงข้ามกับช่วงก่อนจะเกิดวิกฤตในอดีตที่ผ่านมา …
"วิกฤต" จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่? คงไม่มีใครตอบได้ แม้แต่นักวิเคราะห์ระดับโลกก็มีโอกาสผิดได้ เพราะไม่มีใครทราบอนาคตจริงๆ ทำได้มาสุดก็แค่ "ทำนาย" ว่าอาจจะเกิดหรือไม่เกิด?
ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ เราทุกคนจะต้อง "เตรียมพร้อมรับมือ" ต่อสถานการณ์เลวร้ายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ ศึกษาหาความรู้ มีการวางแผน "อย่าประมาท" และ "มีสติ" ในการลงทุนอยู่เสมอครับ ...
จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาหลังเกิดวิกฤติ ผู้ที่มีความรู้พร้อม และสามารถหา "โอกาส" ใน "วิกฤต" ได้ ก็มักจะเกิดเป็นเศรษฐีหน้าใหม่ขึ้นมา ส่วน "วิกฤต" จะเกิดหรือไม่? เวลาเท่านั้นจะเป็นตัวพิสูจน์ ...
“วิกฤตเศรษฐกิจ (Economic Crisis)” !!! / โดย คลินิกการลงทุน
อ่าน "คลินิกการลงทุน" สนุกขึ้นในแอปฯ "Blockdit"
ดาวน์โหลดได้ที่: http://www.blockdit.com/app
ช่องทางติดตาม "คลินิกการลงทุน"
#คลินิกการลงทุน
โฆษณา